‘การ์ทเนอร์’ เจาะ 8 เทรนด์ใหญ่ อิทธิพลแรงสมรภูมิ ‘ซิเคียวริตี้’

Loading

  วันนี้ที่ “ไซเบอร์ ซิเคียวริตี้” กลายเป็นวาระสำคัญของทุกองค์กร แน่นอนว่าหนึ่งในผู้ที่ต้องรับบทหนักมากที่สุดหนีไม่พ้น ผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Chief Information Security Officers หรือ CISOs)   Keypoints •   ผู้บริหารควรคิดนอกกรอบไปมากกว่าแค่เรื่องของเทคโนโลยี •   ต้องสร้างสมมุติฐานและวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความปลอดภัยในอีกสองปีข้างหน้า •   ริชาร์ด แอดดิสคอตต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์อิงค์ กล่าวว่า ไม่ต้องสงสัยเลยว่า CISO และทีมงานด้านความปลอดภัยจะต้องมุ่งไปยังสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรของพวกเขาปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้   โดยผู้บริหารความปลอดภัยทางไซเบอร์ต้องสร้างสมมุติฐานและวางแผนเชิงกลยุทธ์ เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความปลอดภัยในอีกสองปีข้างหน้า     1. ภายในปี 2570 50% ของผู้บริหาร CISO จะนำแนวทางปฏิบัติการออกแบบความปลอดภัยที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางมาปรับใช้ เพื่อลดแรงเสียดทานที่เกิดจากความปลอดภัยไซเบอร์และเพิ่มการควบคุมในระดับสูงสุด ผลการวิจัยของการ์ทเนอร์พบว่า มากกว่า 90% ของพนักงานยอมรับว่า ได้กระทำการที่ไม่ปลอดภัยในระหว่างการทำงานแม้ทราบดีว่าการกระทำนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงให้องค์กรแต่ก็ยังทำอยู่ดี   ปลูกฝัง Zero-Trust mindset   2. ภายในปี 2567…

“สกมช.”ห่วงหน่วยงานรัฐขาดผู้บริหารด้านไอที

Loading

  เผย หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ยังขาดผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ตามที่กฎหมายกกำหนดให้ต้องมี เพื่อป้องกันและบริหารความเสี่ยงด้านภัยไซเบอร์ เร่งจัดอบรมและประสานหน่วยงานต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนด   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) เปิดเผยว่า กฎหมายลูกของ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ได้บังคับให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (ซีไอไอ) ของประเทศ เช่น ด้านการเงิน โทรคมนาคม  สาธารณูปโภค สาธารณสุข การศึกษา ฯลฯ  ต้องมีตำแหน่งผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ หรือซิโซ่ (CISO) เพื่อทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับหน่วยงาน ให้ได้ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดและป้องกันความเสี่ยง และผลกระทบต่อที่อาจเกิดขึ้น กรณีถูกโจมตีจนเกิดความเสียหายต่อระบบ ทำให้บริการหรือธุรกิจหยุดชะงัก จนส่งผลต่อประชาชนในวงกว้าง   อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันบางหน่วยงานของรัฐ รวมถึงรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้องกับงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ยังไม่มีการตั้งบุคคลมาดำรงตำแหน่งนี้ เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ที่จะขึ้นมาในระดับผู้บริหาร ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นภาคเอกชน เช่น สถาบันการเงิน ฯลฯ ไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากมีบุคลากรที่พร้อมกว่า รวมถึงมีงบประมาณในการจ้างผู้เชี่ยวชาญในส่วนนี้ ให้มาทำงานได้ ซึ่งที่ผ่านมาทาง สกมช. ก็ได้เร่งแก้ปัญหาในกับหน่วยงานรัฐ ด้วยการเปิดหลักสูตรด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระดับผู้บริหาร (เอ็กซ์คูลซีฟ ซิโซ่) ในรุ่นที่ 1 ซึ่งมีผู้บริหารหน่วยงานรัฐ สำเร็จจบหลักสูตรแล้ว 69 คน   พล.อ.ต.อมร กล่าวต่อว่า ทาง สกมช. ได้พยายามประสานและแจ้งหน่วยงานเหล่านี้แล้ว…