“ปากีสถาน-อินเดีย” แลกเปลี่ยนข้อมูลนิวเคลียร์ประจำปี

Loading

  รัฐบาลปากีสถานและอินเดียแบ่งปันข้อมูลด้านนิวเคลียร์รายปี ซึ่งเกิดขึ้นทุกวันปีใหม่ และเป็นธรรมเนียมที่ทั้งสองประเทศปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ตลอดระยะเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 1 ม.ค. ว่า กระทรวงการต่างประเทศของปากีสถานออกแถลงการณ์ว่า ได้มีการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับ “สถานที่ตั้งด้านนิวเคลียร์” และโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้แก่รัฐบาลนิวเดลี ผ่านสำนักงานข้าหลวงใหญ่อินเดียประจำกรุงอิสลามาบัด หรือสถานเอกอัครราชทูต   ?: PR NO. 0️⃣1️⃣/2️⃣0️⃣2️⃣3️⃣ Annual Exchange of Lists of Nuclear Installations and Facilities between Pakistan and India ?⬇️https://t.co/avr8VeH3Vy pic.twitter.com/eFy7RwPVFs — Ministry of Foreign Affairs – Pakistan (@ForeignOfficePk) January 1, 2023   ด้านกระทรวงการต่างประเทศอินเดียยังไม่มีความเห็นอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม…

เข้าใกล้พลังงานไร้ขีดจำกัด! การศึกษา “นิวเคลียร์ฟิวชัน” คืบหน้า

Loading

  นักวิจัยพบความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในการศึกษา “พลังงานนิวเคลียร์ฟิวชัน” ที่หลายคนเชื่อว่า คือแหล่งพลังงานสะอาด ปลอดภัย และแทบจะไร้ขีดจำกัด   เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ที่นักวิจัยพบความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในการศึกษา “นิวเคลียร์ฟิวชัน (Nuclear Fusion)” ปฏิกิริยาชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างพลังงานได้อย่างมหาศาล เป็นความหวังใหม่ของ “แหล่งพลังงานสะอาด ปลอดภัย และแทบจะไร้ขีดจำกัด”   หลักการของนิวเคลียร์ฟิวชันคือ ปฏิกิริยาเมื่อเกิดการรวมตัวของอะตอมธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน เพื่อสร้างอะตอมธาตุที่หนักกว่า และปลดปล่อยพลังงานจำนวนมากออกมาในกระบวนการนี้     พลังงานมหาศาลที่ถูกปล่อยออกมาระหว่างกระบวนการนี้เอง ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นแหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน   อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่การวิจัยนิวเคลียร์ฟิวชันเริ่มขึ้นในทศวรรษที่ 1950 ตลอดมา นักวิจัยไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างพลังงานที่มากพอ เนื่องจากพลังงานตั้งต้นที่ต้องใช้ในการรวมอะตอมนั้นสูงมาก พลังงานที่ได้จากฟิวชันนั้นมากกว่าพลังงานที่ใช้ในการทำให้มันเกิดฟิวชันแค่นิดเดียว พูดง่าย ๆ คือ ได้พลังงานที่เป็น “ผลกำไร” มาแค่นิดเดียวหรือไม่ได้เลย   แต่ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์ ลิเวอร์มอร์ (LLNL) ของสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการสร้างพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันแบบ “ได้กำไรสุทธิ”   ผลลัพธ์ของการทดลองนี้นับเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ในภารกิจที่ยาวนานหลายทศวรรษในการสร้างแหล่งพลังงานสะอาดที่ไร้ขีดจำกัด ซึ่งสามารถช่วยยุติการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ โดยมีข้อมูลว่า…

วิเคราะห์คำสั่งยกระดับนิวเคลียร์ของปูติน ทำให้เพิ่มความเสี่ยงจะเกิด ‘สงครามนุก’ หรือไม่

