‘อาชญากรรมไซเบอร์’ ระบาดหนัก ปลุก ’งบฯ ซิเคียวริตี้’ โตสวนศก.โลก

Loading

    ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั้งกับธุรกิจขนาดใหญ่ไล่ไปจนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก จึงกลายเป็นภารกิจหลักของผู้บริหารระดับสูงของทุกองค์กร ขณะที่ อาชญากรรมไซเบอร์ใช้เครื่องมือสำเร็จรูปมากขึ้นและผสานการโจมตีหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน   “เพียร์ แซมซัน” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ (CRO) บริษัท Hackuity ตั้งข้อสังเกต พร้อมยกคาดการณ์ ที่ระบุว่าภายในปี 2568 ภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลกจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลก สูงกว่า 10.5 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อปี 2558   สำหรับปี 2566 นี้ คาดว่า ภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลก น่าจะสร้างความเสียหายประมาณ 8 ล้านล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของ Cybersecurity Ventures บริษัทวิจัยทางการตลาดในสหรัฐอเมริกา และยังระบุอีกว่า ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่พบบ่อย เช่น   -การล่อลวงด้วยฟิชชิง (phishing scams)   -มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware)   -มัลแวร์ (malware)   -การละเมิดข้อมูล และเทคนิควิศวกรรมสังคม…

ยูเครนทลายรังโจรไซเบอร์สร้างตลาดออนไลน์ปลอมหลอกเอาข้อมูลเหยื่อ

Loading

  ตำรวจยูเครนจับกุม 2 ผู้ต้องหา และคุมตัวผู้เกี่ยวข้องอีก 10 ราย สำหรับความเชื่อมโยงกับแก๊งอาชญากรรมไซเบอร์ที่ใช้วิธีฟิชชิ่งและเปิดตลาดออนไลน์ในการขโมยเงินกว่า 4.3 ล้านเหรียญ (ราว 146 ล้านบาท) จากเหยื่อ 1,000 รายทั่วยุโรป   แก๊งที่ว่านี้สร้างเว็บไซต์ดูดข้อมูลมากกว่า 100 แห่งเพื่อหลอกเอาข้อมูลบัตรธนาคารของเหยื่อ และล้วงข้อมูลบัญชี   เว็บไซต์เหล่านี้หลอกว่าขายผลิตภัณฑ์หลายตัวในราคาต่ำกว่าตลาด ซึ่งเมื่อเหยื่อเผลอกรอกข้อมูลทางการเงินเพื่อซื้อสินค้าเหล่านี้ ก็จะถูกขโมยข้อมูลทันที ก่อนจะสูญเงินไปทั้งหมด   นอกจากนี้ ยังมีการเปิดคอลเซ็นเตอร์ 2 แห่ง ตั้งอยู่ในเมืองวินนิตเซีย และลวิฟ ของยูเครน ซึ่งมีการจ้างพนักงานที่มีหน้าที่คอยดึงดูดให้เหยื่อเข้ามาซื้อสินค้า   เหยื่อมาจากหลายประเทศทั่วยุโรป ทั้ง เช็กเกีย โปแลนด์ ฝรั่งเศส สเปน และโปรตุเกส   2 ผู้ต้องหาสำคัญที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าเป็นหัวโจกถูกตั้งข้อหาฉ้อโกง และสร้างองค์กรอาชญากรรม มีโทษจำคุกสูงสุด 12 ปี ขณะที่เครือข่ายอีก 10 รายถูกเจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรปคุมตัวไว้สอบสวนต่อไป   โดยตำรวจยูเครนได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของเช็กเกียจนนำมาสู่การทลายรังโจรในครั้งนี้…

