เมื่อ AI โคลน ‘เสียงมนุษย์’ เกือบ 100% นักพากย์เสี่ยงตกงาน-มิจฉาชีพใช้เรียกค่าไถ่

Loading

    เมื่อ AI สามารถเลียนแบบตัวตนของมนุษย์ อย่าง “เสียงพูด” ได้สำเร็จ ในระดับที่มนุษย์ไม่สามารถแยกแยะได้ สิ่งนี้จะสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างต่อมนุษย์มากน้อยเพียงใด และมีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง   Key Points   -บริษัทจ้างมนุษย์พากย์เสียง 30 วินาที ราคา 2,000 ดอลลาร์หรือราว 70,000 บาท ในขณะที่เสียงพากย์จาก AI ราคาเพียงแค่ 27 ดอลลาร์หรือราว 1,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น   -นักพากย์เสียงหลายคนเซ็นสัญญาให้บริษัทลูกค้าสามารถใช้เสียงตัวเองได้ไม่จำกัด รวมถึงขายให้ฝ่ายที่สาม ซึ่งอาจใช้เสียงของมนุษย์ในการฝึก AI   -หากเสียงคนในครอบครัวทางโทรศัพท์ ขอให้เราโอนเงินผ่านช่องทางที่ไม่ใช่ธนาคาร ไม่สามารถตรวจสอบเส้นทางการเงินได้ ก็ขอให้ระวังว่า อาจเป็นมิจฉาชีพ   ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ในปัจจุบันกำลังเป็นดาบสองคม ด้านหนึ่งช่วยแบ่งเบาภาระมนุษย์ ประมวลข้อมูลมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็กำลังกลายเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์ เมื่อ AI เข้าสู่จุดที่เรียกว่า “เลียนแบบเสียงพูดมนุษย์”…

Sberbank ของรัสเซียเปิดตัว GigaChat เพื่อแข่งกับ ChatGPT

Loading

  Sberbank ธนาคารรายใหญ่ของรัสเซียได้ประกาศเปิดตัว GigaChat แชตบอต AI ของตนเองที่มีเป้าหมายเพื่อแข่งขันกับ ChatGPT ของ Microsoft แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบ   การมาของ ChatGPT โดย OpenAI ได้กระตุ้นการแข่งขันในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี AI ส่งผลให้หลาย ๆ บริษัทพัฒนา AI ของตนเองขึ้น ในส่วนของ Sberbank เป้าหมายต้องการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ Sberbank กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้ GigaChat แตกต่างจากคู่แข่ง คือ ความสามารถที่เหนือกว่าในการสื่อสารอย่างชาญฉลาดในภาษารัสเซียมากกว่าโครงข่ายต่างประเทศอื่น ๆ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของตนใช้ภาษารัสเซียเป็นหลัก โดยต้องการให้ GigaChat ช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมแล้วเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของผู้คนและดำเนินธุรกิจในรัสเซีย โดยหวังพัฒนาสู่การแข่งขันในตลาดแชตบอตในไม่ช้า           ที่มา Reuters           —————————————————————————————————————————————— ที่มา :   …

ถึงเวลา…กำหนดมาตรฐาน AI ไทย แบบไหน ? ใช้งานได้ประโยชน์ !!

Loading

    เทคโนโลยี “ปัญญาประดิษฐ์” (Artificial intelligence) หรือ เอไอ (AI) ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมา ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน   เทคโนโลยี “ปัญญาประดิษฐ์” (Artificial intelligence) หรือ เอไอ (AI) ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมา ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และได้ถูกกล่าวถึงและถูกจับตาอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา   โเดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาชอง “ChatGPT” ที่เป็น “กระแสร้อนแรง” จนสั่นสะเทือนวงการ เอไอ เพราะเป็นแชตบอตสุดล้ำ สามารถสร้างข้อความตอบโต้กับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ถามอะไรตอบได้หมด!! จนมีความใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้นทุกที??   ต่อไป “ChatGPT” จะกลายเป็น Digital Disruption โลกใบนี้หรือไม่ เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายกำลังจับตามอง!! ว่าจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนของหลายอุตสาหกรรม!?!   การที่เอไอ มีการใช้งานแพร่หลายมาขึ้น ให้หลายประเทศทั่วโลก เร่งพัฒนามาตรฐาน และหลักธรรมาภิบาล ปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance) เพื่อมาใช้เป็นกรอบในการประยุกต์ใช้ AI เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับของสากล   แล้วประเทศไทยมีความพร้อมแค่ไหน? เมื่อทุกวันนี้ ก็เริ่มมีการนำเอไอมาใช้อย่างแพร่หลายเช่นกัน ซึ่งทาง ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Clinic หรือ AIGC)  สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์…

