สิงคโปร์เข้ม ส่ง F-16 ขึ้นสกัด หลังพบเฮลิคอปเตอร์ต่างชาติบินล้ำเข้ามาในน่านฟ้า

Loading

  เครื่องบินขับไล่ F-16 ของสิงคโปร์ถูกส่งขึ้นบินสกัดในทันที หลังพบว่ามีเฮลิคอปเตอร์ต่างชาติล้ำเข้าน่านฟ้า   กองทัพอากาศสิงคโปร์ออกแถลงการณ์ระบุว่าได้ส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 จำนวน 2 ลำ ขึ้นปฏิบัติภารกิจในช่วงเที่ยงของวันที่ 9 ส.ค. 2023 ทันทีที่พบว่ามีเฮลิคอปเตอร์ของต่างชาติบินล้ำเข้าสู่น่านฟ้าสิงคโปร์ ก่อนจะยกเลิกภารกิจหลังพบว่าไม่มีภัยคุกคามความมั่นคง   แถลงการณ์ของกองทัพเผยว่าได้ส่ง F-16 ขึ้นบิน เมื่อช่วง 12.40 น. ตามเวลาท้องถิ่น จากนั้นเมื่อตรวจพบในเบื้องต้นแล้ว พบว่าเฮลิคอปเตอร์ลำดังกล่าวเป็นของพลเรือน ที่จดทะเบียนกับบริษัทเอกชนของมาเลเซีย   ปฏิบัติการนี้ส่งผลทำให้เกิดความล่าช้าของเที่ยวบิน ในสนามบินนานาชาติชางงีราว 40 นาที ตั้งแต่เวลา 12.50 น. จนถึงเวลา 13.28 น.มีเที่ยวบินขาเข้าได้รับผลกระทบ 9 เที่ยวบิน และเที่ยวบินขาออกอีก 11 เที่ยวบิน   บัญชีเฟซบุ๊กของกองทัพอากาศสิงคโปร์ยังได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ทั้งภาคพื้นดินและภาคอากาศ ที่เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา ในการปกป้องน่านฟ้าของสิงคโปร์       ที่มา : https://www.channelnewsasia.com/singapore/f-16-jets-scrambled-helicopter-mindef-changi-airport-operations-3687481  …

‘ไบเดน’ เตรียมออกคำสั่งห้ามเอกชนสหรัฐถ่ายโอนเทคโนโลยีแก่จีน

Loading

  สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างแหล่งข่าวระบุว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐจะใช้อำนาจพิเศษออกคำสั่งประธานาธิบดี ห้ามภาคเอกชนสหรัฐถ่ายโอนเทคโนโลยีที่มีความอ่อนไหวสูงให้แก่จีน   ซึ่งคาดว่า ปธน.ไบเดน จะออกคำสั่งดังกล่าวในช่วงต้นสัปดาห์หน้าเพื่อป้องกันการนำเทคโนโลยีของสหรัฐไปพัฒนากองทัพจีน ซึ่งจะเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของสหรัฐ   แหล่งข่าวระบุว่า คำสั่งของ ปธน.ไบเดน จะพุ่งเป้าไปที่การลงทุนของภาคเอกชนสหรัฐในจีน เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์, การคำนวณเชิงควอนตัม และปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยการลงทุนดังกล่าวจะต้องผ่านการอนุมัติจากรัฐบาลสหรัฐ   ก่อนหน้านี้ รัฐบาลสหรัฐออกกฎ ห้ามบริษัทเทคโนโลยีที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง สร้างโรงงานเทคโนโลยีขั้นสูงในจีนเป็นเวลา 10 ปี โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน ลงนามผ่านกฎหมายชิปและวิทยาศาสตร์ไปเมื่อเดือนสิงหาคม2565 ใช้งบ 280,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อส่งเสริมการผลิตเทคโนโลยีชั้นสูงและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ท่ามกลางความกลัวว่าสหรัฐจะพ่ายแพ้ด้านเทคโนโลยีต่อจีน การลงทุนครั้งนี้รวมถึงการลดหย่อนภาษีให้กับบริษัทที่จะสร้างโรงงานผลิตชิปคอมพิวเตอร์ในสหรัฐ ซึ่งก็หมายถึงว่า บริษัทที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลกลางสามารถขยายโรงงานเพื่อผลิตชิป ที่ใช้เทคโนโลยีเก่าและราคาถูก เพื่อจำหน่ายในตลาดจีน เท่านั้น       ————————————————————————————————————————- ที่มา :               …

