แคสเปอร์สกี้ พบการโจมตีออนไลน์ในไทยลดลง ภัยคุกคามออฟไลน์กลับเพิ่มขึ้น

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ปี 2023 ของไทย ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บที่มีเป้าหมายโจมตีผู้ใช้เกือบ 13 ล้านรายการ   ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่เกิดและพบบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อมีการรายงานจากสื่อต่างๆ การโจมตีทางไซเบอร์เหล่านี้ส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ซึ่งเก็บข้อมูลส่วนบุคคล หรือแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งที่ผ่านมาภัยคุกคามทางไซเบอร์สร้างความเสียหายทั้งต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ ธุรกิจเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้นทุกที   ในปี 2023 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามในการคุกคามเว็บจำนวน 12,923,280 รายการบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในประเทศไทยที่เข้าร่วม Kaspersky Security Network (KSN) ซึ่งมีสัดส่วนน้อยกว่าปีที่แล้ว 25.28% (17,295,702 รายการ)   การโจมตีผ่านเว็บเบราว์เซอร์ เป็นวิธีการหลักในการแพร่กระจายโปรแกรมที่เป็นอันตราย การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในเบราว์เซอร์และปลั๊กอิน (ไดรฟ์บายดาวน์โหลด) รวมถึงวิศวกรรมสังคม เป็นวิธีที่อาชญากรไซเบอร์ใช้ในการเจาะระบบโดยทั่วไปมากที่สุด   แคสเปอร์สกี้ตรวจพบเหตุการณ์โจมตีแบบออฟไลน์จำนวน 22,268,850 รายการ ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าปีที่แล้ว 4.36% (22,268,850 รายการ)   โดยส่วนใหญ่แล้ว เวิร์มและไฟล์ไวรัสเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในเครื่อง ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความถี่ที่ผู้ใช้ถูกโจมตีโดยมัลแวร์ที่แพร่กระจายผ่านไดรฟ์ USB แบบถอดได้ ซีดี…

Google ยกระดับคุมเข้มการส่งอีเมลจำนวกมาก เริ่ม เมษายนนี้

Loading

มาตรการใหม่ของ Google น่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ที่ส่งอีเมลประชาสัมพันธ์ในปริมาณมากตั้งแต่ 5,000 ฉบับต่อวันขึ้นไป โดยจะมีการเพิ่มอัตราการปฏิเสธการส่งอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เมษายนนี้เป็นต้นไป

ระวัง!! ภัยร้ายไซเบอร์ ป่วนหนักยิ่งกว่าเดิม

Loading

  “แคสเปอร์สกี้” เตือนภัย อันตรายทางไซเบอร์จะยิ่งรุนแรงเพิ่มขึ้นในปี 2024 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฟิชชิ่ง กลโกง การละเมิดข้อมูล การโจมตี APT แรนซัมแวร์ รวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีแรงจูงใจจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์การเมือง   Keypoints : •  ขับเคลื่อนด้วย “ความก้าวหน้าด้านดิจิทัล” และ “ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์” •  ผู้คนหลายแสนคนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมปฏิบัติการหลอกลวงออนไลน์ •  ผู้ก่อภัยคุกคามมักใช้เทคนิควิศวกรรมสังคมที่ซับซ้อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย •  บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก “แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky)” เปิดคาดการณ์ภาพรวมภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ปีนี้ โดยระบุว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ จะขับเคลื่อนด้วย “ความก้าวหน้าด้านดิจิทัล” อย่างรวดเร็วและ “ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์”   วิทาลี คัมลัก หัวหน้าศูนย์วิจัยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลก (GReAT) แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียแปซิฟิกยังคงเติบโตอย่างทวีคูณ และคาดว่าจะรักษาโมเมนตัมเอาไว้ได้ในอีกห้าปีข้างหน้า   ด้วยความพยายามในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รวมถึงการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ เช่น การชำระเงินดิจิทัล, Super…

‘โจรไซเบอร์’ ป่วนหนักองค์กรไทย ล็อกเป้า ‘ภาครัฐ – ทหาร – การผลิต – การเงิน’

Loading

  รายงานล่าสุดโดย “เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์” พบว่า ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาระหว่างเดือน ก.ค. – ธ.ค. 2566 หน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยถูกโจรไซเบอร์โจมตีมากถึง 1,892 ครั้งต่อสัปดาห์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกกว่าที่ถูกโจมตีประมาณ 1,040 ครั้ง กว่า 800 ครั้ง   Keypoints : •  เป้าหมายหลักคือ หน่วยงานภาครัฐ การทหาร อุตสาหกรรมการผลิต และการเงินการธนาคาร •  ท็อป 3 ภัยคุกคามคือ บอทเน็ต (Botnet), คริปโทไมเนอร์ (Cryptominer), และแรนซัมแวร์ •  ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการโจมตีทั้งแบบฟิชชิ่ง การหลอกลวงรูปแบบต่าง ๆ และการปล้นทรัพยากร (Resource Hijacking)   ชาญวิทย์ อิทธิวัฒนะ ผู้จัดการสาขาประจำประเทศไทย บริษัท เช็ค…