Loading

(ภาพจากแฟ้ม) ยานเครื่องยิงขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยข้ามทวีป (ICBM) ของรัสเซีย ขณะออกมาร่วมสวนสนามของกองทัพ ในวาระครบรอบ 71 ปีชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จตุรัสแดงในกรุงมอสโก เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2016 “ปูติน” ขู่เป็นนัยจะทำให้สงครามยูเครนกลายเป็นสงครามนิวเคลียร์ เป็นการบีบให้ “ไบเดน”ต้องชั่งใจกับทางเลือกต่างๆ ซึ่งรวมถึงควรที่จะยกระดับการเตรียมพร้อมของกองกำลังนิวเคลียร์ของอเมริกาบ้างหรือไม่ จุดเปลี่ยนของเรื่องนี้เกิดขึ้นทั้งที่เมื่อไม่ถึงปีที่แล้ โจ ไบเดน และวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีอเมริกาและรัสเซียตามลำดับ เพิ่งออกคำแถลงในการประชุมสุดยอดที่เจนีวาที่ดูเหมือนตีความได้ว่า ทั้งคู่เห็นตรงกันว่า สงครามนิวเคลียร์คืออนุสรณ์ของสงครามเย็นเท่านั้น เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อวันอาทิตย์ (27 ก.พ.) ปูตินสั่งให้เจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงดำเนินการเพื่อให้กองกำลังด้านนิวเคลียร์ของรัสเซีย เข้าสู่ “กฎเกณฑ์พิเศษของการปฏิบัติหน้าที่สู้รบ (special regime of combat duty) อย่างไรก็ดี ไม่มีความชัดเจนว่า คำสั่งนี้ทำให้สถานะกองกำลังนิวเคลียร์ของรัสเซียต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ปัจจุบัน ขีปนาวุธข้ามทวีป (ไอซีบีเอ็ม) ของรัสเซียอยู่ในโหมดเตรียมพร้อมระดับสูงตลอดเวลาเช่นเดียวกับอเมริกา อีกทั้งยังเชื่อว่า ขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่ติดตั้งในเรือดำน้ำทั้งของมอสโกและวอชิงตันอยู่ในโหมดเตรียมพร้อมระดับสูงตลอดเวลาเช่นเดียวกัน ปูตินบ่งชี้ว่า การสั่งเตรียมพร้อมครั้งนี้ ก็เพื่อตอบโต้มาตรการแซงก์ชันทางเศรษฐกิจของอเมริกาและชาติตะวันตกอื่นๆ ที่ประกาศออกมาในช่วงวันสองวันนี้เพื่อลงโทษรัสเซียสำหรับการบุกยูเครน รวมทั้งถ้อยแถลงก้าวร้าวต่อรัสเซียที่ปูตินไม่ได้อธิบายเพิ่มเติม คำประกาศของปูตินคล้ายๆ…

เกาหลีเหนือ : ทำไมการปล่อยขีปนาวุธร่อนของรัฐบาลเปียงยางทำให้หลายชาติกังวล

Loading

เมื่อต้นสัปดาห์นี้ เกาหลีเหนือประกาศว่าประสบความสำเร็จในการทดสอบการปล่อยขีปนาวุธร่อนพิสัยไกลที่มีขีดความสามารถในการโจมตีพื้นที่ส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นได้ ขีปนาวุธร่อน (cruise missiles) ต่างจากขีปนาวุธทิ้งตัว (ballistic missiles) มันสามารถเปลี่ยนทิศทางและหักเลี้ยวได้ระหว่างการเดินทาง ทำให้โจมตีเป้าหมายได้จากมุมที่คาดเดาไม่ได้ การทดสอบนี้แสดงให้เห็นว่า เกาหลีเหนือยังคงพยายามที่จะพัฒนาวิธีการที่ซับซ้อนและหลากหลายต่าง ๆ เพื่อให้สามารถปล่อยอาวุธนิวเคลียร์ได้ เป็นที่ชัดเจนว่าในช่วงการระบาดใหญ่ การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้ง และความยากลำบากของภาวะเศรษฐกิจในประเทศ แทบไม่เป็นอุปสรรคต่อเกาหลีเหนือในป้องกันอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งเกาหลีเหนือให้ความสำคัญอย่างมากได้เลย การทดสอบที่ประสบความสำเร็จครั้งล่าสุด ทำให้เกิดคำถามหลายข้อขึ้นว่า ทำไมเกาหลีเหนือจึงทำการทดสอบในช่วงนี้ การทดสอบนี้มีความสำคัญอย่างไร และมันบอกอะไรเราบ้างเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของเกาหลีเหนือ     รัฐบาลเกาหลีเหนือยังไม่เปลี่ยนเป้าหมาย เกาหลีเหนือกำลังพัฒนาขีดความสามารถด้านนิวเคลียร์ของประเทศ ทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ นับตั้งแต่ มี.ค. 2019 นับตั้งแต่กลับจากการประชุมสุดยอดที่ล้มเหลวในเดือน ก.พ. 2019 กับอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ในกรุงฮานอยของเวียดนาม คิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ก็ได้แสดงความแน่วแน่ในการลงทุนด้านการป้องกันอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือต่อไป และเดินหน้ายุทธศาสตร์กลาโหมแห่งชาติ “พึ่งพาตัวเอง” แต่ทำไมเกาหลีเหนือเลือกที่จะทำเช่นนี้ ทั้งที่ก็เผชิญกับการขาดแคลนอาหารและวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรง มันตอบสนองต่อเป้าหมายหลายอย่างของเกาหลีเหนือ ภายในประเทศ การทดสอบเหล่านี้ช่วยสนับสนุนสิ่งที่นายคิมบอกว่า พยายามที่จะพึ่งพาตัวเองในการป้องกันประเทศและเป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจด้วย ในทางปฏิบัติ ขีดความสามารถใหม่ของขีปนาวุธร่อนเหล่านี้ ทำให้การวางแผนของศัตรูเกาหลีเหนือยุ่งยากขึ้น เพราะต้องต่อกรกับขีดความสามารถใหม่เหล่านี้…

ครั้งสำคัญ! IAEA บรรลุข้อตกลงกับ “อิหร่าน” กลับมาเข้าถึง “กล้องมอนิเตอร์” ที่โรงงานนิวเคลียร์เตหะรานได้อีกครั้ง

Loading

  เอเอฟพีรายงานวันนี้ (13 ก.ย.) ว่า ราฟาเอล โกรสซี (Rafael Grossi) ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ IAEA เพิ่งเดินทางกลับออกมาจากอิหร่านในวันอาทิตย์ (12) หลังจากที่เขาประสบความสำเร็จบรรลุข้อตกลงใหม่ทางนิวเคลียร์ร่วมกับโมฮัมเหม็ด อิสลามี (Mohammad Eslami) ผู้อำนวยการคนใหม่ขององค์การนิวเคลียร์เพื่ออิหร่าน อ้างอิงจากอัลญะซีเราะฮ์ สื่อกาตาร์พบว่า เขาเดินทางเข้ากรุงเตหะรานในคืนวันเสาร์ (11) และพบกับอิสลามี ในเช้าวันอาทิตย์ (12) เป็นครั้งแรกที่โกรสซี เดินทางมาที่อิหร่านในรัฐบาลใหม่ของประธานาธิบดีอิหร่าน อิบราฮิม ไรซี (Ebrahim Raisi) ผู้ซึ่งแต่งตั้งอิสลามีเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าองค์การนิวเคลียร์ของเตะรานเมื่อวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายเรียกการหารือว่าสร้างสรรค์และตกลงร่วมกันที่จะยังคงหารือร่วมกันต่อไปในการประชุมรอบนอกของการประชุมใหญ่ของ IAEA ที่กรุงเวียนนา ออสเตรีย ในเดือนนี้ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้ตกลงร่วมกันว่า โกรสซี จะเดินทางกลับมาที่กรุงเตหะรานอีกครั้งในไม่ช้าเพื่อเปลี่ยนเมโมรีการ์ดของกล้องมอนิเตอร์ของ IAEA ที่โรงงานนิวเคลียร์อิหร่าน สำหรับเมโมรีการ์ดนี้จะต้องถูกเก็บอยู่ที่อิหร่านสอดคล้องกับกฎหมายใหม่ที่ผ่านโดยรัฐสภาเตหะรานเมื่อธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งเตหะรานเคยกล่าวไว้มาตั้งแต่กุมภาพันธ์ต้นปีว่า จะทำการส่งมอบเมโมรีการ์ด หรือเทปบันทึกเหล่านี้ให้ทาง IAEA หลังจากที่มีการบรรลุข้อตกลงที่กรุงเวียนนาระหว่างเตหะรานและเหล่าชาติมหาอำนาจในการนำข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านปี 2015 ที่รู้จักในนาม JCPOA กลับคืนมาอีกครั้ง…

รัสเซียเตรียมทดสอบซูเปอร์นุกถล่มเท็กซัสได้ทั้งรัฐ

Loading

  รัสเซียประกาศทดสอบซูเปอร์นิวเคลียร์อานุภาพร้ายแรงถล่มรัฐเท็กซัสได้ทั้งรัฐ ทางการรัสเซียประกาศเตรียมทดสอบซูเปอร์นิวเคลียร์ RS-28 Sarmat ขนาด 208 ตัน 3 ครั้ง ซึ่งหากสำเร็จจะนำมาประจำการในปี 2022 ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียเผยกับสำนักข่าว TASS ว่า การทำงานเกี่ยวกับ Sarmat ดำเนินไปอย่างแข็งขัน และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายแล้ว แหล่งข่าวกระทรวงกลาโหมรัสเซียเผยว่า ซูเปอร์นิวเคลียร์ RS-28 Sarmat มีอานุภาพในการทำลายล้างพื้นที่เท่ากับรัฐเท็กซัสของสหรัฐทั้งรัฐซึ่งมีพื้นที่ราว 695,662 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีอานุภาพร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ขีปนาวุธ R-36M2 Voevoda และมีพิสัยการยิง 9,978 กิโลเมตร นอกจากนี้ เครื่องยนต์ของขีปนาวุธนี้ยังสามารถเพิ่มกำลังให้เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ปลอดภัยเพื่อหลบเลี่ยงระบบต่อต้านขีปนาวุธ ทั้งยังสามารถบินเหนือขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้และใช้เส้นทางบินที่ไม่สามารถคาดเดาได้เพื่อหลบระบบต่อต้านขีปนาวุธ RS-28 Sarmat สามารถบรรจุหัวรบระเบิดไฮโดรเจนขนาดใหญ่ได้ถึง 10 หัว หรือหัวรบขนาดเล็กได้ 16 หัว หรือทั้งสองชนิดรวมกัน ภาพ: กระทรวงกลาโหมรัสเซีย   ——————————————————————————————————————————————- ที่มา : โพสต์ทูเดย์   …