“สกมช.” แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ก.ม. ไซเบอร์ฯ รับมือภัยคุกคามรุนแรงขึ้น

Loading

  แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 จำนวน 65 คน เตรียมความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า  สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) มีภารกิจที่สำคัญที่ต้องดำเนินการและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการตอบสนองและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์   รวมทั้งปฏิบัติการ ประสานงาน สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือหน่วยงาน เพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งประเทศไทยมีแนวโน้มการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งเชิงปริมาณและความรุนแรง เหตุการณ์ภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทวีความรุนแรงมากขึ้น และรูปแบบการโจมตียังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป   ซึ่งภัยคุกคามดังกล่าวอาจส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศได้ ดังนั้น การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในวันนี้ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคาม ป้องกัน และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศของประเทศ อันจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในวงกว้างได้   ด้าน พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า สกมช. ได้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 จำนวน 65…

ความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมี พ.ร.บ.ไซเบอร์ | ปริญญา หอมเอนก

Loading

ประเทศไทยมีการประกาศบังคับ ใช้ พ.ร.บ.ไซเบอร์ ซึ่งชื่อเต็มคือ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ขณะนี้ได้จัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และแต่งตั้งคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) เพื่อปฏิบัติภารกิจตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทำไมต้องมี พ.ร.บ.ไซเบอร์? ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สร้างความเสียหายให้แก่ ประชาชน สังคม ตลอดจนประเทศชาติ โดยไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือ ประเทศที่กำลังพัฒนา ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐาน (critical infrastructures) ของประเทศ ยกตัวอย่าง เหตุการณ์ช่วงวันที่ 6-12 พฤษภาคม 2564 มีการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับบริษัทท่อส่งน้ำมันรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา “Colonial Pipeline” ถูกโจมตีด้วย Ransomware หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ทำให้ต้องหยุดการขนส่งน้ำมันบางส่วนลงชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อบริษัทและลูกค้า เหตุการณ์ในครั้งนั้น ทีมงานทำเนียบขาวของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ได้ประสานงานและติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดกับบริษัทดังกล่าวโดยตรง เนื่องจากเป็นปัญหาในระดับประเทศ การโจมตีโดย Ransomware ที่เกิดขึ้นกับบริษัทท่อส่งน้ำมันดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติการของอาชญากรรมข้ามชาติที่จู่โจมเป้าหมาย ที่เป็นองค์กรหรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญยิ่งยวด…