เทกซัสเตรียมสร้าง “ฐานทัพ” ประชิดพรมแดนเม็กซิโก เพื่อสกัดคลื่นผู้อพยพ

Loading

รัฐเทกซัสเตรียมสร้าง “ฐานทัพ” บนแนวชายแดนซึ่งติดกับเม็กซิโก หวังเพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดกั้นผู้อพยพ แต่น่าจะยิ่งยกระดับความตึงเครียด ระหว่างหนึ่งในรัฐใหญ่ที่สุดของสหรัฐ กับรัฐบาลกลางในกรุงวอชิงตัน

ไม่เอาสุดโต่ง!! เยอรมันหลายแสนออกมาชุมนุมทั่วประเทศ ต่อต้านพรรคขวาจัดวางแผนเนรเทศผู้อพยพ

Loading

ชาวเยอรมนีหลายแสนคนออกไปแสดงพลังบนท้องถนนตามเมืองต่าง ๆ นับสิบแห่งทั่วประเทศช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อแสดงการประท้วงต่อต้านพรรคการเมืองขวาจัด โดยที่การชุมนุมในเมืองมิวนิก ทางตอนใต้ของแดนดอยช์เมื่อตอนบ่ายวันอาทิตย์ (21 ม.ค.)

สถานการณ์ตึงเครียดบริเวณชายแดนตะวันออกของ ‘นาโต’

Loading

AFP   สถานการณ์ที่ชายแดนระหว่างโปแลนด์และเบลารุสกำลังมาถึงจุดพีค กองทหารวากเนอร์ในประเทศเพื่อนบ้าน เฮลิคอปเตอร์ของเบลารุส และผู้ลี้ภัยที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น กำลังสร้างความตื่นตระหนกให้กับรัฐบาลในกรุงวอร์ซอ   เฮลิคอปเตอร์จากเบลารุสบินต่ำเกินไปที่ระบบเรดาร์จะตรวจจับได้ แต่ผู้คนในหมู่บ้านของโปแลนด์ที่อยู่บริเวณชายแดนสามารถได้ยินเสียงกระหึ่มดังของเฮลิคอปเตอร์เหล่านั้น วอร์ซอวิจารณ์ถึงสิ่งที่มินสค์ปฏิเสธ นั่นคือ น่านฟ้าของโปแลนด์กำลังถูกละเมิด ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ โปแลนด์ส่งกองกำลังไปที่ชายแดนมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรกในฤดูร้อนนี้   นับตั้งแต่รู้ข่าวว่ากองทหารวากเนอร์เข้าไปแฝงตัวอยู่ในเบลารุส โปแลนด์ก็ระส่ำระสายแล้ว กระทรวงกลาโหมยืนยันว่าพวกเขากำลังฝึกซ้อมร่วมกับกองทัพของเบลารุส ยิ่งปรากฏมีภาพวิดีโอบันทึกการพบปะกันระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย กับอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชงโกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม แล้วกองทหารถามเขาว่าพวกเขาสามารถเคลื่อนไปทางตะวันตกได้หรือไม่ ยิ่งทำให้โปแลนด์เกิดความกังวลหนักขึ้นอีก   นอกจากนี้ในการสนทนากัน พวกเขายังกล่าวถึงโปแลนด์ ลูกาเชงโกให้คำมั่นกับปูตินว่าจะให้กองทหารประจำการที่เบลารุส-ตามที่ตกลงกันไว้ และในตอนท้ายของประโยคมีเสียงหัวเราะของลูกาเชงโกด้วย ดูเป็นการยั่วยุที่ไม่มีใครในโปแลนด์ขำตาม กองทหารวากเนอร์มีอยู่ราว 4,000 นายในเบลารุส แต่ไม่ใช่ว่ากองทหารวากเนอร์อยู่ในบริเวณใกล้ชายแดนเท่านั้นที่ทำให้เกิดความไม่สงบ รัฐบาลโปแลนด์ยังเกรงว่ากองทหารวากเนอร์อาจช่วยผู้อพยพข้ามพรมแดนไปฝั่งโปแลนด์ด้วย ทุกวันนี้จำนวนผู้อพยพที่พยายามข้ามพรมแดนสูงถึง 16,000 คน ซึ่งมากกว่าจำนวนทั้งหมดในปี 2022   การอพยพผ่านเส้นทางที่เรียกว่า ‘Belarus Route’ ทำให้โปแลนด์ต้องหวนนึกถึงความหลังเมื่อปี 2021 ที่ผู้อพยพหลั่งไหลเข้าสหภาพยุโรปผ่านทางเบลารุส หลายคนต้องพักค้างอยู่ในป่าบริเวณชายแดนนานหลายสัปดาห์ จนกลายเป็นเหตุฉุกเฉินด้านมนุษยธรรม ตั้งแต่ครั้งนั้นแล้วที่เบลารุสตกเป็นเป้าสงสัยว่าเป็นฝ่ายช่วยลักลอบพาผู้อพยพข้ามพรมแดน วันนี้บริเวณเส้นพรมแดนปรากฏรั้วยาว…

