การทูตกับความท้าทายในปี 2565

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ ****************** ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ใด เกิดขึ้นที่ใดในโลก ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศไทยไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อม ไม่มากก็น้อย ดังนั้น รัฐบาลต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา เพราะอาจส่งผลกระทบทางบวกหรือลบต่อผลประโยชน์ของชาติ เวลานี้ จุดร้อนแห่งหนึ่งของโลกอยู่ที่สงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งอยู่ในยุโรปตะวันออก ห่างไกลจากไทยหลายพันไมล์ แต่โลกเวลานี้เป็นโลกาภิวัฒน์ไปแล้ว และไทยก็เข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์ ดังนั้น จึงต้องเตรียมพร้อมรับมือตลอดเวลา เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประชุมและมีมติประณามรัสเซีย ไทยก็ต้องตัดสินใจว่าจะเห็นด้วยกับมตินั้น หรือคัดค้าน หรืองดออกเสียง โดยคำนึงถึงประโยชน์ระยะสั้นและระยะยาวของประเทศเป็นสำคัญ แน่นอน การตัดสินใจย่อมไม่ถูกใจคนไทยทุกคน เพราะบางคนเชียร์รัสเซีย ไม่ต้องการให้ประณามรัสเซีย บางคนเห็นใจยูเครน ต้องการให้ประณามรัสเซีย บางคนก็บอกว่า เรื่องนี้ไกลเมืองไทย และไม่เกี่ยวกับไทยโดยตรง ดังนั้น ไทยควรงดออกเสียง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งดีที่สุด มีเสียงวิจารณ์ต่อมาว่า ทำไมเราไปประณามรัสเซีย ทำไมไม่งดออกเสียง เพราะรัสเซียเป็นมิตรประเทศของไทย ฯลฯ ซึ่งทางการไทยได้ชี้แจงแล้วว่า ให้ไปดูมติของไทยชนิดคำต่อคำ ไม่มีประโยคใดเลยที่เราประณามรัสเซีย เพียงแต่ไทยได้แสดงจุดยืนในหลักการที่ประเทศหนึ่งไม่ควรรุกรานอีกประเทศหนึ่งเท่านั้น เวลานี้ สหรัฐฯ ได้กลับฟื้นอิทธิพลของตนในเอเชียเพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาค หลังจากทิ้งเอเชียไปนานเพราะมัววุ่นอยู่กับการจัดการกลุ่มก่อการร้าย อัล ไกดา และไอสิส ในตะวันออกกลาง พอหันกลับมาอีกที จีนเติบใหญ่อย่างแข็งแรงทั้งด้านเศรษฐกิจและการทหาร ชนิดหายใจรดต้นคออเมริกัน…

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าต้อง ‘เวิร์คฟรอมโฮม’ ในปี 2565

Loading

  แฮกเกอร์จะใช้เทคนิค Social Engineering มาโจมตี การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงไม่จบลง แม้ว่าจะเข้าสู่ปี 2565 แล้วก็ตาม เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ขอความร่วมมือให้ประชาชนทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) ดังนั้นบทความนี้จะเป็นการคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรหากในปีนี้พนักงานยังต้องเวิร์คฟรอมโฮมกันต่อไปครับ เมื่อพนักงานทำงานจากระยะไกล สิ่งแรกที่ทีมไอทีและทีมซิเคียวริตี้ต้องเผชิญคือ ความท้าทายที่เพิ่มมากขึ้น เพราะแฮกเกอร์จะใช้เทคนิค Social Engineering มาโจมตีพนักงานและผู้บริหารที่ทำงานจากที่บ้าน เพื่อพยายามแทรกซึมเข้าไปในเครือข่ายขององค์กร ทำให้องค์กรต้องเร่งสรรหาพนักงานใหม่ที่มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยี ตลอดจนต้องรักษาพนักงานที่มีความสามารถทางด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ไว้อย่าให้หลุดมือ มีความเป็นไปได้ที่องค์กรต่างๆ จะหันไปพึ่งพาบริการจากบริษัทภายนอก (Outsource) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือในบางองค์กรอาจหันไปใช้ระบบอัตโนมัติที่สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร เพราะแม้ว่าภาคธุรกิจจะประสบปัญหาความขาดแคลนนี้มานาน แต่ก็ยังไม่ให้ความสำคัญกับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่และนักศึกษา จนทำให้พวกเขาไม่สามารถเรียนรู้ หรือเก็บประสบการณ์จนเกิดเป็นความเชี่ยวชาญได้ ยิ่งไปกว่านั้น องค์กรยังต้องเคร่งครัดในการรักษากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล ซึ่งนั่นรวมไปถึงข้อมูลที่อยู่ในแชทที่มักจะมีข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงาน และไฟล์ต่างๆ ที่ถูกแลกเปลี่ยนไปมาอยู่จำนวนมาก โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มีพนักงานที่ทำงานจากที่บ้านเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ปฏิบัติตามแนวทางการรักษาความปลอดภัยขององค์กรอย่างเคร่งครัด  ขณะที่พนักงานที่ทำงานจากที่บ้านจะมีอุปกรณ์โดยเฉลี่ย 8 เครื่อง ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายในบ้านของพวกเขาที่ไม่ได้มีโซลูชั่นด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ที่ดีเท่าเครือข่ายขององค์กร ทำให้เกิดความเสี่ยงที่แฮกเกอร์จะใช้ประโยชน์จากโอกาสเหล่านั้นมาเข้าถึงระบบเครือข่ายขององค์กรผ่านระบบเครือข่ายในบ้านของพนักงาน โดยความผิดพลาดของพนักงานเพียงคนเดียวอาจทำให้แฮกเกอร์เข้าถึงฐานข้อมูลและระบบสำคัญขององค์กรจนก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาลได้ การเวิร์คฟรอมโฮมเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับธุรกิจจำนวนมากครับ แม้ว่าอุตสาหกรรมและองค์กรบางแห่งจะตอบสนองอย่างรวดเร็วเพื่อรักษาความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจ แต่รูปแบบของการคุกคามก็กลายเป็นสิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นจนองค์กรไล่ตามแทบไม่ทัน…

