กสทช.-สกมช. ลุยปัดฝุ่นศูนย์ USO NET สู่แหล่งการเรียนรู้ป้องภัยไซเบอร์

Loading

  สำนักงาน กสทช.-สกมช.หนุนมาตรการขจัดภัยไซเบอร์ชูศูนย์ USO NET เสริมสกิลให้ความรู้ประชาชน-นักเรียนในพื้นที่ห่างไกล เสริมเกราะป้องกันไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (22 เม.ย.) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ยกระดับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ และให้ความรู้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อเป็นการยกระดับทักษะทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ   นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. มีความตั้งใจในการผลักดันบริการโทรคมนาคมที่ครอบคลุมทั่วถึงในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีศักยภาพการแข่งขันเชิงพาณิชย์ต่ำหรือ พื้นที่ชายขอบและพื้นที่ห่างไกล เพื่อเป็นการลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมให้กับประชาชนทุกคน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และใช้เทคโนโลยีดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และเท่าทันภัยจากอาชญากรรมทางไซเบอร์   นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มีความรู้ในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ   นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า…

เผย 14 ประเภทคดีหลอกลวงออนไลน์ ที่คนไทยเป็นเหยื่อมากสุด!

Loading

AIS ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ “ตำรวจไซเบอร์” ร่วมเปิดโปง 12 คดีดังที่เป็นภัยไซเบอร์ ผ่านละครคุณธรรม 12 เรื่อง โดยงานนี้ ได้รับเกียรติจาก พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รองผู้บัญชาการฯ รักษาราชการแทน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้มาเผยรายละเอียด คดีออนไลน์ที่คนไทย โดนมากที่สุด ถึง 14 ประเภทด้วยกัน

รักษาความปลอดภัยอย่าวางใจ แฮ็กเกอร์ก็ชอบวันหยุด

Loading

  เมื่อถึงวันหยุดยาวต่อเนื่องหลายวัน มักเป็นช่วงเวลาที่สร้างรอยยิ้มให้กับคนทำงาน เพราะจะได้พักผ่อนและวางภาระหน้าที่จากการงานลง มีเวลาให้กับตัวเองและครอบครัวมากขึ้น หรือไปเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ   แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจาก “พวกเรา” ที่ตั้งตารอวันหยุดอยางมีความสุขกันแล้ว “มิจฉาชีพ” ก็ชอบวันหยุดเช่นกัน เห็นได้จากข่าวอยู่บ่อย ๆ ว่า ในช่วงวันหยุดยาวที่เราหลายคนพักผ่อน มิจฉาชีพจะออกทำงาน เช่น โจรกรรมทรัพย์สิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมีโครงการ “ฝากบ้านไว้กับตำรวจ” เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดเหตุ และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน   ในช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ก็เป็นเวลาทองของ “แฮ็กเกอร์” เช่นเดียวกัน จากข้อมูลของ Cybersecurity and Infrastructure Security Agency (CISA) และ Federal Bureau of Investigation (FBI) ระบุตรงกันว่า ในอดีตแฮ็กเกอร์มักจะโจมตีในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ คือ วันศุกร์และวันเสาร์ แต่ในปัจจุบันแฮกเกอร์จะเลือกโจมตีในช่วงวันหยุดยาวของเหยื่อในแต่ละประเทศ เช่น โจมตีเหยื่อในประเทศจีน ช่วงเทศกาลตรุษจีน โจมตีเหยื่อในประเทศญี่ปุ่น ช่วงเทศกาลโอบง เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบเช่นกัน…

สกมช.ผนึกหัวเว่ยระดมสมองร่วมหาแนวทางการป้องกันภัยไซเบอร์

Loading

    เวิร์กช้อป “ผู้นำองค์กร-สมาคมระดับประเทศ” ร่วมหาแนวทางการป้องกันหลังแฮ็กเกอร์ระบาดหนัก ด้าน กสทช.เล็งวางแนวปฏิบัติโอเปอร์เรเตอร์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ขณะที่ “หัวเว่ย” เดินหน้าพัฒนา 5G สร้างระบบล็อครหัสเข้าแบบ 2 ชั้น ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล   สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. จัดเสวนากลุ่มย่อย ภายใต้หัวข้อ “การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ด้านการเงินธนาคาร ให้โครงข่ายสัญญาณโทรคมนาคมทั่วไทย กับความสำคัญต่อภาคประชาชนและธุรกิจ” ในงานนิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปี 2566 (Thailand National Cyber Week 2023) โดยมี พล.อ.ต. อมร ชมเชย เลขาธิการ สกมช. น.ส.กนกอร ฉวาง ผู้อำนวยการส่วนการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายสุรชัย ฉัตรเฉลิมพันธุ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และนายกิตติพงษ์ ธีระเรืองไชยศรี Cyber Expert/Information Security…

