ปชต.ไม่กลัวโควิด! นักเคลื่อนไหวฮ่องกงนับร้อยเดินหน้าประท้วงในห้างสรรพสินค้า

Loading

เซาต์ไชนามอร์นิงโพสต์ – นักเคลื่อนไหวฝักใฝ่ประชาธิปไตยมากกว่า 100 คน รวมตัวกันภายในห้างสรรพสินค้าหรูแห่งหนึ่งในย่านใจกลางฮ่องกงในวันอังคาร (28 เม.ย.) ในขณะที่การชุมนุมต่อต้านรัฐบาลเริ่มกระพือขึ้นมาอีกครั้งหลังหยุดพักไปนานหลายเดือน เพิกเฉยมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่กำหนดมาเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) พวกผู้ประท้วงรวมตัวกันที่ห้างสรรพสินค้าอินเตอร์เนชันแนล ไฟแนนเชียล เซ็นเตอร์ ร้องเพลง “กลอรี ทู ฮ่องกง” ซึ่งเป็นเพลงสัญลักษณ์ของการชุมนุม โดยพวกเขาเรียกร้องให้ทางการรปล่อยตัวบรรดานักเคลื่อนไหวที่ถูกจับกุมระะหว่างการประท้วงเมื่อปีที่แล้ว ที่โหมกระพือขึ้นจากความไม่พอใจของประชาชนต่อร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนฉบับหนึ่ง ซึ่งเวลานี้ถูกถอนออกไปแล้ว ขณะเดียวกัน พวกผู้ประท้วงยังใช้โอกาสนี้รำลึกครบ 1 ปีการชุมนุมประท้วงต่อต้านร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งมีกลุ่มแนวร่วมพลเมืองสิทธิมนุษยชน (Civil Human Rights Front) เป็นแกนนำ โดยทางกลุ่มอ้างว่ามีผู้เข้าร่วมชุมนุมราวๆ 130,000 คน ในวันที่ 28 เมษายนปีก่อน แต่ตำรวจระบุว่ามีผู้เข้าร่วมเพียง 22,800 คน “ฉันทำงานจากที่บ้าน แต่ฉันคิดว่าฉันควรออกมาเพื่อแสดงพลังสนับสนุนพวกผู้ประท้วง” คนงานภาคอุตสาหกรรมไอที วัย 45 ปีกล่าว “ฉันไม่อาจอดทนกับสถานการณ์ในฮ่องกงในปัจจุบัน มันไม่มีหลักนิติธรรม และพวกผู้พิพากษาตัดสินคดีอย่างไม่ยุติธรรม” เธอกล่าว การประท้วงเสี่ยงเจอโทษปรับ 2,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ราว…

อิหร่านสั่งตัดอินเทอร์เน็ตในหลายพื้นที่ก่อนการเดินขบวนประท้วงครั้งใหญ่

Loading

FILE – A man holds a smartphone connected to a Wifi network without internet access, at an office in the Iranian capital Tehran, Nov. 17, 2019. อิหร่านสั่งตัดการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตกับเว็บไซต์ต่างประเทศในหลายพื้นที่ ขณะที่มีการคาดหมายว่าจะเกิดการเดินขบวนประท้วงครั้งใหญ่ในวันพรุ่งนี้ สื่อของทางการอิหร่าน ILNA รายงานอ้างแหล่งข่าวในกระทรวงเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ซึ่งระบุว่าการตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตครั้งนี้จะครอบคลุมจังหวัดอัลบอร์ซ เคอร์เดสถาน และซานจาน ในแถบภาคกลางและตะวันตกของอิหร่าน รวมทั้งจังหวัดฟาร์สทางภาคเหนือ และอาจส่งผลกระทบต่อจังหวัดอื่น ๆ ในแถบใกล้เคียง มาตรการควบคุมอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลอิหร่านเกิดขึ้นหลังจากมีการโพสต์เรื่องราวและรูปภาพการเสียชีวิตของผู้ประท้วงระหว่างการเดินขบวนต่อต้านมาตรการขึ้นราคาน้ำมันของรัฐบาลเมื่อเดือนพฤศจิกายน ในสื่อสังคมออนไลน์ของอิหร่าน และมีการเรียกร้องมให้เกิดการดเินขบวนครั้งใหญ่ในวันที่ 26 ธันวาคมนี้ องค์กรนิรโทษกรรมสากล รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 304 คนในการประท้วงเมื่อเดือน พ.ย. และมีการตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศในช่วงที่เกิดการประท้วงดังกล่าว การประท้วงในอิหร่านเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 15 พ.ย. หลังจากรัฐบาลอิหร่านประกาศขึ้นราคาน้ำมันราว…

