ประท้วงใหญ่ในเปรูพ่นพิษ นักท่องเที่ยวเกือบ 300 คนติดค้างที่ “มาชูปิกชู”

Loading

  นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหลายร้อยคนติดค้างอยู่ในหมู่บ้านใกล้ มาชูปิกชู โบราณสถานบนยอดเขาสูงของเปรู หลังประเทศตกอยู่ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินสืบเนื่องจากการประท้วง ที่เริ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว   “ดาร์วิน บาคา” นายกเทศมนตรีเมือง มาชูปิกชู ของเปรู เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ (16 ธ.ค.) ว่า มีนักท่องเที่ยวเกือบ 300 คนจากทั่วโลก ติดค้างอยู่ในโบราณสถานอารยธรรมอินคา มาชูปิกชู ซึ่งมีทั้งชาวเปรู อเมริกาใต้ อเมริกัน และยุโรป และเขาเรียกร้องให้รัฐบาลส่งเฮลิคอปเตอร์มาช่วยอพยพนักท่องเที่ยว เพราะรถไฟ ที่เป็นพาหนะเข้าออกเมืองได้เพียงอย่างเดียวหยุดวิ่งให้บริการ   ทั้งนี้ รถไฟที่วิ่งเข้าออก มาชูปิกชู มรดกโลกที่ได้รับคัดเลือกจากองค์การยูเนสโก หยุดวิ่งตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. หลังจากทางรถไฟถูกผู้ประท้วงปิดกั้น และนักท่องเที่ยวยังคงติดค้างอยู่ในหมู่บ้าน อากูอัส กาเลียนเตส ที่บริเวณตอนล่างของมาชูปิกชูเมื่อวันเสาร์ โดยรถไฟยังคงจอดนิ่งที่สถานีรถไฟ ทั้งที่ควรจะพาพวกเขากลับไปที่เมืองซัสโกเมื่อหลายวันที่แล้ว   เปรู ตกอยู่ในวิกฤตการเมืองหลังจากประธานาธิบดีเปโดร กัสติโย ประกาศยุบสภา แต่รัฐสภามีมติปลดเขาออกจากตำแหน่งทันที และแต่งตั้งรองประธานาธิบดี ดีนา โบลูอาร์เต เป็นประธานาธิบดีคนใหม่เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.…

เกิดอะไรขึ้นในเปรู? ปธน.โดนถอดถอน-คนแห่ไล่ผู้นำใหม่

Loading

    –  เปรูเผชิญมรสุมทางการเมืองอย่างหนัก ล่าสุดประธานาธิบดีถูกถอดออกจากตำแหน่ง ขณะที่รัฐบาลของประธานาธิบดีคนใหม่ก็ถูกประท้วงต่อต้านอย่างหนัก   –  ชนวนของเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากอดีตประธานาธิบดี เปโดร กาสติลโล พยายามยุบสภาที่ฝ่ายค้านครองเสียงข้างมาก เพื่อตั้งรัฐบาลฉุกเฉินเพื่อให้ได้อำนาจบริหารเต็มที่   –  การประท้วงในเปรูเริ่มบานปลาย เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจจนมีคนตาย รัฐบาลพยายามหาทางความคุมสถานการณ์ สุดท้ายก็ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน   เปรูอยู่ในสภาพปั่นป่วน เพราะความยุ่งเหยิงทางการเมืองมาตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ต้องเปลี่ยนตัวผู้นำประเทศไปแล้วหลายคน ท่ามกลางเรื่องอื้อฉาวมากมายและการสืบสวนคดีคอร์รัปชัน แต่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา พวกเขากำลังเผชิญเหตุวุ่นวายที่อาจเป็นครั้งเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์   เมื่อ 7 ธ.ค. รัฐสภาเปรูมีกำหนดการลงมติว่าจะถอดถอนประธานาธิบดี เปโดร กาสติลโล ซึ่งกำลังถูกกล่าวหาว่าคอร์รัปชันหรือไม่ แต่นายกาสติลโลกลับพยายามขัดขวางการโหวต ด้วยการประกาศยุบสภาคองเกรส และตั้งรัฐบาลฉุกเฉินขึ้นมา   การกระทำของกาสติลโลสร้างความตกตะลึงให้แก่ทุกฝ่ายรวมทั้งพันธมิตรของเขา และถูกประณามอย่างรวดเร็วว่าเป็นความพยายามก่อรัฐประหาร แต่ในวันเดียวกันนั้น นายกาสติลโลก็ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งและถูกจับกุม น.ส.ดีนา โบลูอาร์เต รองประธานาธิบดี ถูกเลื่อนขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ผู้นำหญิงคนแรกของเปรู   อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะผู้สนับสนุนนายกาสติลโล ออกมาชุมนุมประท้วงในหลายเมือง เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ก่อนเหตุการณ์จะลุกลามบานปลายเป็นความรุนแรงภายในไม่กี่วันต่อมา เมื่อผู้ประท้วงบางกลุ่มก่อเหตุโจมตีสถานีตำรวจ, สนามบิน…

เปรูประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหลังประท้วงยืดเยื้อ

Loading

  เปรูประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ หลังจากการประท้วงที่ดุเดือดนาน 1 สัปดาห์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย   เปรูประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศเมื่อวันพุธ โดยให้อำนาจพิเศษแก่ตำรวจ และจำกัดเสรีภาพในด้านต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสิทธิในการชุมนุม หลังจากการประท้วงที่ดุเดือดนาน 1 สัปดาห์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย   การประท้วงดังกล่าวมีสาเหตุจาการขับไล่อดีตประธานาธิบดีเปโดร คาสติญโญ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม หลังถูกรัฐสภาเปรูพิจารณาการถอดถอนเขาออกจากตำแหน่งถึง 3 ครั้งภายในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากนายคาสติญโญพยายามที่จะยุบสภามาเป็นระยะเวลา 9 เดือน รวมทั้งเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และประกาศเคอร์ฟิว ซึ่งก่อให้เกิดกระแสต่อต้านอย่างรุนแรงทั้งจากสมาชิกสภา กองทัพ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวมไปถึงคณะรัฐมนตรี ซึ่งสถาบันทางการเมืองระดับสูงในเปรูต่างชี้ว่าการกระทำดังกล่าวไม่ต่างจากการก่อรัฐประหาร   อัยการเปรูกล่าวว่า กำลังขอฝากขังนายคาสติญโญเป็นเวลา 18 เดือน ในข้อหากบฏและสมรู้ร่วมคิด ขณะที่ศาลฎีกาของเปรูหารือเพื่อพิจารณาคำร้องดังกล่าว แต่ได้ระงับการประชุมจนถึงวันพฤหัสบดี   นางดินา โบลูอาร์เต อดีตรองประธานาธิบดีในสมัยของนายคาสติญโญ ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ หลังจากที่เขาถูกถอดถอน…

ฮอนดูรัสประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรม

Loading

  รัฐบาลฮอนดูรัส ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ เพื่อยกระดับความมั่นคงภายใน ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ซึ่งมีอัตราสูงเป็นอันดับต้นของภูมิภาค   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเตกูซิกัลปา ประเทศฮอนดูรัส เมื่อวันที่ 26 พ.ย. ว่า ประธานาธิบดีซิโอมารา คาสโตร ลงนามในคำสั่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วฮอนดูรัส เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เพื่อจัดการกับสถานการณ์อาชญากรรมในประเทศที่พุ่งสูง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และแก๊งอันธพาล   ?? #efHonduras | La presidenta Xiomara Castro declaró hoy emergencia nacional y ordenó a la Policía “proponer estados de excepción y suspensión parcial de garantías constitucionales” en áreas controladas por el crimen organizado y…

คอสตาริกาถูกโจมตีทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง แม้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมาร่วมเดือน

