‘ญี่ปุ่น’ ผู้นำเทคโนโลยีโลก แต่ล้าหลังด้าน’ดิจิทัล’

Loading

  ‘ญี่ปุ่น’ ผู้นำเทคโนโลยีโลก แต่ล้าหลังด้าน’ดิจิทัล’ โดยการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานรัฐบาล 1,900 รายการ ยังคงใช้เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบเก่า เช่น ซีดี, แผ่นดิสก์ขนาดเล็ก และฟลอปปีดิสก์   ญี่ปุ่น ในความทรงจำของคนทั่วโลกเป็นดินแดนแห่งอนาคต เพราะเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นดินแดนแห่งวิทยาการด้านหุ่นยนต์ แต่ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกแห่งนี้ ยังมีอีกหลายด้านที่ขัดแย้งในตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงเศรษฐกิจดิจิทัล และดูเหมือนว่าการชอบใช้เงินสดของชาวญี่ปุ่น เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งของความเฉื่อยชาในการตอบสนองต่อกระแสเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียตะวันออก   ข้อมูลของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น(เมติ) ระบุว่า แม้การชำระเงินแบบไร้เงินสดในญี่ปุ่นจะเติบโตกว่า 2 เท่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีสัดส่วนการชำระเงินแบบไร้เงินสดอยู่ที่ 36% ในปี 2565 แต่สัดส่วนการชำระเงินแบบไร้เงินสดของญี่ปุ่น ยังคงล้าหลังกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ทั้งเกาหลีใต้และสิงคโปร์ ที่ล้วนเป็นประเทศที่มีการชำระเงินแบบไร้เงินสดมากที่สุด   อาซาฮิ ร้านอาหารของ’ริวอิจิ อูเอกิ’ เป็นร้านที่รับเฉพาะเงินสด เช่นเดียวกับร้านอาหารอื่น ๆ ที่เขารู้จัก โดยอูเอกิ เจ้าของร้านอาซาฮิ รุ่นที่…

หนุ่มพ่อค้าฟลอปปีดิสก์ระบุสายการบินจำนวนมากยังใช้สินค้าของเขาอยู่

Loading

  ทอม เพอร์สกี (Tom Persky) ผู้ก่อตั้ง floppydisk.com ซึ่งขายและรีไซเคิลฟลอปปีดิสก์ ระบุในหนังสือ ‘Floppy Disk Fever: The Curious Afterlives of a Flexible Medium’ ของ นีก ฮิลก์แมนน์ (Niek Hilkmann) และ โทมัส วัลสการ์ (Thomas Walskaar) ว่าลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของเขาในปัจจุบันคือบรรดาสายการบิน   “บุคคลเหล่านี้คือผู้ที่ใช้ฟลอปปีดิสก์ในการนำข้อมูลเข้าและออกจากเครื่องจักร [บนเครื่องบิน] ลองคิดดูว่าในปี 1990 ที่คุณสร้างเครื่องจักรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ถึง 50 ปี และต้องการใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่มีอยู่ [ในขณะนั้น]”   เพอร์สกีชี้ว่าประมาณครึ่งหนึ่งของเครื่องบินในโลกนี้มีอายุมากกว่า 20 ปี ซึ่งมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ยังต้องใช้ฟลอปปีดิสก์อยู่   นอกจากเหล่าสายการบินแล้ว วงการแพทย์ก็ยังมีบางส่วนที่ใช้ฟลอปปีดิสก์ รวมถึงยังมีเหล่านักสะสมที่มีความต้องการซื้อฟลอปปีดิสก์ตั้งแต่ 10 แผ่น ไปจนถึง 50 แผ่นเลยทีเดียว  …

ลาก่อน! เจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่นในโตเกียวตัดใจยอมเลิกใช้ฟลอปปีดิสก์

Loading

  ฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีให้เห็นมาตั้งแต่ยุคแรก ๆ ของการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในสำนักงาน สถานศึกษาและภายในบ้าน ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ก็เริ่มถูกแทนที่ด้วยหน่วยจัดเก็บข้อมูลแบบอื่น เช่น ซีดีรอมและดีวีดีรอม จนล่าสุดที่ใช้กันทั่วไปก็คือ แฟลชไดรฟ์ หรือ SSD, HDD External เพราะมีความจุในการจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่าและถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วกว่า ในขณะที่หลายคนเลิกใช้ฟลอปปีดิสก์กันไปนานเป็นสิบปีแล้ว ล่าสุดมีข่าวจากแดนซามูไรว่ารัฐบาลกลางของญี่ปุ่นพยายามขับเคลื่อนให้ภาครัฐเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งต้องพบกับอุปสรรคเพราะเจ้าหน้าที่ของภาครัฐยังยึดถือกับการจัดเก็บและโอนย้ายข้อมูลด้วยฟลอปปีดิสก์มานานหลายสิบปี แต่ในที่สุดเจ้าหน้าที่สำนักงานท้องถิ่นของภาครัฐในโตเกียวเมืองหลวงของญี่ปุ่นได้เผยยอมตัดใจเลิกใช้ฟลอปปีดิสก์เสียที หลายคนถึงกับงงว่าหน่วยงานรัฐของญี่ปุ่นยังมีการใช้ฟลอปปีดิสก์เหลืออยู่อีกได้อย่างไรในเมื่อบริษัทโซนี (Sony) ผู้ผลิตฟลอปปีดิสก์ 3.5 นิ้วรายแรกได้หยุดการผลิตไปนานแล้วนับสิบปี ซึ่งเหตุผลคือทางหน่วยงานมีฟลอปปีดิสก์เก็บไว้ใช้งานมากมายและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ จึงพอจะยืดเวลาและประหยัดเงินค่าอัปเกรดระบบใหม่ เมะงุโระแขวงพิเศษของโตเกียวมีแผนที่จะนำงานทั้งหมดที่จัดเก็บด้วยฟลอปปีดิสก์และสื่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอื่น ๆ มาใช้บนระบบออนไลน์ภายในปีงบประมาณ 2021 ส่วนแขวงชิโยะดะจะปรับเปลี่ยนตามมาในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ และแขวงมินาโตะได้ย้ายการจัดเก็บข้อมูลระบบชำระเงินจากฟลอปปีไปอยู่บนระบบออนไลน์แล้วตั้งแต่ปี 2019 เจ้าหน้าที่จัดการกองทุนสาธารณะสำหรับแขวงเมะงุโระกล่าวอาลัยถึงฟลอปปีดิสก์ว่าแผ่นดิสก์ไม่เคยพังและทำให้ข้อมูลสูญหาย (แต่สมัยที่แอดใช้แผ่นดิสก์นี่มันพังเป็นว่าเล่นเลยนะ) ซึ่งทางแขวงได้ใช้ฟลอปปีดิสก์ 3.5 นิ้วจัดเก็บข้อมูลการชำระเงินให้กับพนักงานส่งไปยังธนาคารมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ก็ต้องเปลี่ยนใจเลิกใช้ตั้งแต่ปี 2019 เมื่อธนาคารมิซูโฮ (Mizuho Bank) แจ้งกับแขวงว่าจะเก็บเงินสำหรับการใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฟลอปปีดิสก์ ในอัตรา 50,000 เยน (14,546.24…