‘Phishing’ ระบาดในอาเซียน ‘ไทย’ หนักสุด

Loading

  แคสเปอร์สกี้ ระบุว่า ช่วงครึ่งปีแรก (มกราคม – มิถุนายน 2024) เทคโนโลยีต่อต้านฟิชชิง (anti-phishing) ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบการโจมตีด้วยฟิชชิงการเงินจำนวน 336,294 ครั้งที่พยายามโจมตีองค์กรและธุรกิจต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   เอเดรียน เฮีย กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ เผยว่า อาชญากรใช้วิธีแอบอ้างเป็นแบรนด์อีคอมเมิร์ซ ธนาคารและการชำระเงิน มีเป้าหมายเพื่อขโมยข้อมูลประจำตัวและข้อมูลละเอียดอ่อนอื่น ๆ   การโจมตีด้วยฟิชชิงทางการเงินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอาชญากรไซเบอร์พัฒนาและปรับเปลี่ยนกลวิธีให้ซับซ้อนอย่างต่อเนื่อง จำนวนการโจมตีเพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับหกเดือนแรกของปีที่แล้ว   รับการกระตุ้นจากการนำระบบดิจิทัลมาใช้มากขึ้น รวมถึงการใช้ปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติโดยผู้ก่อภัยคุกคาม เพื่อสร้างเนื้อหาที่น่าเชื่อถือและกำหนดเป้าหมายการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น   ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้ที่มีแนวโน้มจะตกเป็นเหยื่อนั้นเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการใช้งานธนาคารออนไลน์และเงินดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้น   ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ระบุว่า การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลมาจากกิจกรรมฉ้อโกงที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่การที่ผู้ใช้ระมัดระวังน้อยลง อาชญากรทางไซเบอร์เริ่มรุกรานมากขึ้นเพื่อหาข้อมูลและเงินของผู้ใช้ ซึ่งรวมถึงดีไวซ์ขององค์กรด้วย   ฟิชชิงทางการเงินเป็นการโจมตีรูปแบบหนึ่งของฟิชชิง ซึ่งเป็นการฉ้อโกงโจมตีธนาคาร ระบบการชำระเงินและร้านค้าดิจิทัล เป็นวิธีการที่ผู้โจมตีหลอกล่อเหยื่อให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลที่มีค่า   เช่น ข้อมูลรับรองเพื่อเข้าสู่ระบบบัญชีทางการเงิน รวมถึงข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลองค์กรอื่นๆ ที่จัดเก็บไว้ในบัญชี…

แนะขั้นตอนสร้างเกราะป้องกันภัยไซเบอร์ ลดความเสี่ยงองค์กรโดนโจมตีต้องทำอย่างไร?

Loading

    ประเทศไทยถือเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ที่เป็นเป้าหมายการถูกโจมตีทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ จากเหล่าแฮ็กเกอร์ ทั้งการแฮ็กข้อมูลขององค์กร และข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเรียกค่าไถ่ การถูกฟิชชิง และมัลแวร์ เป็นต้น   อย่างล่าสุด ข้อมูลจาก  แคสเปอร์สกี้ เผยว่า ฟิชชิงการเงินคุกคามธุรกิจอาเซียนอย่างหนัก และไทยครองที่ 1 ถูกโจมตี พุ่งสูงมากกว่า 1.4 แสนครั้ง การป้องกันภัยไซเบอร์ ต้องทำอย่างไร?  ทาง แคสเปอร์สกี้ มีคำแนะนำสำหรับองค์กรและธุรกิจทุกขนาดเพื่อปกป้ององค์กรจากภัยไซเบอร์ เริ่มที่   กระบวนการและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Process and Best Practices)   1.อัปเดตซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ทั้งหมดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันผู้โจมตีจากการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่และแทรกซึมเข้าสู่เครือข่ายขององค์กร 2. ติดตั้งแพตช์ที่พร้อมใช้งานสำหรับโซลูชัน VPN เชิงพาณิชย์โดยทันที เพื่อให้พนักงานที่ทำงานระยะไกลเข้าถึงได้และทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ในเครือข่าย 3.สำรองข้อมูลเป็นประจำ และตรวจสอบว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเมื่อจำเป็นหรือในกรณีฉุกเฉิน 4.หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดและติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์หรือซอฟต์แวร์จากแหล่งที่ไม่รู้จัก หรือไม่ผ่านการตรวจสอบ 5. ห้ามเปิดเผยบริการเดสก์ท็อป/การจัดการระยะไกล (เช่น RDP, MSSQL เป็นต้น) ให้กับเครือข่ายสาธารณะ ควรใช้รหัสผ่านที่แข็งแกร่ง ใช้…

‘พฤติกรรมดิจิทัล’เป้าโจมตี อาชญากรไซเบอร์ – จับตา ‘ฟิชชิ่ง’ ระบาดหนักในไทย!

Loading

  พฤติกรรมดิจิทัลแบบใหม่ คือ “เป้าหมายโจรไซเบอร์” แคสเปอร์สกี้ เผยตัวเลขการตรวจพบ “ฟิชชิ่งการเงิน” มากกว่า 1.6 ล้านรายการในอาเซียน และ “1.2 แสนรายการ” ในไทย   การระบาดครั้งใหญ่ได้เร่งการใช้งานดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างพฤติกรรมทางดิจิทัลใหม่ ๆ ให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ทั้งที่เกี่ยวข้องกับเหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพและอื่น ๆ อาชญากรไซเบอร์ก็ใช้ประโยชน์จากกระแสนี้และกำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้เพื่อประโยชน์ของตนโดยเฉพาะ   ผู้ใช้งานระบบการชำระเงิน ร้านค้าออนไลน์ และธนาคารออนไลน์เป็นเป้าหมายด้านการเงินที่สำคัญสำหรับฟิชเชอร์ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ข้อมูลของแคสเปอร์สกี้ แสดงให้เห็นว่ามีการตรวจพบและบล็อกการโจมตีฟิชชิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเงินมากถึง 1,604,248 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   สัดส่วนการตรวจจับสูงสุดแบ่งเป็นการโจมตีที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงิน 840,254 รายการ รองลงมาคือร้านค้าอีคอมเมิร์ซ 621,640 รายการ และธนาคารออนไลน์ 142,354 รายการ   ข้อมูลข้างต้นมาจากข้อมูลที่ไม่ระบุชื่อผู้ใช้โดยอิงจากการทริกเกอร์องค์ประกอบที่กำหนดในระบบ Anti-Phishing ของแคสเปอร์สกี้บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ คอมโพเนนต์จะตรวจจับเพจทั้งหมดที่มีเนื้อหาฟิชชิ่งที่ผู้ใช้พยายามเปิดโดยคลิกลิงก์ในข้อความอีเมลหรือบนเว็บที่ลิงก์ไปยังเพจที่มีอยู่ในฐานข้อมูลแคสเปอร์สกี้   ฟิชชิ่ง คือ การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอข้อมูลที่สำคัญเช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือเมสเซนเจอร์…