หลอกให้โหลด โจมตีรูปแบบใหม่ Dormant Colours

Loading

  นักวิจัยที่ Guardio Labs ได้ตรวจพบแคมเปญการโจมตีใหม่โดยใช้งานส่วนขยายของ Chrome Web Store เป็นสื่อกลางในการเข้าถึงผู้ใช้งาน   ส่วนขยายทั้งหมดเป็นตัวเลือกที่ให้ผู้ใช้เปลี่ยนสีต่าง ๆ ของหน้าเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งมีมากกว่า 30 ตัว และมียอดดาวน์โหลดรวมกันมากกว่า 1 ล้านครั้ง   แอปทั้งหมดสามารถผ่านระบบตรวจสอบของ Google เบื้องต้นได้ เพราะแอปเหล่านี้จะทำตัวเองให้ดูเหมือนว่าปลอดภัย ซึ่งจะสามารถหลบเลี่ยงการตรวจสอบความปลอดภัยได้ นักวิเคราะห์จึงตั้งชื่อแคมเปญนี้ว่า “Dormant Colours” (Dormant แปลว่า สงบเงียบ หรืออยู่เฉย ๆ )   การติดไวรัสเริ่มต้นด้วยการที่ผู้ใช้คลิกโฆษณาหรือลิงก์แปลก ๆ เช่นลิงก์ดูวีดิโอหรือลิงก์โหลดโปรแกรม โดยเมื่อคลิกไปแล้ว เราจะถูกเปลี่ยนเส้นทางไปจากหน้าต่างใหม่ที่พยายามจะให้เราติดตั้งส่วนขยายเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถเปิดดูวีดิโอได้หรือดาวน์โหลดโปรแกรมได้สำเร็จครับ   แน่นอนว่า ในการติดตั้งนั้นจะไม่มีมัลแวร์ติดตั้ง แอปจะทำหน้าที่ของมันตามปกติ แต่เมื่อติดตั้งไปสักพัก ส่วนขยายเหล่านี้จะพยายามดาวน์โหลดส่วนเสริมที่อันตรายมาติดตั้งในเครื่อง หรือแม้กระทั่งแทรกลิงก์ฟิชชิ่งที่พยายามจะขโมยบัญชี Microsoft 365 หรือ Google Workspace ครับ  …

ภัยฟิชชิ่งอาเซียนระบาดหนัก “แคสเปอร์สกี้” พบยอดครึ่งปีแรกสูงกว่ายอดปีก่อนทั้งปี

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เผยยอดการระบาดของภัยฟิชชิ่งในอาเซียนครึ่งปีแรก สูงกว่ายอดปีก่อนทั้งปี เตรียมหนุนองค์กรสนใจ APT ที่พุ่งเป้าโจมตีเอ็นเทอร์ไพรซ์และภาครัฐ   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่าการโจมตีด้วยฟิชชิ่งยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อมูลล่าสุดจากแคสเปอร์สกี้พบว่าปีนี้อาชญากรไซเบอร์ใช้เวลาเพียงหกเดือนในการทำลายสถิติการโจมตีฟิชชิ่งของปีที่แล้วทั้งปี โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน ปี 2022 ระบบ Anti-Phishing ของแคสเปอร์สกี้ได้บล็อกลิงก์ที่เป็นอันตรายทั้งหมด 12,127,692 รายการในมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมากกว่าจำนวนการโจมตีด้วยฟิชชิงทั้งหมดที่ตรวจพบในภูมิภาคนี้เกือบถึงหนึ่งล้านรายการเมื่อเทียบกับปี 2021 ที่มีสถิติทั้งปี 11,260,643 รายการ   “ครึ่งปีแรกของปี 2022 มีเหตุการณ์ที่ดีและไม่ดี ในระดับบุคคลเราได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการพยายามฟื้นคืนสภาพหลังเกิดโรคระบาด การบังคับให้บริษัทและองค์กรต่างๆ ยอมรับการทำงานทางไกลและแบบผสมผสาน ภาคการเดินทางทั้งสายการบิน สนามบิน ตัวแทนท่องเที่ยว และอื่นๆ ได้ต้อนรับการหลั่งไหลของนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางหลังเปิดพรมแดน เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คือเครือข่ายและระบบที่จำเป็นต้องได้รับการอัปเดตและรักษาความปลอดภัยอย่างเร่งด่วน ในทางกลับกัน อาชญากรไซเบอร์ต่างก็รับรู้และสามารถปรับแต่งข้อความและใส่ประเด็นความเร่งด่วนที่น่าเชื่อถือ ทำให้เราได้เห็นเหตุการณ์โชคร้ายของเหยื่อที่สูญเสียเงินเนื่องจากการโจมตีแบบฟิชชิ่งนั่นเอง”   Kaspersky มีดีกรีเป็นบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก ขณะที่ฟิชชิ่งเป็นการโจมตีแบบวิศวกรรมสังคม ยังคงเป็นหนึ่งในวิธีการหลักที่ผู้โจมตีใช้เพื่อละเมิดเป้าหมายทั้งรายบุคคลและระดับองค์กร การศึกษาพบว่าฟิชชิ่งทำงานในวงกว้างโดยอาชญากรไซเบอร์ส่งอีเมลจำนวนมหาศาลโดยอ้างตัวว่าเป็นบริษัทหรือบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อโฆษณาเพจปลอมหรือทำให้ผู้ใช้ติดมัลวร์ด้วยไฟล์แนบที่เป็นอันตราย   “เป้าหมายสุดท้ายของการโจมตีแบบฟิชชิ่งคือการขโมยข้อมูลประจำตัว โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงินและการเข้าสู่ระบบ เพื่อขโมยเงิน…