กฎหมายในปี 2565 เทรนด์และความท้าทาย

Loading

  ฉบับส่งท้ายปีเก่านี้ ผู้เขียนขอกล่าวถึงเทรนด์กฎหมายในปี 2565 โดยแบ่งเป็น 5 หัวข้อ ครอบคลุมทั้งเรื่องของ ธุรกรรมดิจิทัล สินทรัพย์ดิจิทัล กฎหมายคุ้มครองข้อมูล การปฏิบัติงานราชการอิเล็กทรอนิกส์ และ COP26 1.เมื่อธุรกรรมดิจิทัลกำลังเข้าทดแทนธุรกรรมในแบบเดิม ผู้เขียนเชื่อว่า ในปีหน้าและปีต่อๆ ไป รูปแบบและการใช้งานของสินทรัพย์ดิจิทัล (คริปโทและโทเคนดิจิทัล) จะมีความซับซ้อน หลากหลาย และมีโอกาสเข้าทดแทนหลายบริการที่เคยอยู่ภายใต้สถาบันการเงินหรือธุรกรรมที่เคยทำในแบบเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง NFT ที่สภาพถูกสร้างมาใช้สำหรับแทนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นงานศิลป งานเพลง ของสะสม หรือแม้แต่พระเครื่อง ดังนั้น การทำ Tokenization ในรูปแบบ NFT จึงเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในสร้างนิติกรรมที่หลากหลายในทางกฎหมาย เช่น ซื้อ-ขาย/แลกเปลี่ยน/ครอบครองทรัพย์สิน และการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งผู้เขียนคาดว่า เราจะได้เห็นการพัฒนาของ NFT ที่ยึดโยงกับ Traditional assets มากขึ้นในอนาคต สิ่งที่น่าติดตามในมุมกฎหมายและการจัดทำนโยบาย คือ กรณีข้อพิพาทที่เกิดจากการทำนิติสัมพันธ์ผ่านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือช่องทางออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทย ยังไม่มีแนวคำพิพากษาที่ตีความเกี่ยวกับ Blockchain และ Smart…

คาดการณ์ด้านภัยไซเบอร์ ปี 2565

Loading

  คาดการณ์ด้านภัยไซเบอร์ ปี 2565 ว่าจะไปในทิศทางใด เพราะภัยไซเบอร์ใกล้ตัวและมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นมากขึ้นสร้างความเสียหายต่อผู้ใช้คอม ผู้ใช้อุปกรณ์ไอที ซึ่งส่งผลกระทบทั้งในครอบครัวและองค์กรได้ โดย ปี 2564 ที่ผ่านมา เป็นปีที่องค์กรจำนวนมากต่างเร่งเครื่องด้านนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล เนื่องมาจากโรคระบาดที่ส่งผลทั่วโลก และนั่นก็ทำให้ผู้โจมตีทางไซเบอร์อาศัยวิธีการที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ยึดโครงสร้างระบบเป็นตัวประกันและคุกคามองค์กรจำนวนมาก เพื่อเป็นการป้องกันและเตรียมรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น องค์กรจึงควรระแวดระวังแนวโน้มภัยไซเบอร์ปี 2565 โดยจัดเตรียมโซลูชันที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คาดการณ์ด้านภัยไซเบอร์ ปี 2565 พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ บริษัทด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดเผยการคาดการณ์แนวโน้มด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่จะส่งผลต่อโลกดิจิทัลในปี 2565 ดังนี้ 1.ความรุ่งเรืองของบิตคอยน์ อาชญากรไซเบอร์กำลังมั่งคั่งเพิ่มขึ้นทุกวัน ตลอดปี 2564 ที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องพบเจอกับการโจมตีจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่เพิ่มมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยในรายงานภัยคุกคามจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ของ Unit 42 เปิดเผยว่าค่าไถ่โดยเฉลี่ยที่แต่ละองค์กรต้องจ่ายในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 อยู่ที่ราว 570,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 18.8 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 82% บ่งชี้ว่าอาชญากรไซเบอร์ยังคงสร้างผลกำไรและถือเป็นภัยคุกคามไซเบอร์ที่สำคัญ เป็นที่ทราบกันดีว่าคริปโทเคอร์เรนซีหรือเงินตราเข้ารหัสลับช่วยกระตุ้นกิจการกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ด้วยมูลค่าของคริปโทฯ ที่สูงขึ้นและการจ่ายค่าไถ่ที่ไม่สามารถติดตามตัวได้ ทำให้อาชญากรไซเบอร์มีเงินทุนและทรัพยากรมากยิ่งขึ้นเพื่อใช้โจมตีโครงสร้างระบบที่สำคัญได้ในระดับที่ใหญ่ขึ้น ไม่เพียงแค่ทำให้เกิดความเสียหายทางการเงินในภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ยังทำลายระบบและบริการแก่สาธารณชนในวงกว้างอีกด้วย…