ความสมดุลระหว่างนวัตกรรมกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ : การผสานเทคโนโลยี AI กับ PDPA

Loading

การเติบโตของ AI มาพร้อมกับความท้าทายที่สำคัญ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของประเทศไทย มีข้อกำหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการประมวลผลข้อมูลขององค์กร บทความนี้จะกล่าวถึงความเชื่อมโยงระหว่าง AI และ PDPA พร้อมทั้งสรุปผลกระทบที่มีต่อธุรกิจ และเสนอแนวทางที่องค์กรสามารถนำไปใช้ปฏิบัติตามข้อกำหนด ขณะเดียวกันก็สามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ AI ได้อย่างเต็มที่

9 แนวโน้มนวัตกรรมยุคใหม่แห่งปี 2023(3)

Loading

  เปรียบเทียบกับตอนอื่นนี่น่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่หลายคนเพิ่งตระหนักความน่ากลัว ความก้าวล้ำของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ควอนตัมคอมพิวเตอร์ และปัญญาประดิษฐ์ สู่นวัตกรรมที่อาจพลิกโฉมมนุษยชาติไปตลอดกาล   เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของแนวโน้มนวัตกรรมแห่งปี 2023 ที่ขาดไปไม่ได้ย่อมต้องเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย โดยเฉพาะในส่วนของปัญญาประดิษฐ์ที่นำไปสู่ข้อถกเถียงขนานใหญ่ในสังคม     7. พัฒนาการจากความขัดแย้งของเซมิคอนดักเตอร์ ท่ามกลางวิกฤติโควิดหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อโลกที่สุดคือ เซมิคอนดักเตอร์ ชิปขนาดจิ๋วที่สร้างผลกระทบแก่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ และกลายเป็นตัวแปรสำคัญในความขัดแย้งภายใต้เขตปกครองพิเศษไต้หวัน   ช่วงที่ผ่านมาการพัฒนาของชิปและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากมายหยุดชะงัก จากการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์จากบริษัท TSMC เมื่อรวมกับสงครามเทคโนโลยีระหว่าง สหรัฐฯ และ จีน แล้วจึงกลายเป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ ที่นำไปสู่การแตกหักของสองมหาอำนาจ   ล่าสุดจีนเริ่มทุ่มเม็ดเงินกว่า 5 ล้านล้านบาท เพื่อสนับสนุนโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ เช่นเดียวกับสหรัฐฯที่ออกกฎหมาย CHIPS Act ดึงดูดบริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์จากทั่วโลกเข้ามาตั้งโรงงานในประเทศด้วยงบสนับสนุนกว่า 1.8 ล้านล้านบาท โดยมีเงื่อนไขห้ามตั้งโรงงานผลิตในจีน 10 ปี   แม้ความขัดแย้งจะทำให้การพัฒนาหยุดชะงักไปขั่วคราว แต่เมื่อเม็ดเงินมหาศาลไหลเวียนเซมิคอนดักเตอร์จะได้รับการพัฒนายิ่งขึ้น การแข่งขันจะผลักดันการพัฒนาให้ถีบตัว เมื่อรวมกับความตื่นตัวในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก ในปี 2023 เราอาจมีชิปที่พัฒนาก้าวกระโดดขึ้นมาได้เช่นกัน     8.…

9 แนวโน้มนวัตกรรมยุคใหม่แห่งปี 2023(1)

Loading

  ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีก้าวหน้าและรวดเร็วขึ้นทุกปี เป็นส่วนสำคัญช่วยในการขับเคลื่อนมนุษยชาติให้ก้าวไปข้างหน้า วันนี้เรามาดูกันเสียหน่อยว่าแนวโน้มวิทยาการที่กำลังจะมาถึงมีส่วนไหนที่น่าสนใจจนอาจเป็นนวัตกรรมแห่งปี 2023 บ้าง   ปี 2022 กำลังจะผ่านพ้นเชื่อว่าหลายท่านย่อมผ่านเรื่องราวมาร้อยพัน ภายหลังการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิดกับความพยายามในการฟื้นตัวอันยากเย็น ไหนจะสงครามยูเครน-รัสเซียที่หวิดเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกชวนเสียวไส้อยู่ทุกวัน ไปจนการร่วมแสดงความยินดีกับอาร์เจนติน่าและเมสซี่ที่ได้แชมป์ฟุตบอลโลก   ในด้านเทคโนโลยีก็เกิดเสียงฮือฮาขึ้นมากมาย ตั้งแต่การเปิดตัวโทรศัพท์สมาร์ทโฟนพับได้ของ Samsung, ความตื่นตัวทางเทคโนโลยีอวกาศของทั่วทุกมุมโลก, การล่มสลายของบริษัทคริปโตเคอเรนซี่, การส่งเสริมผลักดันงานพลังงานสะอาด, การกลับมาของพลังงานนิวเคลียร์ และที่ขาดไปไม่คือความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์อาจเข้ามาแทนที่มนุษย์   ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีตลอดปี 2022 นั้นน่าทึ่ง วันนี้เราจึงมาคาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีแห่งปี 2023 กันเสียหน่อยว่า เทคโนโลยีใดน่าจะเข้ามามีส่วนร่วมและเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของเราบ้าง     1. ความปลอดภัยทางไซเบอร์และข้อมูลส่วนตัว ช่วงปีที่ผ่านมาทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนตัวมากยิ่งขึ้น เมื่อปัจจุบันข้อมูลของเราถูกนำไปใช้กับโลกออนไลน์เป็นจำนวนมากและตกอยู่ในความเสี่ยง โดยเฉพาะเมื่อเกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนตัวของเราจากบริษัทต่างๆ ทำให้หลายท่านพากันตั้งคำถามด้านความปลอดภัยอีกครั้ง   สำหรับคนไทยย่อมเข้าใจในส่วนนี้เป็นอย่างดีจากการอาละวาดของ เครือข่ายคอลเซ็นเตอร์ ที่หยิบยกสารพัดเรื่องมากล่าวอ้าง ตั้งแต่เป็นหน่วยงานราชการ เป็นบริษัทพัสดุ หรือแม้แต่การหลอกเป็นเพื่อนหรือญาติของเป้าหมาย นำไปสู่การฉ้อโกงเม็ดเงินมูลค่ามหาศาล   จริงอยู่ว่าแนวโน้มการป้องกันแก้ไขดูไร้หนทาง เมื่อนี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นแค่เพียงในประเทศไทยแต่กระจายตัวไปทั่วทุกมุมโลก กระทั่งประเทศเจริญแล้วที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้เองยังหนีไม่พ้น แต่นั่นก็เป็นสิ่งยืนยันว่าทั่วโลกอาจต้องคิดหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน   ทำให้ในปี…