ประท้วงกฎหมายสถานะพลเมืองอินเดียลุกลามรุนแรงทั่วประเทศ

Loading

India Citizenship Law Protest การประท้วงต่อต้านกฎหมายสถานะพลเมืองฉบับใหม่ของอินเดียลุกลามไปทั่วประเทศในวันพุธ ท่ามกลางการปราบปรามของรัฐบาล การประท้วงปะทุขึ้นในนครมุมไบ เมืองเชนไน เมืองกาฮูอาตี และในรัฐทมิฬนาฎู นอกจากนี้ยังลุกลามไปถึงเมืองศรีนาการ์ เมืองโกชิ และรัฐราชสถาน ที่กรุงนิวเดลี ผู้ประท้วงหลายร้อยคนเดินขบวนด้านหน้ามหาวิทยาลัย Jamia Millia Islamia ที่ซึ่งเกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจกับนักศึกษาเมื่อวันอาทิตย์ โดยทางการได้สั่งจำกัดการชุมนุมของชาวมุสลิมในกรุงนิวเดลีหลังจากมีการเผาป้อมตำรวจและรถดยสารหลายคัน ส่วนที่รัฐอัสสัมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เจ้าหน้าที่ได้สั่งปิดเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและประกาศเคอร์ฟิว บรรดาผู้นำพรรคฝ่ายค้านอินเดียปลุกระดมให้เกิดการประท้วงในหลายเมืองตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางความกังวลของประชาชนในรัฐทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่ากฎหมายฉบับใหม่จะทำให้มีผู้อพยพชาวฮินดูได้รับสถานะพลเมืองอินเดียมากขึ้น กฎหมายสถานะพลเมืองฉบับใหม่ของอินเดียกำหนดไว้ว่า ผู้อพยพจากประเทศเพื่อนบ้านสามประเทศ คือ อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และบังกลาเทศ ที่นับถือศาสนาที่ไม่ใช่ศาสนาหลักในประเทศเหล่านั้นรวม 6 ศาสนา เช่น ฮินดู ซิกห์ และคริสต์ จะได้รับสถานะพลเมืองอินเดียเร็วขึ้น แต่ไม่รวมอิสลาม รัฐบาลอินเดียปฏิเสธว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิม แต่เป็นเพราะชาวมุสลิมไม่ใช่ชนกลุ่มน้อยในประเทศเหล่านั้นซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถืออิสลาม บรรดาองค์กรอิสลาม กลุ่มสิทธิมนุษยชน และพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ต่างต่อต้านกฎหมายฉบับนี้โดยบอกว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิม และว่าเป็นความพยายามของนายกรัฐมนตรีนเรนธรา โมดี ที่ต้องการลดความสำคัญของศาสนาอิสลามในอินเดีย ซึ่งนายกฯ โมดี ได้ออกมาปฏิเสธ ชาวมุสลิมในอินเดียจำนวนมากต่างบอกว่าพวกตนรู้สึกเหมือนเป็นพลเมืองชั้นสอง หลังจากที่นายกฯ โมดี ซึ่งนับถือศาสนาฮินดู…

ประท้วงร่างกม.สถานะพลเมืองอินเดียลุกลามในหลายรัฐ-ทางการส่งทหารเข้าควบคุม

Loading

Protesters hold torches as they shout slogans against the government’s Citizenship Amendment Bill during a demonstration in New Delhi, Dec. 11, 2019. เจ้าหน้าที่ในรัฐทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ขอให้รัฐบาลกลางส่งกำลังทหารไปช่วยในการควบคุมผู้ประท้วงต่อต้านร่างกฎหมายสถานะพลเมืองฉบับใหม่ที่คาดว่าจะผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภาอินเดียเร็ว ๆ นี้ นายทหารระดับสูงของอินเดียผู้หนึ่งระบุว่า เวลานี้ได้มีการส่งทหารส่วนหนึ่งไปยังรัฐตรีปุระแล้ว และยังคงรอคำสั่งที่จะเข้าไปในรัฐอัสสัมด้วย ในขณะที่การประท้วงในรัฐเหล่านั้นกำลังลุกลามไปเป็นความรุนแรง ที่รัฐอัสสัม ตำรวจใช้แก๊สน้ำตายิงใส่ผู้ประท้วงหลายพันคนที่พยายามบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาของเมืองทิสปุระ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐอัสสัม ขณะที่ทางการรัฐตรีปุระได้สั่งตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตเพื่อป้องกันการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ร่างกฎหมายสถานะพลเมืองฉบับใหม่ของอินเดีย หรือ Citizenship Amendment Bill (CAB) อนุญาตให้ชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาต่าง ๆ ซึ่งอพยพมาจากประเทศเพื่อนบ้านของอินเดียสามประเทศ คือ ปากีสถาน อัฟกานิสถาน และบังกลาเทศ สามารถได้รับสถานะพลเมืองของอินเดียได้เร็วขึ้นกว่าเดิม ยกเว้นผู้อพยพที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยให้เหตุผลว่าชาวมุสลิมมิได้เผชิญกับการกดขี่และเลือกปฏิบัติในประเทศเพื่อนบ้านทั้งสามนั้น โดยร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของสภาล่างอินเดียเมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา บรรดาองค์กรอิสลาม กลุ่มสิทธิมนุษยชน และพรรคการเมืองฝ่ายค้าน…

