5 บัญชีโซเชียล ตำรวจเตือน ไม่แชต ไม่รับแอด ไม่โอนเงิน!

Loading

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยประชาชน ไม่แชต ไม่รับแอด ไม่โอนเงิน ผ่านบัญชีโซเชียล 5 รูปแบบ ลดโอกาสเสี่ยงถูกมิจฉาชีพหลอกลวง!

‘ปอท.’ เตือน!! โพสต์ – แชร์ข้อมูล เชิงคุกคามในโลกโซเชียล เรียกทัวร์ลงผู้อื่น ข่มขู่ให้หวาดกลัว ระวังโดนคดีทั้งแพ่ง-อาญา

Loading

    (22 ก.ค. 66) พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (รอง ผบก.ปอท.) ในฐานะโฆษกกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กล่าวว่าในปัจจุบัน การใช้สื่อสังคมออนไลน์แทบจะถือได้ว่าเป็นวิถีชีวิตประจำวันอย่างหนึ่งของคนไทย ซึ่งมักจะใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็น เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รูปภาพ ตลอดจนคลิปวิดีโอต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งอาจมีการด่าทอ หยอกล้อ หรือล้อเลียนผู้อื่น ด้วยความสนุก คึกคะนอง จนอาจเกินเลยสร้างบาดแผลทางจิตใจ หรือสร้างความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียงให้กับบุคคลอื่น ซึ่งในกรณีดังกล่าวมีกฎหมายคุ้มครองสิทธิของผู้อื่นมิให้ถูกละเมิด   กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดยกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) จึงขอเตือนพี่น้องประชาชน เกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการด่าทอ ล้อเลียน กลั่นแกล้ง หรือ ข่มขู่ผู้อื่นทางสื่อสังคมออนไลน์ ที่ผู้กระทำผิดอาจถูกดำเนินคดีตามฐานความผิดที่ได้กระทำ ดังนี้   1.) การโพสต์ใส่ความบุคคลอื่นต่อบุคคลที่สามในประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อาจเข้าข่ายเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท…

ปอท. ชี้แนวโน้มอาชญากรรมไซเบอร์ ปี 65 มุ่งการแฮกข้อมูล ฉ้อโกงออนไลน์

Loading

  รอง ผบก.ปอท.ชี้แนวโน้มอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในปี 2565 คือการแฮกข้อมูล และการฉ้อโกงออนไลน์ ที่คนร้ายอาจนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการหลอกลวง โดย จนท.ต้องพัฒนาทักษะ ความรู้ เพื่อสืบสวนจับกุมคนทำผิด เมื่อวันที่ 3 ม.ค.65 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง.ผบก.ปอท. กล่าวถึงแนวโน้มอาชญากรรมทางเทคโนโลยีใน ปี 2565 ว่า เมื่อพิจารณาข้อมูลจากสถิติการเข้าแจ้งความร้องทุกข์ ศูนย์บริการประชาชน บก.ปอท. ปี พ.ศ.2561-2564 พบว่า รูปแบบของอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือใช้เทคโนโลยีในการกระทำความผิดที่มีประชาชนมาแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ยังคงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยในปี 2564 มีผู้มาแจ้งความร้องทุกข์จำนวน 698 ราย สาเหตุที่การด่าทอ ให้ร้ายกันในสื่อสังคมออนไลน์ ครองความเป็นอันดับ 1 มาตลอดหลายปี อาจเนื่องมาจาก ประชาชนเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น การโพสต์ การแสดงความคิดเห็น การส่งต่อข้อมูลที่ทำให้ผู้อื่นเสียหายจึงมีมากขึ้น แต่ที่น่าสนใจจากสถิติดังกล่าวพบว่า มีผู้ได้รับความเสียหายจากการถูกแฮก เพื่อปรับเปลี่ยน ขโมย ทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์ พบเป็นอันดับที่ 2 โดยมีผู้มาแจ้งความร้องทุกข์จำนวน 585 ราย…

ปอท.ซิวแฮกเกอร์ ดูดข้อมูล-ขายเว็บมืด ลูกค้าบริษัท 6 แสนชื่อ

Loading

    ตำรวจ บก.ปอท. รวบแฮกเกอร์หนุ่มแฮ็กรายชื่อลูกค้าบริษัทประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหารออกเร่ขายทางดาร์กเว็บ 6 แสนรายชื่อ ในราคากว่า 3 แสนบาท อ้างหาเงินเล่นพนันออนไลน์ หลังบริษัทผู้เสียหายตรวจพบประกาศขายรายชื่อดังกล่าวบนเว็บไซต์ รวบแฮกเกอร์หนุ่มแฮ็กรายชื่อลูกค้าบริษัทใหญ่ออกขาย โดยเมื่อวันที่ 7 ต.ค. พล.ต.ต.ศารุติ แขวงโสภา ผบก.ปอท. พ.ต.อ.วัชรพันธ์ ศิริพากย์ ผกก.1 บก.ปอท. พ.ต.ต.ชัยยุทธ เชียงสอน สว.กก.1 บก.ปอท. นำกำลังจับกุมนายวรพล ฤทธิเดช อายุ 27 ปี ฐานเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน และกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ หลังนำหมายค้นศาลจังหวัดสมุทรปราการที่ 561/2564 ลง วันที่ 5 ต.ค. เข้าตรวจค้นห้องเลขที่ 78/1121 ชั้น 32 อาคารเคนชิงตัน ถนนเทพารักษ์ ต.เทพารักษ์ อ.เมืองสมุทรปราการ ตรวจยึดสิ่งของที่น่าเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ได้แก่ โน้ตบุ๊ก…

เปิดหลักเกณฑ์ตำรวจ “ล่าโจรโลกไซเบอร์”

Loading

  การฉ้อโกงผ่านโลกออนไลน์ที่เป็นข่าวโด่งดังหลายคดี ทำให้อาจสงสัยว่า ทำไมมีแค่คดีใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ที่จับกุมตัวคนร้ายได้ แต่กับคดีการฉ้อโกง-หลอกลวง หรือแม้แต่หมิ่นประมาททางออนไลน์ คดีความกลับไม่คืบหน้า เรามาหาคำตอบจากหลักเกณฑ์การล่าโจรไซเบอร์กัน 28 กันยายน 2564 พันตำรวจเอก ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ในฐานะรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ บอกว่า ขณะนี้ ทาง ปอท.ได้รับมอบหมายหน้างานหลักเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนความผิดที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง แต่ถ้าเป็นคดีฉ้อโกง หรืออาชญากรรมไซเบอร์ เช่น การแฮกข้อมูล หรือการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบ ก็จะเป็นหน้าที่ของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนทางอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บช.สอท.ซึ่งมีคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ได้ประกาศออกมาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่ผ่านมา ส่วนคดีหมิ่นประมาททางออนไลน์ ก็จะเป็นหน้าที่ของโรงพักท้องที่ ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เป็นหน้าที่ของ ปอท. ซึ่งทางสถานีตำรวจท้องที่อาจจะขอความร่วมมือในการให้ ปอท.เข้าไปช่วยเหลือ หากกรณีที่คดีมีความซับซ้อน แต่จริงๆแล้ว โรงพักท้องที่ก็สามารถสืบสวนคดีเหล่านี้ได้เอง หากย้อนไปดูคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 287/2564 จะพบว่า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ระบุว่า…