ใช้โดรนทิ้งบอมบ์ ถล่มเมียวดี 6 ศพ นักรบ “เคเอ็นยู” หย่อน 5 ลูกซ้อน

Loading

  ชายแดนแม่สอดระอุ ทหารกะเหรี่ยงเคเอ็นยูกลุ่มต่อต้าน รัฐบาลทหารเมียนมาปฏิบัติการถล่มเมืองเมียวดี ใช้โดรนทิ้งระเบิดใส่สถานีตำรวจและค่ายทหาร 3 ลูกซ้อน วางแผนล่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าตรวจที่เกิดเหตุก่อนทิ้งบอมบ์ถล่มซ้ำอีก 2 ลูกตูมสนั่นกลางวงกลุ่มเจ้าหน้าที่ ปลิดชีพ ผวจ.เมียวดี พร้อม ผบ.พันทหาร ผกก.ตำรวจ และลูกน้องเสียชีวิตรวม 6 ศพ บาดเจ็บระนาวอีก 10 คน คาดฝีมือหน่วยรบโดรนฝูงบินสหพันธ์ใช้โดรนขนาดใหญ่บรรทุกลูกปืน ค.60 ถล่มเป้าหมายกลยุทธ์เดียวกับสงครามยูเครน ช่วงปีที่ผ่านมาคร่าชีวิตทหารเมียนมาตายเจ็บกว่า 200 นาย ผวจ.ตากนำคณะตรวจด่านพรมแดนแม่สอดยังเปิดปกติ สั่งลาดตระเวนตรวจเข้มตามจุดล่อแหลม ยันไม่กระทบฝั่งไทย   ปฏิบัติการกองกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาใช้โดรนทิ้งระเบิดถล่มเจ้าหน้าที่ระดับสูงเมืองเมียวดีตายเจ็บจำนวนมากครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 3 ก.ย. เกิดเหตุระเบิดอย่างรุนแรงหลายครั้งบริเวณศูนย์ราชการย่านใจกลางเมืองเมียวดี ประเทศเมียนมา อยู่ห่างจากด่านพรมแดนถาวรแม่สอดแห่งที่ 1 ประมาณ 2 กม. ฝั่งตรงข้าม ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก เสียงดังสนั่นมาถึงฝั่งไทย หลังเกิดเหตุนายสมชาย ไตรทิพย์ชาติสกุล นอภ.แม่สอด รายงานให้นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผวจ.ตาก…

ความเคลื่อนไหวใหม่ในพม่า กับโอกาสยุติสงครามกลางเมือง

Loading

  รัฐบาลใหม่ของประเทศไทยจะต้องเจอกับประเด็นเรื่องพม่าที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลประยุทธ์ที่ผ่านมา   จึงจำเป็นจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้แม่นว่าเราจะทำหน้าที่ประสานระหว่างอาเซียนกับผู้นำกองทัพพม่าและฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าอย่างไรจึงจะสามารถช่วยให้เกิดสันติภาพและความสงบสุขให้กับเพื่อนบ้านทางตะวันตกแห่งนี้ได้   คำประกาศของกองทัพพม่าเมื่อสัปดาห์ก่อนที่จะผ่อนผันโทษของอองซาน ซูจีลงจาก 19 ข้อหาเหลือ 14 ข้อหา   และลดโทษจากจำคุก 33 ปีเหลือ 27 ปีนั้นเป็นท่าทีที่จริงจังของพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่ายที่จะริเริ่มกระบวนการเจรจากับ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย” ในพม่าจริงหรือไม่   อาเซียนจะประชุมสุดยอดในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้   เชื่อกันว่าจะมีการ “ทบทวน” เนื้อหาของฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียนว่าด้วยวิกฤตพม่าเพื่อให้สอดคล้องกับ “ความเป็นจริงบนภาคพื้นดิน”   อาจจะหมายความว่าอาเซียนพร้อมจะลดความเข้มข้นของมาตรการที่จะไม่ร่วมสังฆกรรมกับระดับนำของพม่าจนกว่าจะมีความคืบหน้าในการทำตามฉันทามติ 5 ข้อนี้   หรืออาจจะนำไปสู่การเผชิญหน้าที่หนักขึ้นหรือไม่   อาเซียนเองก็มีท่าทีที่แตกต่างกันในกรณีนี้   อินโดนีเซียซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนอาเซียนปีนี้มีความแน่วแน่ในการที่จะกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าต้องแสดงความคืบหน้าในการทำตาม 5 ข้อที่มิน อ่อง หล่ายไปร่วมประชุมและรับที่จะทำตาม   แต่ถึงวันนี้ก็ยังห่างไกลจากการนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม   อินโดฯ, มาเลซีย, สิงคโปร์กับฟิลิปปินส์โอนเอียงไปในทางเข้มเข้นกับทหารพม่า   ขณะที่เวียดนาม, กัมพูชา, ลาวและไทยมีท่าทีที่ผ่อนปรนมากกว่า  …