อังกฤษขึ้นค่าปรับ กรณีจ้างแรงงานข้ามชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต

Loading

  รัฐบาลสหราชอาณาจักร ประกาศเพิ่มค่าปรับ สำหรับนายจ้างและเจ้าของที่ดิน ซึ่งอนุญาตให้ผู้อพยพที่ไม่มีเอกสาร ทำงานหรือเช่าทรัพย์สินของพวกเขา ตามส่วนหนึ่งของมาตรการป้องกันการอพยพเข้าเมือง   สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 7 ส.ค. ว่า กระทรวงมหาดไทยของสหราชอาณาจักร ระบุว่า การทำงานและการเช่าที่ผิดกฎหมาย เป็นปัจจัยดึงดูดสำคัญ ที่ทำให้ผู้อพยพจำนวนมากยอมเสี่ยงอันตราย เดินทางข้ามช่องแคบอังกฤษอย่างผิดกฎหมายด้วยเรือลำเล็ก เพื่อเข้ามายังสหราชอาณาจักร   ภายหลังการประกาศแก้ไขกฎหมาย บทลงโทษทางแพ่งสำหรับนายจ้างจะเพิ่มขึ้น 3 เท่า เป็นสูงสุดที่ 45,000 ปอนด์สเตอร์ลิงต่อคนงาน 1 คน (ราว 2 ล้านบาท) ส่วนค่าปรับสำหรับเจ้าของที่ดินจะเพิ่มจาก 1,000 ปอนสเตอร์ลิงต่อผู้อยู่อาศัย 1 คน (ราว 44,000 บาท) เป็นสูงสุด 10,000 ปอนด์สเตอร์ลิง (ราว 443,000 บาท) โดยค่าปรับสำหรับผู้พักอาศัยก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน   Fines hiked for firms…