‘ฟิชชิง-ช่องโหว่ซอฟต์แวร์’ ต้นตออุบัติการณ์ภัยไซเบอร์

Loading

  อาชญากรรมทางไซเบอร์ กำลังแผ่ขยาย กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อองค์กรธุรกิจ ลุกลามไปยังระบบเศรษฐกิจโลก เพราะเมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำไปมากเท่าไหร่ ช่องโหว่ของระบบยิ่งกว้างมากขึ้น รายงานการรับมืออุบัติการณ์จาก Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เผยว่า ปัญหาฟิชชิง และช่องโหว่ซอฟต์แวร์ คือต้นตอของอุบัติการณ์ทางไซเบอร์เกือบ 70% ที่ผ่านมาเกิดการใช้ ช่องโหว่ซอฟต์แวร์ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งตรงตามพฤติกรรมฉวยโอกาสของวายร้ายที่คอยสอดส่องมองหาช่องโหว่ และจุดอ่อนบนอินเทอร์เน็ตตามที่ตนเองต้องการ พบว่า ภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ อยู่ในกลุ่มที่โดนเรียกค่าไถ่ข้อมูลคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยสูงสุดที่เกือบ 8 ล้านดอลลาร์ และ 5.2 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ โดยรวมแล้วมัลแวร์เรียกค่าไถ่และภัยจากอีเมลหลอกลวงทางธุรกิจ (BEC – Business Email Compromise) ติดอันดับต้นๆ ตามประเภทอุบัติการณ์ที่พบบ่อย ซึ่งทีมรับมืออุบัติการณ์ได้เข้าไปช่วยจัดการในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยมัลแวร์เรียกค่าไถ่และภัยจากอีเมลหลอกลวงทางธุรกิจคิดเป็นราว 70% ของกรณีการรับมืออุบัติการณ์ทั้งหมด อาชญากรรมไซเบอร์ทำเงินง่าย เวนดี วิตมอร์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าทีม Unit42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ บอกว่า…

OpenSea แจ้งเตือนผู้ใช้ให้ระวังฟิชชิ่งเมล หลังพบข้อมูลอีเมลแอดเดรสหลุดจำนวนมาก

Loading

  OpenSea แพลตฟอร์ม NFT ได้แจ้งเตือนผู้ใช้กรณีข้อมูลหลุดเกี่ยวกับอีเมลซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงเรื่องฟิชชิ่งได้   OpenSea ระบุว่า พนักงานที่ Customer.io ผู้ให้บริการอีเมลที่ทำสัญญากับ OpenSea ใช้สิทธิ์การเข้าถึงของพนักงานเพื่อดาวน์โหลดและแชร์อีเมลแอดเดรสของผู้ใช้งาน OpenSea รวมถึงผู้สมัครสมาชิกรับข่าวสาร และนำข้อมูลนี้ไปส่งให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาต   สำหรับสเกลการหลุดครั้งนี้ OpenSea ไม่ได้ระบุเป็นตัวเลขที่ชัดเจน แต่ทางบริษัทระบุไว้ว่า “ถ้าคุณเคยแชร์อีเมลให้ OpenSea ในอดีต ให้สันนิษฐานได้เลยว่าได้รับผลกระทบไปด้วย” ซึ่งอนุมานได้ว่าข้อมูลหลุดครั้งนี้น่าจะใหญ่มาก และทางบริษัทกำลังร่วมมือกับ Customer.io เพื่อตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าว และจะรายงานไปยังเจ้าพนักงานตามกฎหมาย   การหลุดครั้งนี้อาจเป็นสาเหตุของอีเมลฟิชชิ่งได้ในอนาคต ดังนั้น OpenSea จึงแจ้งเตือนผู้ใช้ว่าอย่าดาวน์โหลดอะไรจากอีเมล, หมั่นเช็คโดเมนเสมอ, ตรวจสอบ URL ในทุกเพจที่อยู่ในอีเมล, อย่าแชร์หรือยืนยันรหัสผ่านหรือ secret ที่ใช้งานกับ wallet ใด ๆ และอย่า sign ธุรกรรมใด ๆ ผ่านทางอีเมล   ที่มา – TechCrunch, OpenSea…

