“สงครามไซเบอร์สหรัฐฯ–จีน”

Loading

แอปพลิเคชัน DeepSeek โดนโจมตีแบบ DDoS หรือ Distributed Denial-of-Service ทำให้การลงทะเบียนผู้ใช้ใหม่ล่าช้า ถึงขนาดต้องจำกัดการลงทะเบียนชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหานี้นอกจากโจมตีแบบ DDoS แล้ว ยังโดนสร้างแอปพลิเคชัน DeepSeek ปลอมและเว็บไซต์ฟิชชิง เพื่อ

กลุ่ม APT “DoNot Team” ใช้มัลแวร์ Tanzeem โจมตีองค์กรในเอเชียใต้

Loading

นักวิจัยด้านความปลอดภัยไซเบอร์จาก CYFIRMA ได้เปิดเผยการค้นพบมัลแวร์ Android ตัวใหม่ที่มีชื่อว่า Tanzeem และ Tanzeem Update ซึ่งเชื่อมโยงกับกลุ่ม APT ของอินเดียที่รู้จักกันในชื่อ DoNot Team หรือ APT-C-35 กลุ่มนี้มีเป้าหมายโจมตีองค์กรภาครัฐ หน่วยงานทหาร กระทรวงการต่างประเทศ และสถานทูตในประเทศแถบเอเชียใต้ เช่น อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และบังกลาเทศ

เอสเอ็มอีไทยน่าห่วง! สกมช.เผยกว่า 65% โดนภัยไซเบอร์ล็อคเป้าโจมตี

Loading

  สกมช.เผยผลสำรวจพบผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 65% ไทยโดนโจมตีทางไซเบอร์ มัลแวร์ตัวร้ายมาเป็นอันดับหนึ่ง กว่า 90% ตามด้วยฟิชชิง เหตุเพราะว่าโซลูชันด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะตรวจจับ ทำธุรกิจสะดุด-รายได้วูบ 47%   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เผยว่า ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ThaiCERT) ระบุว่า ข้อมูลในช่วงที่ผ่านมาพบว่า เหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์มีการโจมตีมากกว่า 1,827 เหตุการณ์ ซึ่งเป็นการโจมตีทางฝั่งภาคเอกชน 124 เหตุการณ์   โดยการโจมตีทางไซเบอร์ต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งด้านการเงินและชื่อเสียงองค์กร พบว่ากว่า 65% ของเอสเอ็มอีล้วนแต่ถูกโจมตีทางโซเบอร์ โดยผลการวิจัยในปีที่ผ่านมาจาก Cybersecurity for SMBs: Asia Pacific Businesses Prepare for Digital Defense by Cisco พบว่า ธุรกิจในไทยโดยประมาณ 56% ได้ประสบปัญหาการดำเนินงานหยุดชะงักเนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์   “เหตุผลที่ธุรกิจเอสเอ็มอีจำเป็นต้องมีโซลูชันด้านความปลอดภัยเนื่องจากตกเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ถูกโจมตีมากขึ้น” ภัยคุกคามทั้งความมั่นคง-กฎหมาย…

