สหรัฐฯ เสนอเงิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อแลกกับข้อมูลคนงานไอทีของเกาหลีเหนือ

Loading

    กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เสนอรางวัลสูงสุด 5 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับข้อมูลที่สามารถช่วยขัดขวางกิจกรรมของบริษัทบังหน้าและพนักงานของเกาหลีเหนือที่สร้างรายได้กว่า 88 ล้านเหรียญสหรัฐผ่านโครงการทำงานไอทีทางไกลที่ผิดกฎหมายในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา บริษัททั้งสองแห่ง ได้แก่ Yanbian Silverstar จากจีน และ Volasys Silverstar จากรัสเซีย หลอกลวงธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกให้จ้างพนักงานชาวเกาหลีเหนือเป็นพนักงานไอทีอิสระ เงินที่ได้มาอย่างผิดกฎหมายเหล่านี้จะถูกฟอกเงินโดยฝ่าฝืนมาตรการคว่ำบาตรระหว่างประเทศและส่งกลับไปยังรัฐบาลเปียงยางเพื่อสนับสนุนโครงการขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่สหประชาชาติสั่งห้าม ตามที่เอฟบีไอ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงยุติธรรม ระบุในคำแนะนำเมื่อ พ.ค.65 ว่าพนักงานไอทีของเกาหลีเหนือสามารถมีรายได้สูงถึง 300,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี สร้างรายได้รวมกันหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐทุกปี เมื่อ 12 ธ.ค .67 กระทรวงยุติธรรมได้ฟ้องคนงานไอทีชาวเกาหลีเหนือ 14 คน ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับบริษัท Yanbian Silverstar และ Volasys Silverstar ข้อหาเกี่ยวข้องกับการสมคบคิดละเมิดมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และก่ออาชญากรรมการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล การฉ้อโกงทางสายโทรศัพท์ รวมถึงการฟอกเงิน ซึ่งภายใต้การนำของนาย Jong Song Hwa ซีอีโอของ Yanbian Silverstar…

อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กและสามีถูกจับกุมข้อหาเป็นสายลับให้จีน

Loading

เว็บไซต์ Daily Mail รายงานเมื่อ 5 4 ก.ย.67 ว่า นาง Linda Sun อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กและนาย Christopher Hu สามี ถูกกล่าวหาว่าเป็นสายลับให้จีนและถูกตั้งข้อหาจารกรรมและฟอกเงิน หลังจากที่ จนท.บุกเข้าตรวจค้นคฤหาสน์หรูมูลค่า 4 ล้านเหรียญสหรัฐของเธอที่ Long Island รัฐนิวยอร์ก สหรัฐฯ นาง Sun และสามี ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นจำนวนหลายล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ใช้ชีวิตอย่างหรูหรา โดยซื้อคอนโดมีเนียมที่ฮาวายมูลค่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐและถยนต์ Ferrari รุ่นปี 2024 นาง Sun ใช้อิทธิพลของเธอเอื้อประโยชน์ต่อจีนในประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์ ด้วยการยกเลิกการประชุมกับ จนท.ไต้หวัน และเปลี่ยนทิศทางการวิพากษ์วิจารณ์ไปในเชิงลบต่อชาวมุสลิมอุยกูร์ในจีน

มาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของสิงคโปร์

Loading

เมื่อ 3 ต.ค.66 นาง Josephine Teo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศ และรัฐมนตรีคนที่สองกระทรวงมหาดไทยของสิงคโปร์ แถลงต่อรัฐสภา หลังมีสมาชิกรัฐสภามากกว่า 20 คน ตั้งคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของรัฐบาลในการดำเนินการกรณีคดีฟอกเงินครั้งใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์เมื่อไม่นานมานี้ รวมถึงมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของสิงคโปร์ต่ออาชญากรต่างชาติ

ทั่วโลกคุมเข้ม ‘คริปโทฯ’ หวั่นเป็นแหล่งฟอกเงิน

Loading

  มูลค่าของ “คริปโทเคอร์เรนซี” อย่างบิตคอยน์ และอีเทอเรียม เพิ่มขึ้นสูงอย่างมาก ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และนักลงทุนแห่ซื้อขายกันอย่างมากมาย ขณะที่ต้นเดือนที่ผ่านมา “ตุรกี” ออกกฎหมายใหม่ แบนการชำระค่าสินค้าและบริการด้วย “สินทรัพย์ดิจิทัล” อย่างคริปโทเคอร์เรนซี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ทั้งนี้ ไม่ได้มีเพียงตุรกีเท่านั้นที่ออกกฎหมายเข้าควบคุมคริปโทฯ แต่เป็นเทรนด์ของหลายประเทศที่กำลังร่างกฎหมายเพื่อเข้าควบคุมตลาดคริปโทฯ หรือได้ออกกฎหมายไปแล้ว หรือบางประเทศก็ออกกฎหมายให้คริปโทฯ เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายไปเลย ซีเอ็นบีซีรายงานว่า กระแสความร้อนแรงของคริปโทเคอร์เรนซีที่เติบโตอย่างรวดเร็ว กำลังเป็นภัยต่อระบบการเงินของแต่ละประเทศอย่างมาก โดยการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านคริปโทฯ ทำให้ธนาคารกลางติดตามการทำธุรกรรมการเงินได้ยากขึ้น ซึ่งจะทำให้อาจเข้ามามีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายทางการเงิน รวมทั้งเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ และคริปโทเคอร์เรนซีมักจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมผิดกฎหมาย อย่างการฟอกเงิน และการหลีกเลี่ยงภาษี แม้ว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนทำให้ทุกคนทราบถึง “มูลค่า” ต้นทาง และปลายทางการทำธุรกรรม แต่ไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดถึงตัวตนคนทำธุรกรรมคือใคร แม้ว่าการทำธุรกรรมผิดกฎหมายผ่านคริปโทฯ ปีที่แล้วมีเพียง 0.34% จากการทำธุรกรรมทั้งหมด ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้าที่สูงถึง 2% แต่ปัจจัยทั้งด้านเสถียรภาพทางการเงิน รวมถึงความเสี่ยงในการทำผิดกฎหมาย ทำให้รัฐบาลทั่วโลกเดินหน้าร่างกฎหมายเพื่อเข้าควบคุมตลาดคริปโทฯ ก่อนหน้านี้ ประเทศแอลจีเรีย, อียิปต์, โมร็อกโก, โบลิเวีย และเนปาล ได้ออกกฎหมายว่าการครอบครองคริปโทเคอร์เรนซี หรือการทำธุรกรรมการเงินผ่านคริปโทฯ…