สหรัฐฯผวา อาวุธทำลายล้างโลก ‘โดรนใต้น้ำนิวเคลียร์รัสเซีย’ ใกล้เสร็จแล้ว

Loading

อาวุธสุดร้าย ทำลายล้างโลก ของรัสเซีย “โดรนใต้น้ำติดหัวรบนิวเคลียร์” ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว เหลือแต่ทดสอบขั้นสุดท้ายเท่านั้น เผยแสนยานุภาพสุดสะพรึงขนาดทำให้แผ่นดินไหวได้ แล่นได้ไกลถึงอเมริกา เมื่อ 24 ส.ค.63 เว็บไซต์เดอะ ซัน รายงาน อาวุธแสนยานุภาพสุดร้ายกาจ โดรนใต้น้ำนิวเคลียร์ เรือดำน้ำติดหัวรบนิวเคลียร์ไร้คนขับ ของรัสเซีย ที่ถูกตั้งชื่อให้ว่า ‘โพไซดอน’ (Poseidon) ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยขณะนี้กำลังอยู่ในการทดสอบขั้นตอนสุดท้าย หลังจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียได้เผยโฉม ‘เขี้ยวเล็บ’ อาวุธสุดอันตราย ล่าสุดของกองทัพเรือรัสเซีย ข่มขวัญสหรัฐอเมริกา ชาติมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก เนื่องในวันกองทัพเรือรัสเซีย เมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา ‘การทดสอบโดรนใตน้ำติดหัวรบนิวเคลียร์นี้ กำลังจะเสร็จสมบูรณ์ และเรากำลังรอการทดสอบโดรนใต้น้ำนิวเคลียร์โพไซดอน’ เจ้าหน้าที่รัสเซียหลายคนเปิดเผยอย่างภาคภูมิใจ มีรายงานว่า ข้อมูลโดรนใต้น้ำติดหัวรบนิวเคลียร์สุดร้ายกาจ โพไซดอน ของรัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียได้หลุดออกมาถึงมือนักข่าวรัสเซีย ตั้งแต่ปลายปี 2558 ซึ่งขณะนั้น เรียกว่า ‘Ocean Multipurpose System Status-6’ ไม่ใช่ โพไซดอน ซึ่งตามรายงานของสื่อรัสเซีย เผยว่า โดรนใต้น้ำนิวเคลียร์โพไซดอนนี้ สามารถแล่นใต้น้ำด้วยความเร็ว 85…

