“Threat Hunting” ตามล่าภัยคุกคามทางไซเบอร์ 101

Loading

  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบ Proactive Cybersecurity ไว้ เพราะในอนาคตการโจมตีจะมาในหลายรูปแบบและหลายลักษณะ   วันนี้ผมขอเล่าเรื่อง “Threat Hunting” หนึ่งในเรื่องที่น่าสนใจของแวดวงไซเบอร์ ซิเคียวริตี้ สำหรับการเริ่มต้นการทำThreat Hunting มี 4 หัวข้อด้วยกันที่เราต้องเริ่มทำความเข้าใจกันก่อนคือ   1. มีระบบ Threat Hunting แบบเชิงรุก ไม่ใช่เชิงรับ โดยระบบ Threat Hunting จะสร้างสมมติฐานเพื่อทดสอบเงื่อนไขความเป็นไปได้ที่เหล่าบรรดาเฮกเกอร์อาจแทรกซึมเข้ามาในระบบเครือข่าย โดยสมมติฐานเหล่านี้อาจเป็นในรูปแบบของการได้รับแจ้งเตือนเมื่อมีความผิดปกติของระบบเครือข่าย หรือการแจ้งเตือนเมื่อมีการบุกรุกเข้าไปในสถานการณ์ที่ได้จำลองไว้   2. Threat Hunting จะมีการตั้งสมมุติฐานเสมอว่าเหตุการณ์เลวร้ายที่สุดนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว จากนั้นระบบThreat Hunting ต้องดำเนินการตามล่าโดยสันนิษฐานว่าแฮกเกอร์ได้หลบเลี่ยงการป้องกันที่มีอยู่ ดังนั้น การไล่ล่าจึงเริ่มต้นด้วยสมมติฐานที่ว่าการโจมตีนั้นสำเร็จแล้ว และจึงเริ่มค้นหาหลักฐานภายใต้เงื่อนไขที่จะยอมให้สมมติฐานดังกล่าวนั้นเป็นจริง   3. แม้ว่ามนุษย์เราจะเป็นผู้ปฏิบัติการ Threat Hunting เพื่อล่าภัยคุกคาม แต่เราก็ยังคงใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีความเหมาะสมมาเป็นตัวช่วยในการจัดการสิ่งต่างๆ เหล่านี้ซึ่งในปัจจุบันหลายองค์กรยังคงต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นผู้นำในการตามล่าภัยคุกคามเหล่านี้ โดย ระบบ Threat Hunting จะใช้การคิดเชิงวิพากษ์…

อุบัติการณ์ ‘ภัยไซเบอร์’ พันธกิจวัดใจองค์กรดิจิทัล

Loading

  แม้ว่าทุกวันนี้ผู้นำองค์กรต่างให้ความสำคัญและสนใจลงทุนเพื่อยกระดับระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทว่าก็ยังคงหลีกเลี่ยงได้ยากที่จะมีช่องโหว่และเปิดโอกาสให้โจรไซเบอร์บุกรุกเข้ามา…   พีระพงศ์ จงวิบูลย์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า การศึกษาของฟอร์ติเน็ตด้านเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน (โอที) ของประเทศไทย ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างมากในการแก้ไขช่องว่างด้านความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการที่โอทีปรับเปลี่ยนเข้าสู่การทำงานแบบดิจิทัล   โดยพบว่า 8 ใน 10 ขององค์กรด้านโอทีต่างได้รับผลกระทบต่อการดำเนินงานของสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมเนื่องจากการบุกจู่โจมทางไซเบอร์ ที่ผ่านมา 71% ขององค์กรพบปัญหาการหยุดการทำงานของระบบซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางกายภาพ ซึ่งมากกว่าการสูญเสียทั้งผลผลิตและรายได้   ปัจจุบัน ประเทศไทยตระหนักดีว่าการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์คือ ปัญหาร้ายแรงสำหรับผู้บริหารระดับสูง ดังนั้นควรมีซีอีโอทำหน้าที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์ หรือผู้มีอิทธิพลสูงสุดในการตัดสินใจในเรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้   ความรับผิดชอบ ‘C-level’   เป็นเรื่องที่ดี หากรวมเอาไซเบอร์ซิเคียวริตี้บนโอทีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบของผู้บริหารในระดับ “C-level” เพราะจะเป็นการช่วยสนับสนุนให้ทีมไอทีและโอทีทำงานร่วมกันในการร่วมกันวางแผนพร้อมให้ภาพการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ในแบบองค์รวม   รายงานสถานการณ์การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และระบบเชิงปฏิบัติงานปีนี้ชี้ให้เห็นว่า สภาพแวดล้อมด้านระบบควบคุมอุตสาหกรรมยังคงตกเป็นเป้าหมายอาชญากรไซเบอร์ โดยในไทยองค์กร 88% ต่างเคยมีประสบการณ์การถูกบุกรุกอย่างน้อยหนึ่งครั้งช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา   โดยท็อป 3 ของการบุกรุกที่องค์กรในประเทศไทยต้องเผชิญได้แก่ มัลแวร์ แรนซัมแวร์ และแฮกเกอร์ ผลลัพธ์จากการโดนบุกรุกเหล่านี้ ทำให้เกือบ…

