วิธีการและมาตรฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565

Loading

  ในอดีตที่ผ่านมา กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีของประเทศไทยซึ่งมีอยู่มากมายหลายฉบับ ได้มีการกำหนดให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบหรือคณะกรรมการตามกฎหมายดังกล่าว กำหนดมาตรฐานทางเทคนิคในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้หน่วยงานอื่นของรัฐนำไปปฏิบัติอย่างมีมาตรฐานและมีความมั่นคงปลอดภัย อย่างไรก็ดี มาตรฐานเหล่านั้นโดยส่วนใหญ่ค่อนข้างมีความซับซ้อนในทางเทคนิคสูง ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ปฏิบัติรวมถึงประชาชนทั่วไปประสบความยากลำบากในการทำความเข้าใจและไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างสอดคล้องครบถ้วน   ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ซึ่งตราขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริการประชาชนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม นั้น นอกจากวัตถุประสงค์หลักในการรับรองผลทางกฎหมายของการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการรับรองผลทางกฎหมายของเอกสารหรือหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและใช้เป็นหลักฐานได้ตามกฎหมาย แล้ว กฎหมายดังกล่าวยังได้วางรากฐานและกรอบแนวทางเกี่ยวกับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และมาตรฐานทางเทคนิคของการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ไว้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ความประหยัดคุ้มค่า และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ   โดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ ได้บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีกำหนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงมาตรฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่หน่วยงานของรัฐจะต้องใช้และปฏิบัติให้สอดคล้องกัน เชื่อมโยงถึงกันได้ มีความมั่นคงปลอดภัย และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก และมาตรา 19 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของสี่หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ในการจัดทำและเสนอวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้หน่วยงานของรัฐใช้และถือปฏิบัติ โดยจะจัดแบ่งวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเริ่มต้นและระยะต่อ ๆ ไปก็ได้ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวต้องคำนึงถึงการเชื่อมโยงถึงกันโดยสามารถใช้อุปกรณ์และข้อมูลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย   ปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม…

ยืนยัน ! 10 ม.ค. นี้ หน่วยงานรัฐรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทุกแห่ง

Loading

    โฆษกประจำสำนักนายกฯ ยืนยัน ตั้งแต่ 10 ม.ค. 66 หน่วยงานรัฐต้องรับหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ ถ้าไม่รับอาจต้องรับผิดว่าจงใจฝ่าฝืนกฎหมายได้   นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 และมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ยกเว้นบางมาตราที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปนั้น     กองพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีข้ออธิบายถึงการใช้เอกสารหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในการเบิกจ่ายเงินว่า เนื่องจากมาตรา 15 ของกฎหมายการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ รับรองการใช้เอกสารหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานเบิกจ่ายของส่วนราชการและท้องถิ่น ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป หน่วยงานของรัฐทั้งส่วนราชการและท้องถิ่น ต้องรับเอกสารหรือหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นไฟล์ PDF หรือภาพทางดิจิทัลในการรับจ่ายเงิน ถ้าไม่รับอาจต้องรับผิดว่าจงใจฝ่าฝืนกฎหมายได้   นายอนุชา กล่าวว่า สำหรับมาตรา 15 วรรคหนึ่ง…