OpenAI ลบนโยบายห้ามใช้เครื่องมือเอไอในการทหาร หลังร่วมมือก.กลาโหม

Loading

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า โอเพนเอไอ (OpenAI) ได้เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการห้ามใช้แชตจีพีที (ChatGPT) และเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) อื่น ๆ เพื่อจุดประสงค์ทางทหาร ก่อนหน้านี้นโยบายของโอเพนเอไอไม่อนุญาตให้ใช้โมเดลเอไอในงานทางทหาร และการทำสงคราม

‘ทรู’ นำทัพ ‘รัฐ-เอกชน’ ถกประเด็นใหญ่ ‘AI’ จริยธรรม และ ‘การกำกับดูแล’

Loading

  ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI อาจเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก เป็นพลังสำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญเติบโต แก้ไขปัญหาสาธารณสุข ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดช่องว่างทางการศึกษา ฯลฯ ขณะเดียวกัน การพัฒนาของ AI อย่างไม่หยุดยั้งก็นำมาซึ่ง “ความท้าทายใหม่”   ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อาจเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก เป็นพลังสำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญเติบโต แก้ไขปัญหาสาธารณสุข ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดช่องว่างทางการศึกษา ฯลฯ ขณะเดียวกัน การพัฒนาของ AI อย่างไม่หยุดยั้งก็นำมาซึ่ง “ความท้าทายใหม่” ไม่ว่าประเด็นด้านความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ทักษะ และช่องว่างในขีดความสามารถทางการแข่งขัน   และเพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนา AI ที่เกิดขึ้นเป็นไปอย่างถูกต้อง ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงได้จัดงานสัมมนา AI Gets Good โดยมีตัวแทนจากภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคธุรกิจ ร่วมอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “ทำอย่างไรให้มั่นใจว่า AI จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมไทย?”     กำกับดูแล = อุปสรรคหรือส่งเสริม?…

กฎหมายกำกับ AI ฉบับแรกของโลก จากสหภาพยุโรป ใกล้ความจริงขึ้นอีกก้าว

Loading

  หลังจากที่ Chat GPT ได้เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายปี 2565 AI (Artificial intelligence) หรือ Generative AI ก็เป็นคำที่ทุกท่านได้ยินผ่านหูและเห็นผ่านตากันบ่อยขึ้นมาก   ทางสหภาพยุโรปได้เล็งเห็นความสำคัญของ AI และผลกระทบในวงกว้างของการใช้ AI มาซักระยะแล้ว และประกาศร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI มาตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวพึ่งได้รับความเห็นชอบจากตัวแทนเจรจาของสภายุโรปและประธานของคณะมนตรียุโรปโดยเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566   ร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI นี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขปรับปรุงในรายละเอียดและถูกคาดหมายว่าจะเป็นกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI ที่มีความครอบคลุมฉบับแรกของโลก   หลักการสำคัญของร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI ดังกล่าวคือ การกำหนดให้มีการแยกประเภทการใช้งาน AI ตามระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป และกำหนดระดับความเข้มข้นของการกำกับแตกต่างกันไปตามระดับความเสี่ยง   (1) การใช้ AI ที่มีความเสี่ยงสูงระดับที่ยอมรับไม่ได้ (Unacceptable Risk)   การใช้ AI ที่มีความเสี่ยงสูงระดับที่ยอมรับไม่ได้ หมายถึง การใช้ AI…

นักวิจัยพบว่าพื้นผิวของลิ้นอาจระบุตัวตนของเราได้ผ่านการทดสอบด้วย AI

Loading

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ และมหาวิทยาลัยลีดส์ได้ร่วมกันสร้างปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในการอ่านภาพ 3 มิติของลิ้นมนุษย์เพื่อระบุลักษณะของมนุษย์แต่ละคน ซึ่งลิ้นของคนเราจะมีปุ่มลิ้น (Papillae) ขนาดเล็กจำนวนหลายพันปุ่มที่ช่วยในการลิ้มรส การสัมผัส การพูด และการกลืน

ชวนคิด เมื่อ AI กำลังส่งผลกับพฤติกรรมและความคิดของเรา โดยไม่รู้ตัว จริงไหม ?

