“28 ม.ค.วันแห่งข้อมูลส่วนตัว” ถึงเวลาคนไทยต้องตระหนักรู้

Loading

  วันที่ 28 ม.ค.ของทุกปี เป็น “วันแห่งข้อมูลส่วนตัว” (Data Privacy Day)  ซึ่งในยุค “ดิจิทัล”  ข้อมูลส่วนบุคคล ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก!!   ทุกประเทศต่างมีกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหากเจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมให้ข้อมูล หรือเปิดข้อมูล หากมีการละเมิด ก็ถือว่าผิดกฎหมาย!?!   ซึ่งจากผลสำรวจโดย Telenor Asia Digital Lives Decoded ปี 2023 พบว่าคนไทยมีความกังวลในเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลเพียง 17% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียที่อยู่ที่ 44% ส่วนกลุ่มที่ระบุว่าไม่กังวลเรื่องนี้มี 21% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียที่มีเพียง 8% เท่านั้น แสดงให้เห็นว่า คนไทยกังวลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชีย!!   ภาพ pixabay.com   อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทย ก็มี พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ ก.ม.พีดีพีเอ  ที่ออกมาบังคับใช้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทุกองค์กรไม่ว่าภาครัฐ หรือเอกชน ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย   สำหรับองค์กรโทรคมนาคมใหญ่อย่าง ทรู ที่หลังมีการควบรวมกับดีแทคแล้ว ยิ่งทำให้มีลูกค้าที่ต้องดูแลเพิ่มมากขึ้น จะมีวิธีจัดการและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอย่างไร?   “มนตรี สถาพรกุล” หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า  ทรู คอร์ปอเรชั่น ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ถือเป็นการเคารพสิทธิมนุษยชนอีกมิติหนึ่งในยุคดิจิทัล ซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเด็นด้านความยั่งยืนที่ทรูให้ความสำคัญในระดับสูงมาก   มนตรี สถาพรกุล   “หลังการควบรวมระหว่างทรู และดีแทค ทำให้มีฐานลูกค้ากว่า 51 ล้านรายที่ต้องดูแล และหากรวมบริการต่างๆ ทั้งหมดแล้ว จะมีมากกว่า 100 ล้านบัญชีที่ต้องดูแลข้อมูลส่วนบุคคล โดยได้ยึดกลยุทธ์ “Privacy and Security by Design” ซึ่งเป็นการเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวที่ปกป้องข้อมูลลูกค้าให้ปลอดภัย ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ พร้อมคุมเข้มความปลอดภัยสารสนเทศ ด้วยมาตรฐานสากล ISO 27001 และเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อจำกัด การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็น”   นอกจากนี้ยังได้มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ มาใช้ในการลงทะเบียนซิมเพื่อความแม่นยำและปลอดภัย การเปลี่ยนเอกสารไปเป็นดิจิทัล เลิกใช้กระดาษ 100% นำ เอไอ และแชตบอทเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า เพื่อลดระยะเวลารอและลดระดับการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล   หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บอกต่อว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองน้อย จึงต้องมีการสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล ควรทำในวงกว้าง และต่อเนื่อง เราต้องการให้ผู้ใช้บริการมือถือและเทคโนโลยีดิจิทัลทุกคนเข้าใจสิทธิของการเป็นเจ้าของข้อมูลและรับรู้วัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูล เลือกที่จะให้หรือไม่ให้ความยินยอมในการเข้าถึง เปิดเผย และใช้ข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิทราบ ขั้นตอนที่ได้มาของข้อมูล และมีสิทธิยกเลิกหรือแจ้งให้ลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายเมื่อไหร่ก็ได้   โดยผู้ให้บริการมือถือและดิจิทัล เป็นเพียง “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” เท่านั้น  ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูล สามารถเลือกให้ความยินยอมด้านความเป็นส่วนตัวใน 2…

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเปิดตัวเฟซบุ๊ก official “ศูนย์เฝ้าระวังการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล”(PDPC Eagle Eye)