ราคาเสรีภาพสุดโต่ง? สวีเดนยอมรับเสี่ยงถูกโจมตีจากกระแสเผาอัลกุรอาน เล็งยกระดับควบคุมชายแดน-เพิ่มอำนาจตำรวจ

Loading

นายกรัฐมนตรีอุลฟ์ คริสเตอร์สัน ของสวีเดน   สวีเดนชี้ประเทศเผชิญภัยคุกคามมากขึ้นจากกรณีการเผาคัมภีร์อัลกุรอาน เตรียมยกระดับการควบคุมชายแดนเพื่อเพิ่มอำนาจตำรวจในการหยุดยั้ง และค้นตัวผู้ที่อาจเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศ   กฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้นับจากวันอังคาร (1 ส.ค.) ให้อำนาจตำรวจในการตรวจสอบตามแนวชายแดน ซึ่งรวมถึงการค้นตัว และอนุญาตให้มีการใช้ระบบการตรวจตราด้วยอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น   กุนนาร์ สตรอมเมอร์ รัฐมนตรียุติธรรมสวีเดน แถลงเมื่อวันอังคาร (1 ส.ค.) ว่า มาตรการควบคุมชายแดนจะช่วยให้สวีเดนสามารถระบุตัวผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าประเทศและอาจเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคง   ช่วงหลายสัปดาห์มานี้มีการประท้วงและเผาหรือทำลายคัมภีร์อัลกุรอานหลายระลอกในสวีเดนและเดนมาร์ก สร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้แก่ประเทศมุสลิม รวมทั้งมีการเรียกร้องให้รัฐบาลของ 2 ประเทศแถบนอร์ดิกเหล่านี้ดำเนินการเพื่อหยุดยั้งการเผาคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม   ทว่า เมื่อวันจันทร์ (31 ส.ค.) ตำรวจสวีเดนยังคงอนุญาตให้ชายอิรัก 2 คน ซึ่งว่ากันว่าเป็นชาวคริสเตียน คือ ซัลวาน โมมิกา และซัลวาน นาเจม เผาคัมภีร์อัลกุรอาน ในระหว่างการประท้วงที่หน้ารัฐสภาสวีเดน   ชาย 2 คนนี้เคยประท้วงในลักษณะนี้ทั้งที่หน้ามัสยิดหลักในกรุงสตอกโฮล์ม และที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตอิรักในเมืองหลวงของสวีเดนแห่งนี้ และทำให้ถูกประณามอย่างกว้างขวาง รวมทั้งยังกระตุ้นให้มีการประท้วงอย่างโกรธเกรี้ยวขึ้นในอิรัก โดยผู้ประท้วงบุกสถานเอกอัครราชทูตสวีเดนในกรุงแบกแดด 2 ครั้ง…

สหราชอาณาจักรออกพระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ

Loading

ภาพจาก freepik   ร่างพระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติของสหราชอาณาจักรผ่านมติเห็นชอบจากรัฐสภาและการลงพระปรมาภิไธยรับรองของพระมหากษัตริย์ เมื่อ 11 ก.ค.66 เพื่อรับมือต่อภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะจากรัฐต่างประเทศ   ปัจจุบันสหราชอาณาจักรตกเป็นเป้าหมายในการจารกรรม การแทรกแซงของต่างชาติ การบ่อนทำลาย การบิดเบือนข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์ การก่อวินาศกรรม การโจมตีด้วยอาวุธเคมี และก่อเหตุรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น การลอบสังหาร ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรถือว่ารัสเซียเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุด แม้จะมีการแทรกแซงจากจีน หรือการสังหารหรือลักพาตัวชาวอังกฤษจากอิหร่านก็ตาม   พระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ (The National Security Act) มีการปรับปรุงเนื้อหากฎหมายเกี่ยวกับจารกรรมให้ทันต่อสถานการณ์ภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการยับยั้ง ตรวจจับ และขัดขวางภัยคุกคามยุคใหม่ของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและหน่วยข่าวกรอง   นอกจากนี้ กฎหมายยังระบุถึงการลงทะเบียนผู้มีอิทธิพลจากต่างชาติ (Foreign Influence Registration Scheme – FIRS) ซึ่งมีเป้าหมายต่อประเทศที่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยหรือผลประโยชน์ของสหราชอาณาจักร เพื่อสามารถนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษกรณีทำผิดข้อตกลง ทั้งเป็นการเสริมสร้างความหยืดยุ่น และความโปร่งใสในระบอบประชาธิปไตย       —————————————————————————————————————————————- ที่มา :     …