ทะเบียนรถไฟฟ้าสุดอัจฉริยะ ข้อมูลแม่นยำแบบเรียลไทม์

Loading

สัปดาห์นี้ไปดูจีนจะเริ่มดำเนินการใช้ทะเบียนรถไฟฟ้าแบบสมาร์ทอัจฉริยะได้ข้อมูลเที่ยงตรงแม่นยำแบบเรียลไทม์ รู้หมดรถเป็นของใคร จดทะเบียนที่ไหน ใช้มากี่ปีแล้ว ทำผิดกฎจราจรมาหรือไม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2020 เป็นต้นไป จีนจะเริ่มดำเนินการใช้ทะเบียนรถไฟฟ้า เรามาดูกันว่า “ทะเบียนรถอิเล็กทรอนิกส์” หรือ Electronic Vehicle Identification, EVI คืออะไร EVI ก็คือ จากการที่ในปัจจุบันระบบอินเตอร์เนทที่พัฒนาจนสามารถจะออนไลน์ดูและแยกแยะ รวมไปถึงการมีระบบ RFID หรือ Radio Frequency Identification หรือการระบุข้อมูลสิ่งต่างๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งพวกเราทุกคนคงคุ้นเคยกันดี เพราะมันถูกนำมาใช้งานชีวิตประจำวันของเราอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแท็กที่ใช้ในป้ายสินค้าเพื่อป้องกันการขโมย ตั๋วรถไฟใต้ดิน เป็นต้น แต่ของประเทศจีนนั้น ระบบต่างๆ กำลังถูกนำมาเพื่อใช้ระบุทุกอย่าง อย่างเข้มข้น ตั้งแต่การที่ประชาชนจะถูกเก็บข้อมูลอย่างละเอียด จนที่บ้านเราอาจจะรู้สึกว่า การทำดังกล่าวนั้น เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เฉพาะกับนักท่องเที่ยวตั้งแต่เดินทางเข้าประเทศจีน ก็จะถูกเก็บข้อมูลด้วยการเข้าไปเครื่องเก็บข้อมูล เมื่อเราสอดพาสปอร์ตเข้าไปเครื่องจะทราบว่าเราเป็นคนชาติใด และใช้ภาษาของเราในการสื่อสาร คือไม่ต้องกลัวว่าจะอ่านภาษาจีนไม่ออก และตั้งแต่เริ่มสแกนหน้า สแกนนิ้วทั้งหมด ให้สัมพันธ์กับหนังสือเดินทาง เมื่อไปถึงโรงแรม โรงแรมก็จะขอหนังสือเดินทางและสแกนพาสปอร์ตส่งข้อมูลไปว่า นักท่องเที่ยวท่านนี้ได้เดินทางมาเข้าพักที่โรงแรมนี้ หรือแม้แต่จะเดินทางด้วยรถไฟก็จะต้องระบุตัวตนด้วยบัตรประชาชนและหนังสือเดินทาง…

จีนเริ่มใช้ระบบศาลอัจฉริยะสำหรับคดีพิพาทออนไลน์

Loading

A virtual judge hears litigants in a case before a Chinese “internet court” in Hangzhou, China. (Courtesy: AFP/YouTube video) ในความพยายามเพื่อลดปริมาณงานสำหรับมนุษย์และเพิ่มประสิทธิภาพรวมทั้งความเร็วของกระบวนการในศาล จีนเริ่มนำระบบศาลออนไลน์หรือที่เรียกว่าศาลอัจฉริยะมาใช้ที่กรุงปักกิ่งและเมืองกวางโจวหลังจากที่ได้ทดลองใช้เมืองหางโจวเมื่อปี 2560 จากการที่เมืองหางโจวเป็นศูนย์กลางของบริษัทเทคโนโลยีของจีน โดยในสมาร์ทคอร์ทหรือศาลอัจฉริยะที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์เข้าช่วยนี้ ผู้ร้องทุกข์สามารถลงทะเบียนคำร้องของตนทางอินเทอร์เน็ตและเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนออนไลน์ ซึ่งศาลจะสื่อสารเรื่องราวและคำวินิจฉัยต่างๆ ให้กับคู่กรณีด้วยการส่งข้อมูลทางอุปกรณ์ดิจิทัล นับตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงตุลาคมปีนี้ มีชาวจีนเข้าใช้บริการศาลออนไลน์รวมแล้วกว่า 3 ล้าน 1 แสนครั้งและมีชาวจีนกว่า 1 ล้านคนพร้อมทั้งนักกฎหมายอีกกว่า 7 หมื่น 3 พันคนที่ลงทะเบียนร่วมใช้บริการเช่นกัน ในการสาธิตระบบดังกล่าวต่อสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ศาลออนไลน์ที่เมืองหางโจวแสดงกระบวนการไต่สวนซึ่งคู่กรณีสื่อสารกับผู้พิพากษาเสมือนจริงที่ทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ โดยผู้พิพากษาเสมือนจริงได้ถามโจทก์ว่าจำเลยมีข้อคัดค้านใดในหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์ยื่นให้ศาลพิจารณาหรือไม่ อย่างไรก็ตามแม้จะมีการใช้ผู้พิพากษาเสมือนจริงที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ AI ก็ตามแต่ก็ยังมีผู้พิพากษาที่เป็นคนจริงคอยสังเกตกระบวนการและตรวจสอบคำวินิจฉัยที่สำคัญอยู่ ข้อดีอย่างหนึ่งของระบบศาลออนไลน์หรือสมาร์ทคอร์ทของจีนก็คือระบบศาลดังกล่าวสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์โดยไม่ถูกจำกัดอยู่เฉพาะเวลาราชการ และการยื่นคำร้องหรือการส่งเอกสารหลักฐานก็สามารถทำได้ออนไลน์โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปถึงศาลด้วย อย่างไรก็ตามตอนนี้ศาลออนไลน์ที่เมืองหางโจวรับพิจารณาเฉพาะคดีความเกี่ยวกับระบบดิจิทัลเท่านั้น เช่น ข้อพิพาทเรื่องการค้าทางระบบอินเทอร์เน็ต การละเมิดลิขสิทธิ์…