ระบบกฎหมายระหว่างประเทศ เกราะป้องกันสงคราม

Loading

    ระบบกฎหมายระหว่างประเทศ เกราะป้องกันสงคราม – สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 11 ล้านชีวิต และสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพียง 20 ปี ได้สังหารชีวิตมนุษย์ไประหว่าง 45-65 ล้านคน แถมด้วยระเบิดนิวเคลียร์ขนาดเล็กอีก 2 ลูกที่ทิ้งลงที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบทเรียนให้โลกเรียนรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อสันดานของประเทศมหาอำนาจแบบดั้งเดิมบวกกับอาวุธที่ทำลายล้างมวลมนุษย์อย่างสูงอย่างอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งย่อมหมายความถึงความพินาศฉิบหายอย่างสุดที่จะจินตนาการได้     หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ.1945 โลกได้เรียนรู้บทเรียนราคาแพงว่าการขาดระบบกฎหมายระหว่างประเทศที่เข้มแข็งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความขัดแย้งที่คร่าชีวิตผู้คนนับสิบล้าน การก่อตั้งสหประชาชาติ (UN) และสนธิสัญญาสำคัญ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter) ได้วางรากฐานให้กับระบบกฎหมายระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายป้องกันสงครามและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ   ถึงแม้ว่าระบบนี้จะไม่สมบูรณ์แบบ และหลายครั้งถูกละเมิดโดยมหาอำนาจ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันสามารถรักษาสันติภาพระหว่างมหาอำนาจมาได้กว่า 80 ปีแล้ว โดยเฉพาะการป้องกันสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งหากเกิดขึ้นก็อาจเป็นจุดจบของอารยธรรมมนุษย์   ความเปราะบางของกฎหมายระหว่างประเทศในทางปฏิบัติจะมีลักษณะที่เปราะบาง เพราะไม่มี “ตำรวจโลก” คอยบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศโดยตรง การเคารพหรือไม่เคารพกฎหมายเหล่านี้ขึ้นอยู่กับเจตจำนงของรัฐและแรงกดดันจากประชาคมระหว่างประเทศ บ่อยครั้งที่มหาอำนาจเช่นสหรัฐอเมริกา…

วิกฤตความเชื่อมั่นธนาคารญี่ปุ่น พนักงานขโมยทรัพย์สินในตู้เซฟลูกค้า

Loading

ที่ประเทศญี่ปุ่นขณะนี้เริ่มเกิดกระแสความไม่เชื่อมั่นในสถาบันธนาคาร เมื่อมีการเปิดเผยว่า ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา เกิดเคสพนักงานธนาคารลักลอบขโมยทรัพย์สินในตู้เซฟของลูกค้า 3 เคส รวมมูลค่าความเสียหายหลายพันล้านเยนโดยเมื่อวันที่ 18 ก.พ. ธนาคารมิซูโฮ (Mizuho Bank) หนึ่งในธนาคารที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เมื่อปี 2019 พนักงานธนาคารได้ขโมยของมีค่าของลูกค้าจากตู้เซฟที่สาขาหนึ่งของธนาคาร