ส่องนโยบายใช้ ‘ChatGPT’ ช่วยทำงานในองค์กร

Loading

    ผมมีโอกาสได้เห็นเอกสารนโยบายการใช้ Generative AI อย่าง ChatGPT ของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในต่างประเทศรายหนึ่งระบุว่า ห้ามพนักงานใช้โดยเด็ดขาด   โดยเฉพาะในการทำเอกสารหรือจดหมายเพื่อติดต่อกับลูกค้า หรือแม้แต่จะช่วยเขียนโค้ดในการพัฒนาโปรแกรม ทั้งนี้บริษัทอนุญาตให้ใช้เฉพาะเพื่อการทดลองหรือการศึกษา และการใช้งานส่วนตัวเท่านั้น   จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร เพราะในปัจจุบันหลายๆ บริษัทในต่างประเทศเริ่มที่จะออกนโยบายการใช้ Generative AI ในการช่วยทำงานของพนักงานหรือที่เรียกว่านโยบาย Generative AI Assistance (GAIA) และก็มีหลายบริษัทที่ประกาศห้ามการใช้งาน   ดังเช่น สถาบันการเงินต่างๆ อย่าง JPMorgan Chase,Bank of America, Goldman Sachs, Citigroup, Deutsche Bank และ Wells Fargo โดยเหตุผลหลักเป็นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอ่อนไหวของลูกค้า   ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายบริษัทในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น Amazon, Verizon, และ Accenture ที่ออกนโยบายจำกัดการใช้งาน Generative AI ของพนักงานและให้ระมัดระวังการนำข้อมูลอ่อนไหวของบริษัทเข้าไปสู่ระบบ…

เดอะการ์เดียนเผยกล้องเสริม AI ของสหรัฐเป็นอันตรายกับผู้อพยพข้ามพรมแดน

Loading

  หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนรายงานว่า กล้องถ่ายภาพที่เสริมสมรรถนะด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ซึ่งติดตั้งในหอสังเกตการณ์บริเวณพรมแดนทางตอนใต้ของสหรัฐนั้น สามารถตรวจจับวัตถุต้องสงสัยที่อยู่ห่างออกไปหลายไมล์ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจผลักดันให้กลุ่มผู้อพยพต้องเดินทางลึกเข้าไปในทะเลทรายซึ่งเป็นพื้นที่อันตราย   เดอะการ์เดียนรายงานโดยอ้างข้อมูลจากอิเล็กทรอนิก ฟรอนเทียร์ ฟาวเดชัน (Electronic Frontier Foundation) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งเน้นความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัล เสรีภาพในการพูด และนวัตกรรม ซึ่งระบุว่า แผนที่ฉบับใหม่แสดงให้เห็นว่ามีหอสังเกตการณ์จำนวนมากกว่า 300 จุดตั้งอยู่ตามแนวพรมแดนระหว่างสหรัฐและเม็กซิโก และยังมีหอสังเกตการณ์ที่มีแผนจะสร้างเพิ่มอีก 50 จุด   หอสังเกตการณ์เหล่านี้พัฒนาโดยบริษัทแอนดูริล (Anduril) ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านกลาโหม โดยหอสังเกตการณ์ปฏิบัติงานทั้งกลางวันและกลางคืน และติดตั้งกล้องที่เสริมสมรรถนะด้วย AI ซึ่งสามารถตรวจจับวัตถุต้องสงสัย เช่น คนหรือยานพาหนะ นอกจากนี้ กล้องยังสามารถหมุนได้ 360 องศา และสามารถตรวจจับคนที่อยู่ห่างออกไปไกลถึง 1.7 ไมล์ หรือประมาณ 2.7 กิโลเมตร   กลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาแสดงความกังวลว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวที่ดำเนินการโดยรัฐบาลสหรัฐหลายสมัยนั้น ได้ผลักดันให้มีการอพยพผ่านทะเลทรายและภูเขา ซึ่งส่งผลให้ผู้อพยพเสียชีวิตหรือสูญหายจำนวนมาก   นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลสหรัฐยังคงควบคุมการไหลเข้าของผู้อพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อพยพผ่านพรมแดนกั้นระหว่างสหรัฐและเม็กซิโก…

เป็นเรื่อง! พนักงาน Samsung Semiconductor เผลอทำ Source Code และข้อมูลสำคัญของบริษัทรั่วไหลใน ChatGPT

Loading

    เว็บไซต์ TechRadar รายงานว่า พนักงานในแผนกเซมิคอนดักเตอร์ของ Samsung ได้ก่อความผิดพลาดครั้งใหญ่ด้วยการปล่อยให้ข้อมูลความลับสำคัญของบริษัท ได้แก่ Source Code สำหรับโปรแกรมใหม่, รายงานการประชุมภายในของบริษัท และข้อมูลเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ รั่วไหลโดยบังเอิญ ระหว่างการใช้งานโปรแกรมแชตบอตปัญญาประดิษฐ์ชื่อดัง ChatGPT   รายงานข่าวดังกล่าว ระบุว่า พนักงานของ Samsung ได้กรอกคำสั่งให้ ChatGPT ทำการทดสอบเพื่อตรวจจับข้อบกพร่องในชิป ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นความลับสูง เนื่องจากต้องการประหยัดเวลาและงบประมาณในการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการทดสอบและตรวจสอบโปรเซสเซอร์ของบริษัท   นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งกรณีที่พนักงานใช้งาน ChatGPT เพื่อแปลงบันทึกการประชุม ซึ่งบริษัทไม่ต้องการให้บุคคลภายนอกเห็นเป็นพรีเซนเทชัน   ทันทีที่รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น Samsung ได้สั่งลงโทษพนักงานที่สร้างความผิดพลาด พร้อมออกประกาศคำเตือนถึงพนักงานที่เหลือของบริษัทในการใช้ ChatGPT และการรักษาความลับของบริษัทในทันที   ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ข้อมูลที่รั่วไหลไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ OpenAI ผ่าน ChatGPT จะไม่สามารถกู้หรือลบทิ้งได้ ซึ่งปัญหานี้อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของ Samsung   เว็บไซต์ The Economist รายงานว่า เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น…