เตือนภัย ‘ออนไลน์’ ทริกโจรไซเบอร์ดูดเงิน

Loading

    ปัจจุบัน ‘ภัยออนไลน์’ ยังเป็นเรื่องอันตรายที่อยู่ใกล้ประชาชนมากที่สุด เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิต กลับกันเทคโนโลยีก็นำมาสู่ภัยร้าย หากมีคนกลุ่มที่ไม่ประสงค์ดี หรือเรียกว่า ‘มิจฉาชีพ’ นำมาใช้เป็นเครื่องมือแสวงหากำไรในทางมิชอบ   ซึ่งความเสียหายขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว สะท้อนจากประชาชนแจ้งเรื่องร้องเรียนผ่านออนไลน์ www.ThaiPoliceOnline.com ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม-31 ธันวาคม 2565 มีคดีความออนไลน์กว่า 181,466 เรื่อง เฉลี่ย 800 คดีต่อวัน รวมมูลค่าความเสียหาย 27,305 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะเปอร์เซ็นต์สำเร็จยังสูง   เรื่องนี้ ‘กิตติ โฆษะวิสุทธิ์’ ผู้จัดการบริหารความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและความปลอดภัยไซเบอร์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร หรือทีบี-เซิร์ต เปิดเผยว่า จากแนวโน้มภัยไซเบอร์ที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีรูปแบบหลากหลายเพื่อล่อลวงเอาข้อมูลสำคัญจากผู้ใช้บริการโมบายแบงกิ้งและอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง หวังโจรกรรมเงินจนนำมาสู่ความเสียหายทางทรัพย์สิน   สำหรับรูปแบบการล่อลวงเอาข้อมูลที่พบมากขึ้นในระยะหลัง คือ การหลอกให้ผู้ใช้งานติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์ (Malware) ลงในโทรศัพท์มือถือ เพื่อเข้าไปแฝงตัวอยู่ในแอปพลิเคชัน มีบริการที่เรียกว่า Accessibility…

สัมภาษณ์พิเศษ : ‘พล.อ.ต.อมร ชมเชย’โชว์แผน ยกระดับสู้ภัยไซเบอร์

Loading

  ‘พล.อ.ต.อมร ชมเชย’โชว์แผนยกระดับสู้ภัยไซเบอร์   หมายเหตุ – บทสัมภาษณ์ พล.อ.ต.อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ในโอกาสที่ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 และกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้อง มีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบ   ขณะนี้อยู่ระหว่างการเฝ้าติดตามความสามารถในการส่งเสริม หรือสนับสนุนให้แต่ละหน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ หรือซีไอไอ ประกอบด้วย 1.หน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ 2.หน่วยงานด้านบริการภาครัฐที่สำคัญ 3.หน่วยงานด้านการเงินการธนาคาร 4.หน่วยงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม 5.หน่วยงานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ 6.หน่วยงานด้านพลังงานและสาธารณูปโภค และ 7.หน่วยงานด้านสาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานด้านอื่น ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดเพิ่มเติม   ประเด็นสำคัญของกฎหมายลูก กำหนดให้หน่วยงานซีไอไอต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนด จึงถือเป็นความท้าทายของ สกมช. เพราะแต่ละหน่วยงานแตกต่างกันด้วยอัตลักษณ์ อาทิ ธนาคาร หรือสถาบันการเงิน ที่มีความพร้อมด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างมาก เนื่องจากกระบวนการกำกับดูแลที่เข้มแข็ง และมีขั้นตอนครบถ้วนตามข้อกำหนด ขณะที่บางหน่วยงานไม่ถนัดด้านไซเบอร์ แม้มีหน่วยงานกำกับดูแล แต่การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไม่เข้มแข็งนัก เนื่องจากขาดแคลนบุคลากร เช่น สายการบิน ที่กำกับดูแลโดย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น…