รัฐบาลทหารเมียนมาขยายเวลาภาวะฉุกเฉิน ส่งสัญญาณการเลือกตั้งล่าช้า

Loading

  รัฐบาลทหารเมียนมาประกาศขยายเวลาภาวะฉุกเฉินออกไปอีก 6 เดือนเมื่อวันจันทร์ ส่งสัญญาณถึงการชะลอการเลือกตั้งที่พวกเขาให้คำมั่นว่าจะจัดภายในเดือนสิงหาคม   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 31 กรกฏาคม 2566 กล่าวว่า ที่ประชุมสภากลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติเมียนมา (เอ็นดีเอสซี) ที่อยู่ภายใต้รัฐบาลทหาร ออกประกาศระบุว่า “สถานการณ์ฉุกเฉินในประเทศจะขยายออกไปอีก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2566”   ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ที่ร่างขึ้นโดยกองทัพเมียนมาซึ่งรัฐบาลทหารระบุว่ายังคงมีผลบังคับใช้ กำหนดให้ทางการต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 6 เดือนหลังจากยกเลิกภาวะฉุกเฉิน ดังนั้นการขยายเวลาออกไปอีก 6 เดือน ทำให้การเลือกตั้งใหม่ภายในเดือนสิงหาคมปีนี้ตามที่รัฐบาลทหารเคยสัญญาว่าจะจัดให้มี ต้องเลื่อนออกไปเช่นกัน   มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหาร อธิบายต่อที่ประชุมฯว่า การสู้รบและการโจมตียังคงเกิดขึ้นในภูมิภาคสะกาย, มะเกว, พะโค และตะนาวศรี เช่นเดียวกับรัฐกะเหรี่ยง, กะยา และรัฐชิน   “เราต้องการเวลาเพื่อทำหน้าที่เตรียมการอย่างเป็นระบบต่อไป และไม่ควรรีบเร่งจัดการเลือกตั้งตามกำหนดเดิม” เขากล่าวกับที่ประชุม   รัฐบาลทหารได้ขยายภาวะฉุกเฉินออกไปแล้วในปีนี้…

