เสนอปิดท่าข้ามบริเวณไทยมาเลย์สกัดปัญหาชายแดนใต้

Loading

ที่ประชุมได้หารือในส่วนของภารกิจความมั่นคง โดยได้เน้นยุทธศาสตร์ 3 ข้อ ที่เสนอโดย พล.ท.ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 ทั้งสลายกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานภาครัฐ และแก้ไขปัญหารากเหง้าในพื้นที่ชายแดนใต้นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอเชิงรุก ให้ยกเลิกการใช้ช่องทางผ่านแดนธรรมชาติผิดกฎหมาย หรือ “ท่าข้าม” บริเวณชายแดนไทย-มาเลเซียทั้งหมด

ตรวจพบ ‘ภัยคุกคามบนเว็บ’ ในไทยมากกว่า 28,000 รายการต่อวัน

Loading

    สถิติโดย “แคสเปอร์สกี้” เผยว่า ปี 2024 ประเทศไทยพบภัยคุกคามบนเว็บมากกว่า 28,000 รายการต่อวัน อาชญากรไซเบอร์เปลี่ยนแปลงกลวิธีโจมตีเป็นการโจมตีที่ซับซ้อนมากขึ้น ทั้งยังมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายที่มีมูลค่าสูงอย่างเฉพาะเจาะจง     รายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ประจำปีล่าสุดสำหรับประเทศไทยปี 2024 โดย “แคสเปอร์สกี้” ระบุว่า ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามบนเว็บมากกว่า 10 ล้านรายการ โดยเฉลี่ยแล้วพบภัยคุกคามบนเว็บมากกว่า 28,000 รายการต่อวัน       แคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามบนเว็บที่แตกต่างกันที่กำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้ในประเทศไทยจำนวน 10,267,403 รายการ   โดยเฉลี่ยแล้วพบภัยคุกคามจำนวน 28,130 รายการต่อวัน คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าปี 2023 ถึง 20.55% ซึ่งแคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามโจมตีผู้ใช้ในประเทศไทยจำนวน 12,923,280 รายการ   สรุปโดยรวมแล้วผู้ใช้ในประเทศไทยจำนวน 24.40% ตกเป็นเป้าหมายของภัยคุกคามบนเว็บในปี 2024   แคสเปอร์สกี้พบด้วยว่าในช่วงสามปีที่ผ่านมานั้นตัวเลขภัยคุกคามบนเว็บของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2022 ซึ่งพบภัยคุกคามเว็บต่อผู้ใช้ชาวไทยจำนวน 17,295,702 รายการ    …

ไทยล็อบบี้ดึงทุนด้าน ‘ชิปคอมพิวเตอร์’ ท่ามกลางสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ

Loading

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ของไทยนายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า คณะกรรมการด้านเซมิคอนดักเตอร์แห่งชาติ จะจ้างที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาโรดเเมพของอุตสาหกรรมนี้
ในขณะนี้เขากำลังเตรียมออกเดินสายหานักลงทุนในสหรัฐฯ และญี่ปุ่นเพื่อให้เกิดความสนใจต่อธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทย

ชี้ “เซิร์ฟเวอร์”ในไทยยังเสี่ยงภัยไซเบอร์ถูกโจมตีมากกว่า 5 แสนรายการ

Loading

    แคสเปอร์สกี้เปิดตัวเลขเซิร์ฟเวอร์ไทยถูกละเมิดและใช้โจมตีมากกว่าครึ่งล้านรายการ สวนทางดัชนีความปลอดภัยไซเบอร์   ตามรายงานดัชนีความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก 2024 หรือ GCI (Global Cybersecurity Index) ประเทศไทยเร่งเครื่องขึ้นมาอยู่อันดับที่ 7 จากอันดับที่ 44 เมื่อปี 2020 โดยประเทศไทยได้รับคะแนนดัชนีปีนี้ 99.22 คะแนน ทำให้ไทยเลื่อนขึ้นมาเป็นประเทศกลุ่มระดับ 1 (Tier 1) ซึ่งมีความสามารถเป็นต้นแบบในการปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์   รายงาน GCI 2024 เผยให้เห็นถึงการปรับปรุงที่สำคัญของประเทศต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งครอบคลุมถึงมาตรการทางกฎหมาย ความสามารถทางเทคนิคและกลยุทธ์ ความคิดริเริ่มในการสร้างขีดความสามารถ ความร่วมมือ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ไซเบอร์ที่เกิดขึ้น   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า  คะแนนดัชนีของประเทศไทยนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของไทยในการปรับปรุงความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ประเทศไทยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ระดับชาติ และบริษัทหลักในอุตสาหกรรม แคสเปอร์สกี้ยินดีที่ได้สนับสนุนประเทศไทยในการสร้างความสามารถในการรับมือภัยไซเบอร์ที่สูงขึ้น   อย่างไรก็ดี ประเทศไทยกำลังเผชิญกับเหตุการณ์อันตรายทางไซเบอร์ที่มาจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์อยู่ในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จากรายงานของ…

การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงจากการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์ และผลกระทบต่อสถาบันการเงิน

Loading

  การบริหารความเสี่ยงทางไซเบอร์ต้องเน้นการตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ให้บริการบุคคลที่สามอย่างเคร่งครัด ควรประเมินการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบไบโอเมตริกซ์ตามมาตรฐาน ISO 27001, NIST และการรับรอง SOC 2 Type 2 การใช้เครื่องมือตรวจสอบช่วยในการติดตามกิจกรรมของผู้ให้บริการอย่างต่อเนื่องและตั้งค่าการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอย่างเข้มงวดจะช่วยลดความเสี่ยงในการละเมิดข้อมูล   จากการคาดการณ์ของ Deloitte Center for Financial Services ภายในปี 2570 การฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์จะก่อให้เกิดความสูญเสียมากกว่า 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทคโนโลยีอย่าง Deepfake ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์ที่มีความสมจริงและน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกขโมยจากเว็บมืดหรือสร้างขึ้นใหม่ การพัฒนาของ Generative AI ยังเพิ่มความเสี่ยงจาก Deepfake ให้รุนแรงขึ้น รายงานของ World Economic Forum (WEF) ในปี 2566 ระบุว่าเหตุการณ์ Deepfake ที่เกี่ยวข้องกับฟินเทคเพิ่มขึ้น 700% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคาดว่าในปี 2569 เนื้อหาออนไลน์มากถึง 90% อาจถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีสังเคราะห์   ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย การจัดการกับการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์กลายเป็นประเด็นเร่งด่วน…

มีชาวเกาหลีเหนือลักลอบเดินทางข้ามแดนมาฝั่งใต้เพิ่มขึ้นในปีนี้

Loading

กองทัพเกาหลีใต้แถลงยืนยันในวันนี้ (11 ต.ค.67) ว่าชาวเกาหลีเหนือที่เดินทางลักลอบเดินทางข้ามพรมแดนผ่านทางทะเลตะวันตกเมื่อเดือนกันยายน ขณะนี้อยู่ในเกาหลีใต้ โดยในสัปดาห์นี้ เกาหลีเหนือประกาศว่าจะปิดกั้นพรมแดนทางใต้เป็นการถาวรโดยให้ปิดถนนและทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับทางใต้ทั้งหมด และก่อสร้างแนวป้องกันที่มีความแข็งแกร่ง ซึ่งทำให้มีความเห็นว่า อาจมีเป้าหมายสำคัญคือการป้องกันพลเมืองหลบหนีออกนอกประเทศ