ทะเบียนรถไฟฟ้าสุดอัจฉริยะ ข้อมูลแม่นยำแบบเรียลไทม์

Loading

สัปดาห์นี้ไปดูจีนจะเริ่มดำเนินการใช้ทะเบียนรถไฟฟ้าแบบสมาร์ทอัจฉริยะได้ข้อมูลเที่ยงตรงแม่นยำแบบเรียลไทม์ รู้หมดรถเป็นของใคร จดทะเบียนที่ไหน ใช้มากี่ปีแล้ว ทำผิดกฎจราจรมาหรือไม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2020 เป็นต้นไป จีนจะเริ่มดำเนินการใช้ทะเบียนรถไฟฟ้า เรามาดูกันว่า “ทะเบียนรถอิเล็กทรอนิกส์” หรือ Electronic Vehicle Identification, EVI คืออะไร EVI ก็คือ จากการที่ในปัจจุบันระบบอินเตอร์เนทที่พัฒนาจนสามารถจะออนไลน์ดูและแยกแยะ รวมไปถึงการมีระบบ RFID หรือ Radio Frequency Identification หรือการระบุข้อมูลสิ่งต่างๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งพวกเราทุกคนคงคุ้นเคยกันดี เพราะมันถูกนำมาใช้งานชีวิตประจำวันของเราอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแท็กที่ใช้ในป้ายสินค้าเพื่อป้องกันการขโมย ตั๋วรถไฟใต้ดิน เป็นต้น แต่ของประเทศจีนนั้น ระบบต่างๆ กำลังถูกนำมาเพื่อใช้ระบุทุกอย่าง อย่างเข้มข้น ตั้งแต่การที่ประชาชนจะถูกเก็บข้อมูลอย่างละเอียด จนที่บ้านเราอาจจะรู้สึกว่า การทำดังกล่าวนั้น เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เฉพาะกับนักท่องเที่ยวตั้งแต่เดินทางเข้าประเทศจีน ก็จะถูกเก็บข้อมูลด้วยการเข้าไปเครื่องเก็บข้อมูล เมื่อเราสอดพาสปอร์ตเข้าไปเครื่องจะทราบว่าเราเป็นคนชาติใด และใช้ภาษาของเราในการสื่อสาร คือไม่ต้องกลัวว่าจะอ่านภาษาจีนไม่ออก และตั้งแต่เริ่มสแกนหน้า สแกนนิ้วทั้งหมด ให้สัมพันธ์กับหนังสือเดินทาง เมื่อไปถึงโรงแรม โรงแรมก็จะขอหนังสือเดินทางและสแกนพาสปอร์ตส่งข้อมูลไปว่า นักท่องเที่ยวท่านนี้ได้เดินทางมาเข้าพักที่โรงแรมนี้ หรือแม้แต่จะเดินทางด้วยรถไฟก็จะต้องระบุตัวตนด้วยบัตรประชาชนและหนังสือเดินทาง…

จีนเริ่มใช้ระบบศาลอัจฉริยะสำหรับคดีพิพาทออนไลน์

Loading

A virtual judge hears litigants in a case before a Chinese “internet court” in Hangzhou, China. (Courtesy: AFP/YouTube video) ในความพยายามเพื่อลดปริมาณงานสำหรับมนุษย์และเพิ่มประสิทธิภาพรวมทั้งความเร็วของกระบวนการในศาล จีนเริ่มนำระบบศาลออนไลน์หรือที่เรียกว่าศาลอัจฉริยะมาใช้ที่กรุงปักกิ่งและเมืองกวางโจวหลังจากที่ได้ทดลองใช้เมืองหางโจวเมื่อปี 2560 จากการที่เมืองหางโจวเป็นศูนย์กลางของบริษัทเทคโนโลยีของจีน โดยในสมาร์ทคอร์ทหรือศาลอัจฉริยะที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์เข้าช่วยนี้ ผู้ร้องทุกข์สามารถลงทะเบียนคำร้องของตนทางอินเทอร์เน็ตและเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนออนไลน์ ซึ่งศาลจะสื่อสารเรื่องราวและคำวินิจฉัยต่างๆ ให้กับคู่กรณีด้วยการส่งข้อมูลทางอุปกรณ์ดิจิทัล นับตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงตุลาคมปีนี้ มีชาวจีนเข้าใช้บริการศาลออนไลน์รวมแล้วกว่า 3 ล้าน 1 แสนครั้งและมีชาวจีนกว่า 1 ล้านคนพร้อมทั้งนักกฎหมายอีกกว่า 7 หมื่น 3 พันคนที่ลงทะเบียนร่วมใช้บริการเช่นกัน ในการสาธิตระบบดังกล่าวต่อสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ศาลออนไลน์ที่เมืองหางโจวแสดงกระบวนการไต่สวนซึ่งคู่กรณีสื่อสารกับผู้พิพากษาเสมือนจริงที่ทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ โดยผู้พิพากษาเสมือนจริงได้ถามโจทก์ว่าจำเลยมีข้อคัดค้านใดในหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์ยื่นให้ศาลพิจารณาหรือไม่ อย่างไรก็ตามแม้จะมีการใช้ผู้พิพากษาเสมือนจริงที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ AI ก็ตามแต่ก็ยังมีผู้พิพากษาที่เป็นคนจริงคอยสังเกตกระบวนการและตรวจสอบคำวินิจฉัยที่สำคัญอยู่ ข้อดีอย่างหนึ่งของระบบศาลออนไลน์หรือสมาร์ทคอร์ทของจีนก็คือระบบศาลดังกล่าวสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์โดยไม่ถูกจำกัดอยู่เฉพาะเวลาราชการ และการยื่นคำร้องหรือการส่งเอกสารหลักฐานก็สามารถทำได้ออนไลน์โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปถึงศาลด้วย อย่างไรก็ตามตอนนี้ศาลออนไลน์ที่เมืองหางโจวรับพิจารณาเฉพาะคดีความเกี่ยวกับระบบดิจิทัลเท่านั้น เช่น ข้อพิพาทเรื่องการค้าทางระบบอินเทอร์เน็ต การละเมิดลิขสิทธิ์…