คนไม่ไหว AI ต้องช่วย! ระวังปี 67 ภัยไซเบอร์ล้นมือ (Cyber Weekend)

Loading

  ชัดเจนแล้วว่าแนวโน้มหลักในวงการไซเบอร์ซิเคียวริตีปี 2567 จะต่อยอดจากปี 2566 ทั้งภาวะภัยออนไลน์ที่ส่อแววล้นทะลักยิ่งขึ้นจนมนุษย์ไม่อาจจัดการได้เอง และการยกทัพปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาช่วยเสริมแกร่งกระบวนการต้านโจรไฮเทค   สถานการณ์แบบนี้ทำให้หลายบริษัทหนักใจกับระบบไซเบอร์ซิเคียวริตีของตัวเอง โดยเฉพาะบริษัทที่ยังใช้งานอุปกรณ์เครือข่ายรุ่นดั้งเดิม ซึ่งอาจใช้งานคนละยี่ห้อหรือมีการแยกกันทำงานเป็นชิ้นเพราะเมื่อทำงานร่วมกันไม่ได้ การสร้างระบบป้องกันภัยไซเบอร์ที่ทำงานอัตโนมัติก็เกิดไม่ได้จึงต้องมีการเพิ่มพนักงานเข้ามาดูแล และสุดท้ายทำให้ไม่สามารถพาตัวเองให้รองรับภัยมหาศาลในปีถัด ๆ ไป แถมยังอาจทำให้เสียต้นทุนโดยใช่เหตุ   ความเสียหายนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะผลวิจัยบอกว่าเวลาที่ถูกโจมตี บริษัทส่วนใหญ่ใช้เวลาเฉลี่ยกว่า 21 วันในการตรวจสอบพบเจอ แปลว่ากว่าจะได้เริ่มดำเนินการอุดช่องโหว่แฮ็กเกอร์สามารถนำข้อมูลไปทำสิ่งร้ายได้นานหลายสัปดาห์แล้ว ความท้าทายเหล่านี้ทำให้คำว่าการดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย (Security Operations) หรือที่คนทั่วโลกเรียกกันว่า SecOps นั้นมีความสำคัญมากขึ้น โดยการสำรวจล่าสุดพบว่า 52% ของบริษัททั่วโลกนั้นมอง SecOps เป็นงานมีความยุ่งยาก และบริษัทในประเทศไทยจำนวนมากยังไม่มี   ***ภัยล้นคนไม่ไหว   รัตติพงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย กล่าวถึงผลสำรวจใหม่ที่จัดทำร่วมกับ IDC เกี่ยวกับสถานการณ์การดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย ในหัวข้อ The State of…

เปิดโผ ‘วายร้ายไซเบอร์’ ไทยเผชิญ ‘ฟิชชิ่ง-แรนซัมแวร์’ พุ่งสูงขึ้น

Loading

  ไทย เผชิญภัยไซเบอร์เพิ่มขึ้น ระบุเหตุการณ์โจมตีด้วยแรนซัมแวร์ในไทยขยายเพิ่มถึงสองเท่าตัวในปี 2023 เมื่อเทียบปี 2022 ขณะที่ ‘ฟิชชิ่ง’ และ ‘การขโมยข้อมูลส่วนตัว’ คือภัยคุกคามไซเบอร์ที่ส่งผลมากที่สุด องค์กร 50% จัดอันดับให้เป็นภัยคุกคามที่สร้างความกังวลใจอันดับต้น ๆ   ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เผยผลสำรวจใหม่ ที่จัดทำโดย IDC เกี่ยวกับสถานการณ์การดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย ในหัวข้อ The State of Security Operations (SecOps) ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เน้นถึงบทบาทของ AI และระบบอัตโนมัติ ที่เข้ามาช่วบจัดการภัยไซเบอร์ ได้ในหลายแง่มุม   โดยภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบมากที่สุด ฟิชชิ่ง และการขโมยข้อมูลส่วนตัวคือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลมากที่สุด ซึ่งองค์กรเกือบ 50% จัดอันดับให้ภัยคุกคามดังกล่าวเป็นความกังวลใจอันดับต้น   โดยภัยคุกคามห้าอันดับแรก ได้แก่ •  ฟิชชิ่ง •  การขโมยข้อมูลส่วนตัว •  แรนซัมแวร์ •  ช่องโหว่ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข • …