อว.คิกออฟปี 67 ใช้ “เอกสารอิเล็กทรอนิกส์” ระหว่างหน่วยงาน

Loading

  อว. คิกออฟปี 67 ใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาน ผ่านระบบใบรับรองดิจิทัล Thai University Consortium ที่พัฒนาขึ้นเอง ลดใช้กระดาษ ลดค่าใช้จ่าย จัดส่งเอกสารได้รวดเร็ว ถูกต้องและป้องกันการสูญหายของเอกสาร   น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า อว. ได้ออกประกาศ เรื่อง การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่อดิจิทัลภายใต้ใบรับรองดิจิทัล Thai University Consortium (TUC) ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)   เพื่อให้หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในสังกัด อว. สามารถปรับใช้ในงานทางธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภายใน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งภายใต้ระบบ TUC นี้ อว. จะให้หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด ติดต่อ (รับ-ส่ง) เอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์   เช่น ระหว่าง สถาบันอุดมศึกษาด้วยกัน ระหว่างสำนักงานปลัด อว.และสถาบันอุดมศึกษา ระหว่างองค์การมหาชน องค์กรอิสระ และรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น…

‘แฮ็กเกอร์’ระบาด ข้อมูลรั่ว..ใครรับผิดชอบ

Loading

  องค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่กุม “ความลับ” ของคน ลูกค้า ผู้ใช้บริการเอาไว้ ต้องไม่นิ่งนอนใจ หาทางรับมือป้องกันการรั่วไหล หรือการถูกโจมตีจากบรรดาแฮกเกอร์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จะต้องทุ่มงบประมาณมากสักเท่าไหร่ในการรับมือ “ก็ต้องทำ   ประเทศไทยมีแนวโน้มการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งเชิงปริมาณและความรุนแรง   เหตุการณ์ภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทวีความรุนแรงมากขึ้น รูปแบบการโจมตีมีแนวโน้มพัฒนาตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป   ภัยคุกคามเหล่านี้ ส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยของสังคมเศรษฐกิจของประเทศ   ยิ่งเราต้องพึ่งพาเครื่องมือดิจิทัลในชีวิตประจำวันมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งมีความเสี่ยงจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้นไปด้วย ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ สูญเสียข้อมูลที่มีความสำคัญ สูญเสียทรัพย์สินเงินทอง สูญเสียชื่อเสียง   ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นหนึ่งที่ยังวนเวียนอยู่ในสังคมไทย และเป็นประเด็นที่ทุกคนต้องตระหนักให้มาก คือ การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล จะทั้งข้อมูลอ่อนไหว หรือ ไม่อ่อนไหว ก็ไม่ควรหลุดออกมา สร้างความเสียหาย หวาดกลัวให้กับเจ้าของข้อมูล   องค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่กุม “ความลับ” ของคน ลูกค้า ผู้ใช้บริการเอาไว้ ต้องไม่นิ่งนอนใจ หาทางรับมือป้องกันการรั่วไหล หรือการถูกโจมตีจากบรรดาแฮกเกอร์ทั้งในประเทศ…

แอปธนาคารกรุงเทพเพิ่มความปลอดภัย จำกัดอุปกรณ์เข้าถึงบัญชี พร้อมเพิ่มสแกนใบหน้าก่อนการทำธุรกรรมด้วย

Loading

แอปธนาคารกรุงเทพเพิ่มความปลอดภัย สำหรับการทำธุรกรรมผ่านมือถือ   ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเพื่อเข้ากับประกาศของ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ในการเพิ่มความปลอดภัยในด้านธุรกรรมผ่านมือถือ ซึ่งมาตรการนี้คาดว่าธนาคารอื่น ๆ ก็เพิ่มมาตรการความปลอดภัยด้วยเช่นกัน   ภาพ : ธนาคารกรุงเทพ   โดยมาตรการเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ Bualuang M Banking ดังนี้   1. จำกัดการใช้งานแอป 1 อุปกรณ์/ท่าน เท่านั้น ซึ่งจะมีผลเฉพาะกับผู้ใช้ที่ดาวน์โหลดและเปิดการใช้แอปในเครื่องใหม่ โดยระบบจะให้ลบอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานแอปอยู่ก่อนหน้าออกทั้งหมด จึงจะสามารถใช้งานแอปในเครื่องใหม่ได้   2. บล็อกการเข้าถึงแอปจากระยะไกล (Remote access) กรณีมีการเปิดการใช้งาน การช่วยเหลือการเข้าถึง (Accessibility) จะไม่สามารถเข้าใช้งานแอปได้ จนกว่าจะปิดการใช้งาน Accessibility   3. ลดวงเงินตั้งต้น สำหรับธุรกรรม โอน / จ่าย / เติม จากเดิม 200,000 บาท/วัน เป็น 50,000 บาท/วัน…

ใคร ๆ ก็ใช้ Digital ID

Loading

  เรากำลังก้าวข้ามไปสู่ยุคดิจิทัล ที่อะไร ๆ ก็ทำผ่านออนไลน์ได้ วันนี้การให้บริการประชาชนของประเทศไทยที่ทำผ่านออนไลน์ได้แล้วก็มีอยู่ไม่น้อย เช่น การเช็กสิทธิ การจองคิวเพื่อเข้าไปรับบริการ หรือที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี คือ ยื่นภาษีออนไลน์ที่มีมานับ 10 ปีแล้ว แต่ก็ยังมีบริการอีกมากมายที่หน่วยงานรัฐกำลังเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดให้บริการแแก่ประชาชน   ด้วยงานให้บริการประชาชนที่มีหลายรูปแบบ บางอย่างเป็นเรื่องทั่วไปไม่ต้องแสดงตนก็ได้ แต่บางอย่างจำเป็นต้องแสดงตนเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นคน ๆ นั้นจริง จึงต้องมีการพบเห็นต่อหน้า มีการตรวจสอบตัวบุคคล และตรวจสอบหลักฐานแสดงตนควบคู่กันไป ตัวอย่างเช่น โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการคนละครึ่ง เป็นต้น   ถ้าจำกันได้ตอนสมัครขอรับสิทธิสวัสดิการของรัฐโครงการคนละครึ่ง ต้องดาวน์โหลดแอป “เป๋าตัง” มาไว้ในมือถือด้วย เอาไว้สแกนจับจ่ายซื้อของ ซึ่งตอนลงทะเบียนแอปเป๋าตังก็ต้องยืนยันตัวตนเพื่อใช้งาน G-Wallet ที่จะต้องเติมเงินของเราเข้าไปไว้ใช้ร่วมกับเงินอีกครึ่งที่รัฐบาลออกให้นั้น จะต้องมีการสแกนใบหน้าซึ่งก็จัดว่าเป็นการยืนยืนตัวตนที่ต้องแสดงตน แต่แสดงผ่านออนไลน์     3 ขั้นตอน เตรียมก้าวสู่โลกดิจิทัล   ถ้าถามว่าหน่วยงานรัฐต้องทำอะไรบ้าง มีหลักการสั้น ๆ ง่าย ๆ คือ   –  สำรวจบริการ ไปดูว่างานให้บริการประชาชนมีอะไรบ้าง…

ครม. ยัน ไทยพัฒนาระบบพิสูจน์-ยืนยันตัวตน ทางดิจิทัล ครอบคลุมบริการรัฐ-เอกชน

Loading

  คณะรัฐมนตรี ยัน ไทยพัฒนาระบบรองรับ พิสูจน์-ยืนยันตัวตน ทางดิจิทัล ครอบคลุมบริการหน่วยงานรัฐ เอกชน เชื่อสะดวกกับประชาชนยิ่งขึ้น   6 ธ.ค. 65 – ที่ทำเนียบรัฐบาลล น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า   ครม.รับทราบรายงานตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เสนอรายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) แบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ   ความคืบหน้าด้านกฎหมาย อาทิเช่น การยืนยันตัวตนจะกำหนดให้ดำเนินการด้วยวิธีอื่นนอกจากการแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางก็ได้ ถ้าวิธีอื่นดังกล่าวนั้น จะเป็นการสะดวกแก่ประชาชนยิ่งขึ้น   ซึ่งบัญญัติใน มาตรา 8 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2565 และยังมีการกำหนดหลักเกณฑ์การดูแลผู้ให้บริการการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ที่จะบัญญัติไว้ใน ร่าง พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ต้องได้รับใบอนุญาต พ.ศ. …. ที่ ครม. มีมติอนุมัติหลักการไปเมื่อวันที่ 22…