‘เอสเอ็มอี’ ไทยสุดเสี่ยง!! ภัยคุกคามไซเบอร์โจมตีหนัก!!

Loading

  แคสเปอร์สกี้ ชี้ เครื่องมือโจมตีที่ได้รับความนิยมอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในธุรกิจขนาดเล็ก คือ การโจมตีทางเน็ต โดยเฉพาะหน้าเว็บเพจที่มีการเปลี่ยนเส้นทางเพื่อใช้ประโยชน์ เว็บไซต์ และโปรแกรมที่เป็นอันตรายอื่นๆ ศูนย์บ็อตเน็ต C&C ฯลฯ จำนวนการโจมตีประเภทนี้เพิ่มขึ้น!!   หากเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กต้องเผชิญปัญหาความรับผิดชอบด้านเศรษฐศาสตร์การผลิต รายงานการเงิน และการตลาดทั้งหมดในเวลาเดียวกัน การพิจารณาเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์มักจะดูซับซ้อน และบางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น อย่างไรก็ตาม การเพิกเฉยต่อความปลอดภัยด้านไอทีนี้กำลังถูกใช้ประโยชน์โดยอาชญากรไซเบอร์   นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ประเมินการโจมตีธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมระหว่างเดือนมกราคม ถึงเมษายน 2022 และเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2564 เพื่อระบุภัยคุกคามที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ประกอบการ   ปี 2565 จำนวนการตรวจจับโทรจัน Trojan-PSW (Password Stealing Ware) เพิ่มขึ้นเกือบหนึ่งในสี่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2021 คือ 4,003,323 ครั้ง เมื่อเทียบกับ 3,029,903 ครั้ง สำหรับประเทศไทย จำนวนการตรวจจับเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับแนวโน้มของโลก โดยบันทึกการตรวจจับได้ 19,885 รายการ คิดเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น 2.35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ตรวจจับได้ 19,428 รายการ…

อาเซียนผวา!! ภัยคุกคามไซเบอร์ โจมตี ‘ผู้ใช้ดิจิทัลเพย์เมนต์’

Loading

  การนำการชำระเงินดิจิทัลมาใช้ ดูเหมือนเป็นดาบสองคม มีประโยชน์ที่ดีด้านความสะดวกสบาย ทว่าอีกทางหนึ่งเพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ การวิจัยล่าสุดของ “แคสเปอร์สกี้” แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงเชิงบวก ระหว่างการนำการชำระเงินดิจิทัล (Digital Payment) มาใช้กับการตระหนักถึงความเสี่ยงและภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลศึกษาเรื่อง “Mapping a secure path for the future of digital payments in APAC” พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือราว 97% ตระหนักถึงภัยคุกคามต่อแพลตฟอร์มชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อยหนึ่งประเภท และผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนเกือบสามในสี่ หรือ 72% ประสบกับภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้อย่างน้อยหนึ่งประเภท ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการรายงานข่าวของสื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ รวมถึงความพยายามร่วมกันของภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมความตระหนักด้านความปลอดภัยช่วงที่มีกระแสการใช้โมบายแบงกิ้ง และอี-วอลเล็ต เพิ่มขึ้นในภูมิภาค ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกว่าหนึ่งในสี่ หรือ 37% พบกลอุบายด้านวิศวกรรมสังคมผ่านทางข้อความหรือการโทร เว็บไซต์ปลอม ข้อเสนอและดีลปลอม และจำนวนหนึ่งในสี่ ระบุว่า พบการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง สูญเงินสูงถึง 5 พันดอลลาร์ ที่น่าสังเกต คือ การหลอกลวงด้วยวิธีวิศวกรรมทางสังคม เป็นภัยคุกคามที่พบได้มากสุดสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้…