เดอะการ์เดียนเผยกล้องเสริม AI ของสหรัฐเป็นอันตรายกับผู้อพยพข้ามพรมแดน

Loading

  หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนรายงานว่า กล้องถ่ายภาพที่เสริมสมรรถนะด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ซึ่งติดตั้งในหอสังเกตการณ์บริเวณพรมแดนทางตอนใต้ของสหรัฐนั้น สามารถตรวจจับวัตถุต้องสงสัยที่อยู่ห่างออกไปหลายไมล์ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจผลักดันให้กลุ่มผู้อพยพต้องเดินทางลึกเข้าไปในทะเลทรายซึ่งเป็นพื้นที่อันตราย   เดอะการ์เดียนรายงานโดยอ้างข้อมูลจากอิเล็กทรอนิก ฟรอนเทียร์ ฟาวเดชัน (Electronic Frontier Foundation) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งเน้นความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัล เสรีภาพในการพูด และนวัตกรรม ซึ่งระบุว่า แผนที่ฉบับใหม่แสดงให้เห็นว่ามีหอสังเกตการณ์จำนวนมากกว่า 300 จุดตั้งอยู่ตามแนวพรมแดนระหว่างสหรัฐและเม็กซิโก และยังมีหอสังเกตการณ์ที่มีแผนจะสร้างเพิ่มอีก 50 จุด   หอสังเกตการณ์เหล่านี้พัฒนาโดยบริษัทแอนดูริล (Anduril) ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านกลาโหม โดยหอสังเกตการณ์ปฏิบัติงานทั้งกลางวันและกลางคืน และติดตั้งกล้องที่เสริมสมรรถนะด้วย AI ซึ่งสามารถตรวจจับวัตถุต้องสงสัย เช่น คนหรือยานพาหนะ นอกจากนี้ กล้องยังสามารถหมุนได้ 360 องศา และสามารถตรวจจับคนที่อยู่ห่างออกไปไกลถึง 1.7 ไมล์ หรือประมาณ 2.7 กิโลเมตร   กลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาแสดงความกังวลว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวที่ดำเนินการโดยรัฐบาลสหรัฐหลายสมัยนั้น ได้ผลักดันให้มีการอพยพผ่านทะเลทรายและภูเขา ซึ่งส่งผลให้ผู้อพยพเสียชีวิตหรือสูญหายจำนวนมาก   นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลสหรัฐยังคงควบคุมการไหลเข้าของผู้อพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อพยพผ่านพรมแดนกั้นระหว่างสหรัฐและเม็กซิโก…

ข้อมูลผู้อพยพ 6,000 รายหลุดบนเว็บไซต์หน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองของสหรัฐฯ

Loading

  สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรของสหรัฐอเมริกา (ICE) เผยแพร่ชื่อ สถานะการอพยพ วันเกิด สัญชาติ และสถานที่ตั้งของศูนย์กักของผู้อพยพมากกว่า 6,000 รายโดยไม่ได้ตั้งใจระหว่างการอัปเดตเว็บไซต์ ผู้อพยพเหล่านี้อ้างว่าหนีจากการทรมานและการดำเนินคดีจากประเทศต้นทาง   กลุ่มส่งเสริมสิทธิผู้อพยพ Human Rights First เป็นผู้แจ้งเตือน ICE ต่อกรณีที่เกิดขึ้น ทำให้ทางหน่วยงานรีบลบข้อมูลออกจากเว็บไซต์ทันที หลังจากที่ข้อมูลอยู่บนหน้าเว็บไซต์เป็นเวลา 5 ชั่วโมง   ICE อยู่ระหว่างการสืบสวนความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและจะมีการแจ้งผู้อพยพที่ได้รับผลกระทบ โดยให้คำมั่นว่าจะไม่ส่งผู้อพยพที่อยู่ในรายชื่อกลับประเทศจนกว่าจะพิสูจน์ทราบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อบุคคลเหล่านี้ได้ รวมถึงจะแจ้งไปยังประชาชนที่ดาวน์โหลดข้อมูลเหล่านี้ให้ลบออกไปด้วย   โฆษกของ ICE ชี้ว่าการเผยแพร่ข้อมูลโดยไม่ได้ตั้งใจในครั้งนี้ถือว่าละเมิดนโยบายของหน่วยงาน ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของกระทรวงความมั่นคงมาตุภูมิ (DHS) ชี้ว่าการหลุดของข้อมูลเป็นเรื่องที่น่าอายและอันตรายต่อเจ้าของข้อมูล   ไฮดี อัลต์แมน (Heidi Altman) ผู้อำนวยการนโยบายแห่ง National Immigrant Justice Center องค์กรส่งเสริมสิทธิผู้อพยพอีกแห่งให้ความเห็นว่าข้อมูลที่หลุดออกมาจะทำให้ชีวิตของผู้อพยพตกอยู่ในอันตราย   ด้าน เบลน บุกกี (Blaine Bookey) ผู้อำนวยการกฎหมายจากศูนย์เพศสภาวะและผู้ลี้ภัยศึกษา แห่งมหาวิทยาลัยยูซี เฮสติงส์…