Loading

  ชวนคิด เมื่อปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังส่งผลกับพฤติกรรมและความคิดของเรา พร้อมกับการใช้ Data Science โดยไม่รู้ตัว จริงไหม ?   ดร.เจษฎา กาญจนะ นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช. ชวนคิดย้อนเวลาไปประมาณกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อหนึ่งสัปดาห์ของเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่วันที่ 11 ถึงวันที่ 18 ผู้ใช้งาน Facebook จำนวน 689,003 คน (หรือประมาณ 1 ใน 2,500 คนของผู้ใช้งานขณะนั้น) ถูกสุ่มให้ใช้อัลกอริทึมที่ถูกปรับเปลี่ยนสำหรับคัดเลือกให้เห็น News Feed หรือข้อความของเพื่อนแค่บางแบบเท่านั้น   ผู้ใช้กลุ่มหนึ่งเห็นข่าวดี หรือข้อความบวกเยอะกว่าข้อความเชิงลบ ในขณะที่ผู้ใช้อีกกลุ่ม เห็นข่าวร้ายหรือข้อความลบเยอะกว่า จุดประสงค์ของการทดลองคือ การศึกษาการแพร่กระจายทางอารมณ์ (emotional contagion) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook และทีมวิจัยต้องการดูว่า อารมณ์สามารถส่งต่อระหว่างคนเมื่อเห็นเฉพาะข้อความตามตัวอักษร โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพได้หรือไม่…

Nightshade อุปกรณ์ใหม่ของศิลปินป้องกัน AI นำภาพไปใช้งาน

Loading

  ความก้าวหน้าของ AI นำไปสู่การเกิดข้อถกเถียงโต้แย้งในหลายด้าน โดยเฉพาะในกลุ่มศิลปินที่รู้สึกว่าพวกเขาถูกละเมิดลิขสิทธิ์ จากการที่ภาพของตนถูกนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต นำไปสู่การคิดค้น Nightshade ระบบป้องกันไม่ให้เอไอนำภาพไปใช้งาน   ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ สร้างแนวโน้มความเป็นไปได้ในการพัฒนาอันไร้ขีดจำกัด ความสะดวกสบายในการใช้งานไปจนขีดความสามารถเป็นสิ่งที่ผู้คนต่างยอมรับ แต่ขณะเดียวกันนี่ก็เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงในหลายด้าน   หนึ่งในกลุ่มที่เกิดข้อถกเถียงมากที่สุดคือ กลุ่มศิลปิน โดยเฉพาะเอไอที่สามารถสร้างภาพขึ้นมาได้โดยอาศัยเพียงการป้อนคำสั่งตัวอักษร เสียง หรือแม้แต่เสียงดนตรี แต่ด้วยความคลุมเครือในด้านข้อมูลที่นำไปใช้งานตลอดจนลิขสิทธิ์ ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจจนมีการฟ้องร้องตามกฎหมาย   นำไปสู่การคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการรับมือกับการสร้างภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์โดยเฉพาะ     Nightshade และ Glaze ระบบป้องกันเอไอนำภาพไปใช้งาน   ผลงานนี้เป็นของทีมวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology(MIT) กับการคิดค้นระบบป้องกันชนิดใหม่ขึ้นมาเพื่อรับมือเอไอ โดยจะทำการเติมส่วนประกอบขนาดเล็กเพื่อทำให้ภาพเกิดการบิดเบือน ป้องกันไม่ให้เอไอนำภาพดังกล่าวไปใช้เทรนหรือเป็นต้นแบบในการผลิตภาพใหม่ต่อไป   เอไอกับศิลปะยังคงเป็นประเด็นร้อนแรงด้วยความคลุมเครือและช่องโหว่ของกฎหมาย ศิลปินจำนวนมากต่างรู้สึกว่าตัวเองถูกเอาเปรียบ เมื่อผลงานพวกเขาถูกใช้เป็นฐานข้อมูลสร้างภาพขึ้นมาใหม่ นำไปสู่การฟ้องร้องในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ต่อเอไอเชิงศิลปะอย่าง DALL-E, Midjourney และ Stable Diffusion   ปัจจุบันการฟ้องร้องยังคงไม่ยุติแม้มีการประกาศว่าภาพจากเอไอไม่มีลิขสิทธิ์เพื่อป้องกันปัญหา แต่ข้อถกเถียงนี้เองนำไปสู่แนวคิดในการพัฒนาแนวทางป้องกัน…