แฮ็กเกอร์บุกแชตบอต สร้าง ChatGPT ปลอมทำหน้าที่กระจายมัลแวร์

Loading

  แชตบอต (ChatBot) กลายเป็นกระแสหลักเรียบร้อยแล้ว เมื่อแฮกเกอร์ ผู้ไม่ประสงค์ดีบนโลกอินเทอร์เน็ต เดินหน้าสร้าง ChatGPT ปลอม โดยมีจุดมุ่งหมายหลักสำหรับกระจายมัลแวร์ (Malware)   ChatGPT กลายเป็นแอปพลิเคชันที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก แล้วด้วยกระแสความแรงที่ว่านี้ ส่งผลให้แฮกเกอร์ได้นำแชตบอตมาเป็นอาวุธใหม่สำหรับการหลอกลวงผู้คนบนโลกอินเทอร์เน็ต   ChatGPT ขึ้นแท่นแอปพลิเคชันเติบโตเร็วที่สุดในโลก มีผู้ใช้งานต่อเดือนมากกว่า 100 ล้านคน   โดมินิก อัลวิเอรี นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เปิดเผยว่า ได้ค้นพบการพัฒนา ChatGPT ปลอมบนโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก โดยหน้าที่ของ ChatGPT ปลอมเหล่านี้ มีหน้าที่หลักในการกระจายมัลแวร์ และโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ   พร้อมกันนี้ ยังได้พบการจดโดเมนที่มีความเกี่ยวข้องกับ ChatGPT ไม่ต่ำกว่า 1.4 พันโดเมน แม้ว่าโดเมนเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำไปใช้ในแนวทางที่เลวร้ายทั้งหมด แต่โดเมนบางส่วนก็ถูกจดนำไปใช้ในด้านที่ไม่ดีเรียบร้อยแล้วเช่นกัน   ในช่วงที่ผ่านมา บรรดาแอปพลิเคชัน ChatGPT ปลอม พยายามโน้มน้าวและหลอกลวงผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตว่า มีแอปพลิเคชัน ChatGPT สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows เมื่อเหยื่อหลงกลก็จะติดมัลแวร์…

ไม่รอด! สแกมเมอร์บุก ChatGPT ปั่น AI ไว้หลอกลวงผู้คน

Loading

  เมื่อ ChatGPT กลายเป็นเครื่องมือของเหล่านักเขียน นักเล่าเรื่อง ที่เป็นกระแสเรียกความสนใจจากคนทั่วโลก โดย AI ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการแบ่งเบาภาระให้กับการทำงานแบบเดิม แม้จะมีปัญหาตรงที่ยังสู้คนเขียนจริง ๆ ไม่ได้ แต่เรื่องของการพัฒนาระบบถือว่าใช้ได้   ดังนั้น ChatGPT จึงกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือให้เหล่าแฮ็กเกอร์ใช้ในการสร้างเรื่องหลอกลวงผู้คนทั้งข้อมูลส่วนตัวและหลอกเงิน ผ่านข้อความที่ไม่สามารถคาดเดาได้เลยและยังไม่มีวิธีป้องกันอันตรายจากภัยคุกคามเหล่านี้ได้ด้วย   อย่างไรก็ตาม ChatGPT ยังมีประโยชน์ในแง่ของการใช้งานเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมาก แต่ด้วยความเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่มีการป้องกันที่รัดกุม ทำให้แฮ็กเกอร์เอง ก็กำลังเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ในการนำไปใช้ในการหลอกลวงผู้คนเช่นกัน     มัลแวร์ (Malware)   เหล่าแฮ็กเกอร์ใช้รูปแบบของการติดไวรัสในอุปกรณ์บางอย่าง จากนั้นระบบปฏิบัติการณ์จะสั่งให้อัปเดตอุปกรณ์เพื่อป้องกันมัลแวร์   จากนั้นก็จะใช้การแจ้งเตือนให้ประชาชนทั่วไปรู้สึกถึงแรงอันตรายจนนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีต้องออกมาเตือนถึงปัญหาภัยคุกคาม   ซึ่ง ChatGPT มีความสามารถในการเขียนโค้ดที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะ AI ที่มีความสามารถในการเขียนมัลแวร์แบบโพลีมอร์ฟิค ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยังไม่สามารถตรวจจับหรือป้องกันได้   นอกจากนี้ เหล่าแฮคเกอร์ยังใช้ ChatGPT เขียนโค้ดอันตรายมาก ๆ ให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าพวกเขากำลังโดนหลอกจากการหลอกโจมตีด้วยมัลแวร์แบบ 24 ชั่วโมง  …