19 ก.ค. 1947 นายพลออง ซาน บิดาแห่งเอกราช วีรบุรุษของพม่า ถูกลอบสังหาร

Loading

  นายพลออง ซาน หรืออู อองซาน เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1915 ที่เมืองนัตเม่าก์ บิดาคืออูเผ่า เป็นทนายความ มารดาชื่อด่อซู ผู้เป็นปู่คือ โบมีงยอง เป็นนักต่อสู้ที่รักชาติและเคยต่อต้านเจ้าอาณานิคมคืออังกฤษ นายพลออง ซาน จึงได้สืบทอดมรดกทางจิตใจคือความรักชาติและเป็นนักต่อสู้มาจากคุณปู่   นายพลออง ซานเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์กับคนทุกคนอย่างเสมอภาค และคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งของเขา คือ การเคารพในความถูกต้อง ไม่กล่าวเท็จและยึดมั่นในคุณธรรม เป็นคนที่ไม่หลงใหลในลาภยศหรือเงินทอง นายพลเป็นคนที่พูดจาเด็ดขาด การทำงานก็ตรงไปตรงมา และได้เป็นผู้นำการต่อสู้กับอังกฤษเพื่อเอกราชของพม่า โดยได้เป็นผู้นำของ “สมาคมชาวเราพม่า” หรือ “พรรคตะขิ่น” (thakin) โดยมีจุดประสงค์คือ การต่อต้านเจ้าอาณานิคมคืออังกฤษและความต้องการเอกราชทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ   เมื่อพม่าถูกอังกฤษยึดเป็นอาณานิคมโดยสมบูรณ์ ใน ค.ศ. 1855 อังกฤษได้ปกครองพม่าโดยตรง และได้ยกเลิกระบบการปกครองเดิมของพม่า สถาบันที่เคยเป็นศูนย์กลางอำนาจเดิมคือสถาบันกษัตริย์ที่รุ่งเรืองมาในประวัติศาสตร์อันยาวนานของพม่า และยังเป็นสถาบันรักษาศิลปวัฒนธรรมและศาสนาสิ้นสุดลง การปกครองระยะเริ่มแรกคือระหว่างปี 1886-1925 อังกฤษได้ให้พม่าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย ยกเลิกการปกครองในหมู่บ้านแบบเก่า จากเดิมที่เคยผูกขาดโดยชนชั้นสูงในหมู่บ้าน ด้วยการแต่งตั้งหัวหน้าหมู่บ้านแบบหมุนเวียนกัน นำระบบเทศบาลเข้ามาใช้ตามเมืองใหญ่ๆ ทางตอนล่างของพม่า…

จากยูเครนถึงพม่า! Free Burma Rangers ขอบคุณอีลอน มัสก์ ปล่อยสัญญาณเน็ต “สตาร์ลิงก์” ให้กองกำลังติดอาวุธรัฐกะยา

Loading

การใช้อินเทอร์เน็ตในป่ารัฐกะยาของกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้าน (ภาพจาก Kantarawaddy Times)   ชัดแล้วแสงบนท้องฟ้าที่มองเห็นในภาคเหนือของไทยเมื่อต้นเดือนมิถุนายน เป็นกลุ่มดาวเทียมสตาร์ลิงก์ของสเปซเอ็กซ์ที่เคลื่อนตัวเข้าไปปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้กองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้านที่กำลังรบหนักอยู่กับกองทัพพม่า ผบ. Free Burma Rangers ทวีตขอบคุณอีลอน มัสก์ ที่ช่วยให้การทำงานในรัฐกะยาสะดวกขึ้น   สำนักข่าว Kantarawaddy Times รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 เดวิด ยูแบงก์ ผู้อำนวยการ Free Burma Rangers กลุ่ม NGO จากสหรัฐอเมริกาที่ได้เข้าไปเคลื่อนไหวอยู่ในรัฐกะยา (กะเหรี่ยงแดง) ของพม่า ได้ทวีตข้อความขอบคุณอีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์ และโครงการสตาร์ลิงก์ ที่ช่วยให้ในรัฐกะยามีสัญญาณอินเทอร์เน็ตใช้ ทำให้การทำงานในพื้นที่ของพวกเขาสะดวกขึ้น   สตาร์ลิงก์เป็นโครงข่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมขนาดเล็กจำนวนมากที่โคจรอยู่รอบโลก ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทสเปซเอ็กซ์ เพื่อให้ทุกพื้นที่ทั่วโลกสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ โดยปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมให้พื้นที่ห่างไกลที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตประเภทอื่นไม่สามารถเข้าถึง   รัฐกะยาอยู่ติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชายแดนด้านตะวันตกของประเทศไทย เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งขณะนี้กำลังมีการสู้รบอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้าน (PDF) กับกองทัพพม่า และกลยุทธ์หนึ่งที่กองทัพพม่านำมาใช้ คือการตัดการสื่อสาร โดยไม่ปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่รัฐกะยา รวมถึงอีกหลายรัฐที่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านกองทัพพม่า…

