เตือนภัย! “มิจฉาชีพ” หลอกเป็น จนท.ที่ดิน รู้ลึกว่าเพิ่งได้เอกสารจากกรมที่ดิน

Loading

”จ่า” โพสต์เตือนภัย มิจฉาชีพหลอกเป็นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานที่ดิน รู้ลึกถึงขั้นทราบว่าเหยื่อเพิ่งได้เอกสารจากกรมที่ดิน โชคดีเหยื่อไหวตัวทันโทร.สอบถามกับสำนักงานถึงรู้ว่าไม่มีเจ้าหน้าที่โทร.ไปแน่นอน

รักน้องผิดทาง! หนุ่มอินเดียปลอมเป็นตำรวจ หวังช่วยน้องสาวโกงข้อสอบ

Loading

ตำรวจอินเดียจับกุมชายหนุ่มที่นำเครื่องแบบนายตำรวจมาสวมเพื่อปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ โดยหวังจะช่วยน้องสาวโกงระหว่างทำการสอบ ได้จัดการสอบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่นักเรียนทั้งรัฐจะต้องเข้าสอบให้ผ่านเพื่อจะได้จบการศึกษา

แฮ็กเกอร์จากคิวบาร่วมทำสงครามไซเบอร์โจมตียูเครน

Loading

  ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ของยูเครน (CERT-UA) ออกคำเตือนเกี่ยวกับกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ปลอมตัวเป็นสำนักประชาสัมพันธ์ของผู้บัญชาการกองทัพยูเครนในการส่งอีเมลแฝงมัลแวร์ไปยังเหยื่อ   ในอีเมลที่กลุ่มดังกล่าวส่งไปนั้นมีลิงก์ที่เชื่อมไปยังเว็บไซต์ภายนอกที่จะชี้ชวนให้ดาวน์โหลดไฟล์ เนื้อหาในเว็บไซต์นั้นอ้างว่าต้องการให้เหยื่ออัปเดตโปรแกรมอ่าน PDF หากเหยื่อกดปุ่มดาวน์โหลด มัลแวร์ประเภทโทรจันแบบสั่งการระยะไกล (RAT) ชื่อว่า Romcom ก็จะเข้าไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อในทันที   Romcom ถือเป็นมัลแวร์ชนิดใหม่ที่มีใช้ที่กลุ่มแฮ็กเกอร์จากคิวบานำมาใช้ โดย CERT-UA ตั้งชื่อกลุ่มนี้ว่า UAC-0132 (ส่วน Unit 42 ของ Palo Alto Network ขนานนามให้ว่าเป็น Tropical Scorpius ขณะที่ Mandiant ตั้งชื่อให้ว่า UNC2596)   จากการตรวจสอบของ Unit 42 ยังพบด้วยว่าแฮ็กเกอร์กลุ่มนี้ผสมผสานรูปแบบและเครื่องมือการโจมตีที่หลากหลาย ซึ่งยากต่อการป้องัน   คริส เฮาค์ (Chris Hauk) จาก Pixel Privacy บริษัทด้านไซเบอร์ระบุว่าการโจมตีในลักษณะนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หากสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียยังไม่ยุติ กลุ่มแฮ็กเกอร์บางส่วนก็ร่วมโจมตียูเครนด้วยเหตุผลทางการเงิน   Unit…

แฮ็กเกอร์แฝงลิงก์หลอกเสียเงินใน News Feed ของ Microsoft Edge

Loading

  Malwarebytes บริษัทด้านไซเบอร์เผยว่ามีกลุ่มผู้ไม่หวังดีใช้ฟีเจอร์ News Feed ซึ่งใช้สำหรับเผยแพร่ลิงก์ข่าวและโฆษณาของเว็บเบราว์เซอร์ Microsoft Edge ในการแฝงลิงก์โฆษณาปลอมที่พาผู้ใช้งานไปยังเว็บไซต์หลอกลวง   แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้ใช้ Taboola ซึ่งเป็นเครือข่ายโฆษณาในการกระจายลิงก์โฆษณา โฆษณาเหล่านี้แฝงไว้ด้วยเครื่องมือตรวจสอบว่าผู้ใช้งานเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งใจจะหลอกหรือไม่ อาทิ โซนเวลา และระบบตรวจจับบอต หากไม่ได้อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย ผู้ใช้รายนั้นก็จะถูกลิงก์พาไปยังหน้าหลอกที่ไม่มีพิษภัยอะไร   ตัวอย่างหน้าหลอก (ที่มา: Malwarebytes/Bleeping Computer)   แต่หากเป็นเหยื่อที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ลิงก์นั้นพาไปยังหน้า Tech Support (หน้าให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิก) ปลอม และจะมีข้อความปลอมขึ้นมาว่าคอมพิวเตอร์ของเหยื่อถูกล็อก โดยแฮ็กเกอร์จะปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ที่จะมาคอยหลอกให้ซื้อเครื่องมือที่จะช่วยแก้ล็อกได้   สำหรับกรณีนี้ ทาง Microsoft ออกมาระบุว่าได้ร่วมกับผู้ให้บริการโฆษณาในการลบเนื้อหาและบล็อกแฮ็กเกอร์เหล่านี้ออกไปจากระบบเครือข่ายของบริษัทแล้ว     ที่มา Bleeping computer         —————————————————————————————————————— ที่มา :    แบไต๋       …