คำเตือนของ FBI : โจรกำลังใช้ Deepfakes เพื่อสมัครงานเทคโนโลยีระยะไกล

Loading

Credit : iStock   ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง กับปัญหาด้านเศรษฐกิจ ภาวะการว่างงานสูงส่งผลให้จำนวนการสมัครงานต่างต่อแถวกันเข้าสัมภาษณ์งานมากขึ้นเช่นกัน การประยุกต์ใช้รูปแบบการสัมภาษณ์งานออนไลน์เป็นสิ่งที่ดีและปลอดภัยต่อการแพร่เชื้อไวรัส   ตามรายงานข้อมูลของ FBI อาชญากรกำลังใช้ Deepfakes เป็นช่องทางขโมยข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ระหว่างการสัมภาษณ์งานออนไลน์   ขณะนี้มีการร้องเรียนเพิ่มมากขึ้นมาที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต (IC3) ของ FBI เกี่ยวกับการใช้ Deepfakes และการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้เพื่อสมัครการทำงานทางไกล ส่วนใหญ่เป็นงานด้านเทคโนโลยี   การใช้ Deepfakes หรือเนื้อหาเสียง ภาพ และวิดีโอสังเคราะห์ที่สร้างขึ้นด้วย AI หรือเทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยเครื่อง ได้รับความสนใจอย่างมากจากภัยคุกคามจากฟิชชิ่ง   รายงานไปยัง IC3 ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานว่างในด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ การเขียนโปรแกรม ฐานข้อมูล และฟังก์ชันงานที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ ซึ่งทุกตำแหน่งงานจะรายงานการใช้ข้อมูลประจำตัวและการตรวจสอบประวัติภูมิหลังก่อนการจ้างงานโดยพบว่า PII ที่ได้รับจากผู้สมัครบางคนนั้นเป็นของบุคคลอื่น   รูปแบบที่อาชญากรนิยมใช้ เป็นการใช้เสียงปลอมในระหว่างการสัมภาษณ์ออนไลน์กับผู้สมัคร ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้สังเกตเห็นความไม่สอดคล้องกันของภาพ การเคลื่อนไหวของริมฝีปากของผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ในกล้องนั้นไม่ได้ตรงกับเสียงของผู้พูด เช่น การไอ จาม หรือการได้ยินอื่นๆ   การโจมตีที่ฉ้อโกงในกระบวนการจัดหางานไม่ใช่ภัยคุกคามใหม่ แต่การใช้…

แคสเปอร์สกี้ โชว์สถิติ ‘ฟิชชิ่ง’ ภัยร้ายโจมตีองค์กรธุรกิจ

Loading

  อาชญากรไซเบอร์มักคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ในการส่งข้อความสแปมและฟิชชิ่งไปยังทั้งผู้ใช้งานทั่วไปและองค์กรธุรกิจ ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางดิจิทัลในช่วงการระบาดใหญ่ เพื่อโจมตีแบบโซเชียลเอนจิเนียริง   แคสเปอร์สกี้ พบว่า การใส่หัวข้อและวลียอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมออนไลน์ในข้อความ เช่น การชอปปิง การสตรีมความบันเทิง การระบาดของโควิด-19 ทำให้เพิ่มโอกาสที่ผู้ใช้จะไม่สงสัยและคลิกลิงก์ที่ติดมัลแวร์หรือไฟล์แนบที่เป็นอันตรายขึ้นอย่างมาก   ปีที่ผ่านมาระบบป้องกันฟิชชิ่ง (Anti-Phishing) ของแคสเปอร์สกี้บล็อกลิงก์ฟิชชิ่งลิงก์กว่า 11,260,643 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิชชิ่งลิงก์ส่วนใหญ่ถูกบล็อกบนอุปกรณ์ของผู้ใช้แคสเปอร์สกี้ในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ส่วนในไทยพบการโจมตีกว่า 1,287,283 รายการ     ระบาดหนัก-แค่จุดเริ่มต้น   เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า อีเมลยังเป็นการสื่อสารรูปแบบหลักสำหรับการทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   การพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งจำนวน 11 ล้านรายการในหนึ่งปี เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของการโจมตีทางไซเบอร์ เมื่อข้อมูลสำคัญทั้งหมดถูกส่งผ่านอีเมล อาชญากรไซเบอร์มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่มีประสิทธิภาพและสามารถทำกำไรได้   ดังนั้น องค์กรควรตรวจสอบเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบองค์รวมและเชิงลึกอย่างรอบคอบ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเซิร์ฟเวอร์อีเมลที่มีความสำคัญมาก   ข้อมูลระบุว่า ในปี 2564 ลิงก์ฟิชชิ่งทั่วโลกจำนวน 253,365,212…