สถานทูตไทยในฝรั่งเศสเตือนคนไทยติดตามข่าว-เลี่ยงที่ชุมนุม หลังประท้วง-นัดหยุดงานทั่วประเทศ

Loading

เฟซบุ๊กของสถานเอกอัครราชทุตไทยในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่่อวันที่ 5 ธันวาคม 2562 นอกจากการหยุดและลดให้บริการของระบบขนส่งมวลชนแล้ว คาดว่าจะมีการเดินประท้วงของสหภาพแรงงานรวมกว่า 200 กลุ่มตามเมืองต่าง ๆ ในฝรั่งเศส (ในกรุงปารีส คือ เส้นทางระหว่างสถานี Gare du Nord – Place de la République – Place de la Nation) โดยจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมากกระจายกำลังเพื่อควบคุมสถานการณ์ฃ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีสจึงขอแนะนำให้คนไทยในฝรั่งเศสติดตามข่าวสารและหลีกเลี่ยงบริเวณที่จะมีการชุมนุม รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยของทางการฝรั่งเศสอย่างเคร่งครัด หากต้องการความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน สามารถติดต่อหมายเลข +33 6 46 71 96 94 และ +33 6 03 59 97 05 ก่อนหน้านี้สถานทูตได้แจ้งความคืบหน้าการหยุดให้บริการของระบบขนส่งมวลชนในฝรั่งเศส ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม รายละเอียดดังนี้ 1. กรุงปารีส…

ชาวคาตาลันชุมนุมประท้วงราชวงศ์สเปน

Loading

ชาวคาตาลันนับพันชุมนุมประท้วงราชวงศ์สเปน เผาพระฉายาลักษณ์กษัตริย์เฟลิเปที่ 6 เหตุไม่พอใจประเด็นเอกราชแคว้นคาตาลัน สำนักข่าว El PAIS สื่อท้องถิ่นสเปนรายงานเมื่อวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา ว่าชาวบาร์เซโลน่าจำนวนหลายพันคนได้ชุมนุมประท้วงต่อต้านราชวงศ์สเปน จากการที่สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีเลติเซีย เจ้าหญิงเลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส และเจ้าหญิงโซเฟีย เสด็จพระราชดำเนินไปยังนครบาร์เซโลน่า ในการพระราชทานรางวัล Princess of Girona Awards รายงานระบุว่าผู้ชุมนุมซึ่งเป็นชาวคาตาลันได้รวมตัวกันอย่างน้อย 3 กลุ่มเดินขบวนไปตามถนนทั่วนครบาเซโลนา ได้มีการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 รวมถึงพร้อมใจชูป้ายข้อความประท้วงสถาบันกษัตริย์ของสเปน และมีการเผาธงชาติสเปน การเดินขบวนครั้งนี้นับเป็นการสืบเนื่องจากความไม่พอใจต่อราชวงศ์สเปนและรัฐบาลมาดริด จากกรณีความพยาลงประชามติแบ่งแยกแคว้นคาตาลันออกเป็นเอกราชเมื่อปี 2017 จนส่งผลให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองกระทั่งนำไปสู่การที่รัฐบาลมาดริดต้องใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญเข้าควบคุมการเมืองของแคว้นคาตาลัน ความไม่พอใจของชาวคาตาลันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นจากการที่เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 ทรงมีพระราชดำรัสต่อเหตุการณ์ในคาตาลันว่า การลงประชามติเอกราชของคาตาลันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อีกทั้งเป็นการละเมิดต่อหลักประชาธิปไตยและความเป็นเอกภาพของประเทศ พระบรมราชดำรัสดังกล่าวนั้นทำให้ชาวคาตาลันยิ่งมองว่าราชวงศ์สเปนไม่แยแสต่อข้อเรียกร้องของพวกเขา และยิ่งทำให้มีการต่อต้านราชวงศ์สเปนในแคว้นคาตาลันมากขึ้น Ernest Maragall แกนนำกลุ่มสนับสนุนสาธารณรัฐคาตาลันกล่าวว่า “ที่เราชุมนุมวันนี้ เพราะเราต้องการคาตาลันที่เป็นสาธารณรัฐ เพราะนั่นคือประชาธิปไตยที่แท้จริงของชาวคาตาลัน กษัตริย์และสถาบันกษัตริย์ไม่มีค่าใดๆในสายตาเราอีกแล้ว” ด้านผู้สนับสนุนการประท้วง โดยเฉพาะผู้นำกลุ่มสาธารณรัฐคาตาลันนิยมฝ่ายซ้าย เอร์เนสต์ มารากัลล์…