Loading

สคส.ได้เปิดตัวเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการ (Official Fanpage) “ศูนย์เฝ้าระวังการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล” เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการประสานงานและรับข่าวสารเพิ่มเติม ผู้ที่ต้องการติดต่อ ร้องเรียน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถติดต่อได้ที่ Facebook  :   https://www.facebook.com/pdpceagleeye

บริษัทแม่ LINE ยอมรับ ข้อมูลผู้ใช้งานรั่วไหลกว่า 400,000 ราย แล้วเราจะเตรียมรับมืออย่างไรดี

Loading

ข้อมูลรั่วไหลจากความสะเพร่าของผู้ให้บริการ รู้ตัวอีกทีก็มีเบอร์แปลกๆ โทรเข้ามาหาจนรับไม่ไหว ต้องทำอย่างไรดี!? หากใครที่ติดตามข่าวบนหน้า Facebook Feed ในช่วงนี้ก็คงจะเห็นข่าวเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ใช้งาน LINE ที่มีรายงานเตือนจาก Nikkei Asia ว่า “มีข้อมูลส่วนตัว 400,000 รายการที่รั่วไหลจากมัลแวร์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ของพนักงานในเกาหลีใต้”

สคส. เตรียมระบบ “ห้ามโทรหาฉัน” ป้องกันมิจฉาชีพโทรลวง ปชช.

Loading

กสทช. จับมือ สคส. กำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโทรคมนาคม กำหนดแนวปฏิบัติ คำสั่งคุ้มครอง ให้สอดคล้องกันเพื่อระงับการรั่วไหลของข้อมูล ขณะที่ สคส. เน้นเข้มมาตรการตรวจสอบบริษัทฯ และองค์กรที่มีฐานข้อมูลส่วนบุคคล ป้องกันการลักลอบขายข้อมูลให้มิจฉาชีพกรณีการบุกจับโบรกเกอร์ของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ที่ลักลอบขายข้อมูลลูกค้ามากกว่า 1,000,000 รายชื่อ ให้กับกลุ่มมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และเว็บพนันออนไลน์ สร้างความเสียหายให้กับประชาชนจำนวนมาก

PDPA คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง สรุปข้อมูล PDPA ฉบับเข้าใจง่าย

Loading

  PDPA กฎหมายฉบับสำคัญที่เริ่มบังคับใช้อย่างเต็มแบบรูปแบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2565 แต่หลายคนยังเกิดความกังวลและสงสัยว่า PDPA ต้องทําอะไรบ้าง หากทำผิดกฎแล้วจะมีบทลงโทษอย่างไร ไทยรัฐออนไลน์สรุป PDPA เรื่องที่ควรรู้ ฉบับสั้น ๆ เข้าใจง่ายมาฝาก   PDPA คืออะไร PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ต่อมา PDPA บังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565   กฎหมาย PDPA ถอดแบบมาจากกฎหมาย GDPR ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป เพื่อให้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากล ให้ภาครัฐ เอกชน ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา รวบรวม ใช้งาน…

เงื่อนไขการใช้สิทธิและการบริหารจัดการสิทธิตาม PDPA

Loading

    พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA กำหนดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิหลาย ๆ ประการที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 30-36   ได้แก่ สิทธิในการขอเข้าถึงและขอรับสำเนา (Access) สิทธิขอให้โอนข้อมูล (Portability) สิทธิคัดค้าน (Object) สิทธิขอให้ลบ (Erasure) สิทธิขอให้ระงับการใช้ (Restriction) และสิทธิขอให้แก้ไขข้อมูล (Rectification)   กฎหมายได้กำหนดเป็นหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ให้มีหน้าที่ดำเนินการตอบสนองต่อคำขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลด้วย (Responding to Data Subject Requests: DSRs)   สิทธิทั้ง 6 ประการดังกล่าวมีเงื่อนไขและขอบเขตการใช้บังคับหรือการดำเนินการตาม DSRs ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการใช้สิทธิแต่ละประเภท และฐานทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (lawful basis) กับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล   European Data Protection Board (EDPB) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับการบังคับใช้ GDPR…