5 วิธีหนี Scammer โจรไซเบอร์จ้องป่วนโซเชียล

Loading

    ปัจจุบัน Facebook และ Instagram ถือเป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะกับ Facebook มีฐานผู้ใช้ที่ใหญ่ที่สุด มากถึง 2.9 พันล้านคนต่อเดือน แบ่งออกเป็นผู้ใช้งานที่หลากหลาย ถือเป็นกลุ่มเหยื่อที่ใหญ่ที่สุดสำหรับ Scammer หรือนักต้มตุ๋นครับ   Techhub อยากพาทุกคนมารู้จักกับวิธีหนี Scammer หรือวิธีที่ Scammer มักใช้ พร้อมทั้งวิธีที่จะระวังตัวเองจากพวกมันได้ ไปดูกัน   1. Phishing Scams หรือ กลลวงฟิชชิง วิธีนี้ Scammer จะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลของเรา หลอกให้เราติดตั้งแอปเพิ่มเติม หรือนำเราไปยังเว็บไซต์ปลอมของธนาคารหรือเว็บไซต์เทรดคริปโต เพื่อให้เราใส่ข้อมูลของเราลงไป ซึ่ง Scammer จะทำการส่งลิงก์ต่าง ๆ ผ่าน อีเมล โพสต์ ข้อความ หรือเล่นกับความโลภของคน เช่น บอกว่าเราได้รางวัลนู่นนี่ แต่ต้องกรอกข้อมูลส่วนเพื่อที่จะส่งของ แล้วก็ไม่ส่งมาจริง ๆ   วิธีหลีกหนี Phishing…

ผ่าแนวคิด “สกมช.” มือปราบภัยไซเบอร์ รับมือ ภัยคุกคามป่วนหนัก

Loading

  ภัยไซเบอร์ ที่คุกคามเข้ามาส่งผลกระทบให้กับคนไทยในช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะมีรูปแบบเดิม ๆ คือ มัลแวร์ แรนซัมแวร์ ฟิชชิ่ง แล้ว ทุกวันนี้ออนไลน์ต้องเผชิญหน้ากับภัยจากการหลอกลวงให้โอนเงิน กดลิงก์ปลอม หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน หรือ แม้แต่การเสียบสายชาร์จสมาร์ตโฟน ก็สามารถทำให้เงินหายเกลี้ยงบัญชีได้ รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) เพื่อรับผิดชอบในส่วนนี้โดยเฉพาะ   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการสกมช. กล่าวว่า ภัยไซเบอร์ขององค์กรปีนี้ยังคงพบความเสี่ยงขององค์กรที่ไม่มีการอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์ จนกลายเป็นช่องโหว่ของ แก๊งแรนซัมแวร์ ในการขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ ประจาน และเปิดเผยข้อมูล ซึ่งทั่วโลกมีบริษัทถูกแฮกข้อมูลกว่า 100 บริษัทต่อเดือน   ขณะที่ประเทศไทยถูกแฮก เฉลี่ยเดือนละ 5-6 บริษัท แต่ไม่มีใครเปิดเผย เพราะกลัวมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ พีดีพีเอ   เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ให้ความสำคัญมากมีบริการ เครดิต วอช ด้วยการซื้อประกันข้อมูลรั่ว หากข้อมูลรั่วบริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกค้าและรัฐบาล เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยต้องมีบริการรูปแบบนี้…