Loading

  กองทุนความมั่นคงปลอดภัยทางสังคมของประเทศคอสตาริกา (CCSS) ระบุว่าโรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศถูกโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา   การโจมตีที่เกิดขึ้นทำให้ CCSS ต้องปิดระบบเก็บบันทึกดิจิทัล ส่งผลให้โรงพยาบาลและคลินิกกว่า 1,200 แห่งได้รับผลกระทบตามไปด้วย   “มันเป็นการโจมตีที่รุนแรงมาก แต่เราไม่พบว่าฐานข้อมูลสำคัญหรือระบบโครงข่ายได้รับความเสียหายแต่อย่างใด” อัลวาโร รามอส (Alvaro Ramos) ประธาน CCSS ระบุในการแถล่งข่าว โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า 30 จาก 1,500 เซิร์ฟเวอร์ที่ CCSS ดูแลอยู่ตกเป็นเป้าการโจมตี โดยคาดว่าเซิร์ฟเวอร์น่าจะล่มอยู่เป็นเวลาหลายวันเลยทีเดียว   รัฐบาลคอสตาริกาเคยระบุก่อนหน้านี้ว่าประเทศถูกโจมตีทางไซเบอร์หลายต่อหลายครั้ง ซึ่งสร้างความเสียหายต่อการระบบการค้าต่างประเทศและกลไกในการจัดเก็บภาษีของประเทศ ทำให้ประธานาธิบดี ร็อดริโก ชาเวส (Rodrigo Chaves) ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา   เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาเคยสันนิษฐานว่าผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีคอสตาริกาคือ Conti กลุ่มแฮกเกอร์จากรัสเซีย แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครออกมาแสดงความรับผิดชอบ   โดยรัฐบาลสหรัฐฯ อิสราเอล และสเปน เคยเสนอยื่นความช่วยเหลือต่อคอสตาริกาในการซ่อมแซมความเสียหายและป้องกันการโจมตีที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต     ที่มา…

เหตุฆาตกรรมวันเดียว 62 คดี เอลซัลวาดอร์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

Loading

  เอลซัลวาดอร์อนุมัติกฎหมายฉุกเฉิน หลังแก๊งอาชญากรรม Barrio 18 และ MS-13 ก่อเหตุฆาตกรรมถึง 62 คดีในวันเดียว เอลซัลวาดอร์ประกาศภาวะฉุกเฉินและอนุมัติกฎหมายฉุกเฉินในช่วงเช้าวันอาทิตย์ (27 มี.ค.) ที่ผ่านมา เพื่อรับมือกับเหตุฆาตกรรมที่ทวีความรุนแรงขึ้น หลังจากเมื่อวันเสาร์ (26 มี.ค.) แก๊ง Barrio 18 และ MS-13 ก่อคดีฆาตกรรมถึง 62 คดีในวันเดียว คดีฆาตกรรมทั้ง 62 คดีที่เกิดขึ้น ทำให้เมื่อวันเสาร์เป็นช่วงเวลา 24 ชั่วโมงที่เกิดความรุนแรงมากที่สุดในเอลซัลวาดอร์นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมืองในปี 1992     กฎหมายฉุกเฉินจะจำกัดสิทธิในการรวมกลุ่มของประชาชน อนุญาตให้เจ้าหน้าที่การจับกุมผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น และสามารถติดตาม/ดักฟังการสื่อสารใด ๆ ก็ได้เป็นกรณีพิเศษ ภาวะฉุกเฉินและกฎหมายฉุกเฉินนี้ จะมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 30 วัน ก่อนประกาศภาวะฉุกเฉิน ตำรวจเอลซัลวาดอร์รายงานว่า สามารถจับกุมแกนนำกลุ่ม Mara Salvatrucha (MS-13) ได้ 4 คน ในข้อหาสังหารหมู่ ด้านประธานาธิบดีเอลซัลวาดอร์…