รู้จัก ‘ตำรวจลับ’ รัฐบาลทหารพม่า เครื่องมืออำมหิตที่ใช้ปราบฝ่ายประชาธิปไตย

Loading

  บทความในอิรวดีพูดถึงบทบาท ‘ตำรวจลับ’ ของเผด็จการพม่าที่ใช้สอดแนม-ปราบปรามฝ่ายตรงข้าม และล่าสุดยุครัฐบาลทหารมินอ่องหล่าย นอกจากเครือข่ายที่ใช้จับตาความเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านเผด็จการพลัดถิ่นที่อยู่ในไทยแล้ว ยังพบว่าผู้ที่มีบทบาทสนับสนุนกระบวนการสันติภาพและปฏิรูปการเมืองช่วงรัฐบาลเต็งเส่ง ก็ยังกลายเป็นผู้ให้ข้อมูลกับตำรวจลับพม่าอีกด้วย   เบอร์ทิล ลินต์เนอร์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสที่เชี่ยวชาญประเด็นพม่าเขียนบทความเผยแพร่ในอิรวดี เมื่อ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา พูดถึงการที่เผด็จการพม่าตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการใช้ “ตำรวจลับ” เพื่อคอยสอดแนมและปราบปรามฝ่ายประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งในประนอกประเทศ รวมถึงมีตำรวจลับเหล่านี้ในประเทศไทยด้วย แต่เผด็จการในยุคต่างๆ ก็มีการกวาดล้างเหล่าตำรวจลับพวกนี้เองและตั้งหน่วยใหม่ในชื่อใหม่ขึ้นมาตั้งแต่ยุคของเนวิน มาจนถึงเผด็จการมินอ่องหล่ายในปัจจุบัน   โดยเผด็จการเชื่อว่าพวกเขาจำเป็นต้องมี “ตำรวจลับ” เอาไว้ใช้งานเพื่อที่จะคงอยู่ในอำนาจได้ และยิ่งตำรวจลับเหล่านี้ มีความโหดเหี้ยมอำมหิตมากเท่าไหร่ก็จะส่งผลดีกับพวกเขามากขึ้นเท่านั้น พวกนาซีเคยมีตำรวจลับชื่อหน่วยเกสตาโป ชาห์แห่งอิหร่านเคยอาศัยหน่วยซาวัคเป็นตำรวจลับและหน่วยข่าวกรอง เผด็จการแห่งโรมาเนีย นิโคแล โจเชสกู มี “กรมความมั่นคงแห่งรัฐ” ส่วนนายพลพม่านั้นมีหน่วยข่าวกรองของตนเอง ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อหลายชื่อในช่วงเวลาตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงเป็นเสาหลักทางอำนาจให้กับรัฐเผด็จการทหาร   แต่ด้วยความที่ว่า หน่วยตำรวจลับของพม่านั้นมีลักษณะปกปิดเป็นความลับ ทำให้มีอยู่อย่างน้อยสองครั้งที่หน่วยงานข่าวกรองกองทัพพม่าเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบรัฐซ้อนรัฐ ซึ่งกลายเป็นภัยต่อระเบียบรัฐแบบดั้งเดิม ทำให้มีการกวาดล้างผู้นำของตำรวจลับบางส่วนโดยมีการลงโทษคุมขังพวกเขาเป็นเวลายาวนาน   เรื่องนี้ทำให้ผู้นำเผด็จการพม่าเริ่มหันมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ตำรวจลับมีความจงรักภักดีต่อพวกเขาโดยไม่ตั้งคำถามใดๆ นั่นกลายเป็นสาเหตุที่มินอ่องหล่าย ผู้นำระดับสูงของกองทัพและผู้นำเผด็จการทหารยุคปัจจุบัน ได้ให้ผู้นำระดับสูงของหน่วยข่าวกรองอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเผด็จการคนก่อนๆ   พล.ท.เยวินอู ผู้ที่เป็นประธานของหน่วยงานที่ชื่อว่า สำนักงานแห่งกิจการความมั่นคงเสนาธิการทหาร…