‘ไมโครซอฟท์’ แนะยุทธวิธี ใช้ ‘AI’ ปกป้องข้อมูลองค์กร

Loading

    “ไมโครซอฟท์” เผยภาพรวมสถานการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ปี 2567 พบว่า ลูกค้าของไมโครซอฟท์ทั่วโลกเผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์จากอาชญากรมากกว่า 600 ล้านครั้งต่อวัน   ไม่ว่าจะเป็น การโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หรือ แรนซัมแวร์ ไปจนถึงฟิชชิง (Phishing) และการโจมตีข้อมูลประจําตัว (Identity Attacks) พบด้วยว่า วิธีการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เพิ่มขึ้น 2.75 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา   ข้อมูลทางสถิติชี้ให้เห็นว่า อาชญากรรมทางไซเบอร์และการฉ้อโกงที่มุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเงินยังคงเป็นภัยคุกคามที่พบได้บ่อยที่สุด   ดึง AI กันภัยคุกคามองค์กร   สำหรับเทคนิคการเข้าถึงที่พบมากที่สุด ยังคงเป็นวิศวกรรมสังคม (Social Engineering) โดยเฉพาะการฟิชชิงทางช่องทางต่างๆ รวมถึงการขโมยข้อมูลประจำตัว และการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในแอปพลิเคชันที่เปิดให้บริการแบบสาธารณะ หรือระบบปฏิบัติการที่ไม่ได้รับการอัปเดต   นอกจากนี้ การหลอกลวงผ่านทางเทคโนโลยี (Tech scams) เพิ่มสูงขึ้นถึง 400% ตั้งแต่ปี 2565 โดยในปีที่ผ่านมาได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีความถี่รายวันเพิ่มขึ้นจาก 7,000 ครั้งในปี 2566 เป็น…

ใช้อย่างระวัง ค้นหาข้อมูลผ่าน ChatGPT เสี่ยงเจอ ลิงก์ปลอม ซ่อนมัลแวร์

Loading

  เมื่ออาทิตย์ก่อน OpenAI เพิ่งเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่ชื่อว่า “ChatGPT Search” ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้โดยตรงในอินเทอร์เฟซได้ง่าย ๆ แต่แคสเปอร์สกี้ได้ออกมาเตือนว่า ควรระมัดระวังการคลิกลิงก์ที่ ChatGPT แนะนำ เพราะอาจเป็นลิงก์ฟิชชิงหรือเว็บไซต์ปลอม   ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้พบว่า ChatGPT Search อาจแสดงลิงก์ฟิชชิง หรือ ลิงก์ปลอม โดยเฉพาะเมื่อค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับเงินดิจิทัล เช่น เกมคริปโต หรือเว็บไซต์แลกเปลี่ยนเงินคริปโต ลิงก์เหล่านี้อาจปรากฏในชื่อเว็บไซต์ เนื้อหา หรือผลลัพธ์การค้นหา โดยมักจะหลอกล่อให้ผู้ใช้เชื่อมต่อกระเป๋าเงินดิจิทัล   อย่างไรก็ตาม เมื่อค้นหาแบรนด์ดัง 5 อันดับแรกที่ตกเป็นเป้าหมายของการฟิชชิงมากที่สุด ChatGPT Search กลับแสดงลิงก์ที่ถูกต้อง แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงนี้คล้ายกับที่พบในเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ อย่าง Google โดยลิงก์ฟิชชิงอาจปรากฏขึ้นในผลการค้นหาชั่วคราว   ChatGPT Search มักจะแสดงลิงก์ที่ถูกต้อง แต่บางครั้งก็อาจเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าสงสัย ซึ่งยังไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าจะไม่มีลิงก์ฟิชชิงหลุดรอดออกมา ดังนั้น ผู้ใช้ควรระมัดระวัง ตรวจสอบลิงก์ก่อนคลิกทุกครั้ง และอัปเดตซอฟต์แวร์ความปลอดภัยอยู่เสมอ เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์   แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำให้ผู้ใช้พิจารณาคำตอบและผลการค้นหาของบอตด้วยความระมัดระวัง เพื่อการใช้อินเทอร์เน็ตและเข้าเว็บอย่างปลอดภัยคือ…

แฮ็กเกอร์ใช้ ‘URL Protection’ ซ่อนลิงก์ฟิชชิง

Loading

การโจมตีของแฮ็กเกอร์นั้นนับวันก็จะยิ่งก้าวล้ำและมีความแปลกใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะหากโจมตีสำเร็จผลตอบแทนที่แฮ็กเกอร์ได้รับจะมีมูลค่าสูงซึ่งถือว่ามีความคุ่มค่าและน่าดึงดูดใจเป็นอย่างมาก