ทำไมฟิลิปปินส์ถึงจับมือกับเวียดนามคัดง้างจีนในกรณีข้อพิพาททะเลจีนใต้?

Loading

ถึงแม้จะอยู่ในช่วงที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการระบาดของ COVID-19 แต่ความขัดแย้งพื้นที่ทะเลจีนใต้ก็ยังคุกรุ่นในหมู่ประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และจีน โดยที่ฟิลิปปินส์ได้แสดงท่าทีเป็นแนวร่วมกับเวียดนามในข้อพิพาทครั้งนี้ หลังจากที่รัฐบาลจีนจับเรือหาปลาของเวียดนาม ทำให้นักวิจัยด้านความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชียวิเคราะห์ท่าทีของฟิลิปปินส์ที่ยังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากจีนเกี่ยวกับการต้านโรคระบาด ลูซิโอ บลังโก พิตโล ที่ 3 นักวิจัยด้านความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชียผู้ได้รับทุนจากมูลนิธิเอเชียแปซิฟิกพาร์ธเวย์ทูโปรเกรส วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ข้อพิพาทพื้นที่ทะเลจีนใต้ระหว่างเวียดนาม ฟิลิปปินส์ กับจีน โดยระบุว่า ในขณะที่สถานการณ์โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้เกิดโรค COVID-19 จะทำให้เวียดนามพลาดท่าในการแสดงออกว่าคนเป็นเจ้าของเหนือทะเลจีนใต้ได้ในฐานะประธานประชาคมอาเซียนปีนี้ แต่ทว่าการที่ฟิลิปปินส์แสดงท่าทีเป็นพวกเดียวกับประชาคมอาเซียนและเปิดทางให้เวียดนามก็ดูมีนัยสำคัญ ถึงแม้ว่าจะมีกรณี COVID-19 แต่กองทัพคุ้มกันชายฝั่งของจีนก็ก่อเหตุให้เกิดข้อพิพาทกรณีทะเลจีนใต้ปะทุอีกครั้งด้วยการจมเรือหาปลาของเวียดนามเมื่อต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ทำให้หลังจากนั้นทางฟิลิปปินส์ก็ออกแถลงการณ์แสดงความเป็นห่วงและแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับเวียดนามในฐานะเพื่อนบ้านเอเชียอาคเนย์ รวมถึงระบุว่าทางการฟิลิปปินส์จะใช้ความระมัดระวังในสถานการณ์เกี่ยวกับเรือประมงต่างชาติ แสดงออกว่าพวกเขาต้องการลดความสำคัญเรื่องการควบคุมพื้นที่น่านน้ำจากเรือหาปลาน้อยลง เวียดนามในปีนี้ได้รับผลกระทบจากการที่เดิมทีแล้วพวกเขามีแผนการจะอาศัยความเป็นประธานอาเซียนในปี 2563 เพื่อผลักดันวาระความเป็นเจ้าของพื้นที่น่านน้ำทะเลจีนใต้ และใช้อิทธิพลคัดง้างกับจีนซึ่งมักจะแทรกแซงการประมงและกิจการด้านพลังงานในพื้นที่พิพาทแห่งนี้ แต่การระบาดของ COVID-19 ก็ทำให้แผนการจัดงานต่างๆ ต้องถูกเลื่อนออกไป แต่ทว่าสถานการณ์การประมงน่านน้ำและการโต้ตอบจากจีนที่เกิดขึ้นก็แสดงให้เห็นว่าความคุกรุ่นของความขัดแย้งทะเลจีนใต้นี้ยังคงอยู่แม้ในช่วงโรคระบาด ทั้งนี้ทั้งเวียดนามและฟิลิปปินส์ก็มีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับทะเลจีนตะวันออกมานานแล้ว เช่น ในกรณีปีที่ผ่านมาก็มีการจัดประชุมที่กรุงมะนิลา ที่ทั้งเวียดนามและฟิลิปปินส์ต่างก็เน้นย้ำความสำคัญของการดำรงไว้ซึ่งสันติภาพ, เสถียรภาพ, ความปลอดภัย และความมั่นคงในการเดินทางทางเรือ รวมถึงเน้นย้ำเรื่องการแก้ไขข้อพิพาทจะต้องเป็นไปอย่างสันติโดยอาศัยกระบวนการทางการทูตและทางกฎหมาย ตามหลักการของกฎหมายนานาชาติต่างๆ โดยในการประชุมครั้งนั้นมีผู้นำระดับสูงหลายคนจากทั้งฟิลิปปินส์และเวียดนามเข้าร่วม ฟิลิปปินส์ยังส่งสัญญาณเป็นมิตรกับเวียดนามในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งจากการที่ส่งตัวแทนกระทรวงกลาโหมของตัวเองไปพบปะหารือกับฝ่ายกลาโหมของเวียดนามเพื่อหารือเรื่องเรือหาปลาจากเวียดนาม โดยบอกว่าพวกเขาจะไม่เผชิญหน้ากับเรือหาปลาของเวียดนามอีกต่อไปแต่จะแนะนำให้เคลื่อนออกไปจากน่านน้ำของฟิลิปปินส์แทน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายการท่าเรือของทั้งสองฝ่ายก็ทำการพบปะหารือกันหลายครั้งในช่วงปี 2562 และจะมีการพบปะกันอีกเป็นครั้งที่ 7…

กต.สหรัฐฯ ออกคำเตือนระวังภัยโจมตีทางไซเบอร์จากเกาหลีเหนือ

Loading

The Harry S. Truman Building, headquarters for the State Department กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ออกคำเตือนให้ภาคธุรกิจธนาคารและการเงินระวังภัยการโจมตีทางไซเบอร์จากเกาหลีเหนือ ที่อาจมุ่งเป้าไปยังกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในประเทศ คำเตือนจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่ออกมาในวันพุธตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งตรงกับวันที่ชาวเกาหลีเหนือฉลองวันคล้ายวันเกิดของอดีตผู้นำ คิม อิล-ซุง เป็นผลของการทำงานร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และ FBI โดยไม่มีการระบุถึงห้วงเวลาที่ต้องมีการระวังภัยใดๆ ในคำเตือนล่าสุดนี้ ทางการสหรัฐฯ ระบุว่า ความพยายามด้านไซเบอร์ของเกาหลีเหนือที่มีมาต่อเนื่องนั้น ถือเป็นภัยอันใหญ่หลวงต่อความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศอย่างยิ่ง คำเตือนนี้ยังย้ำด้วยว่า แฮคเกอร์ของเกาหลีเหนือมีความสามารถที่จะป่วนและสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของสหรัฐฯ ได้ด้วย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ บอกกับผู้สื่อข่าว วีโอเอ ว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในเวลานี้ คือ ทุกฝ่ายต้องทำงานร่วมกันเพื่อลดผลกระทบจากภัยคุกคามของเกาหลีเหนือให้ได้ ขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ให้ความเห็นว่า เกาหลีเหนืออาจจ้างคนภายนอกทำการโจมตีทางไซเบอร์ได้ เพราะที่ผ่านมา การสอบสวนต่างๆ ไม่ค่อยสามารถสาวไปถึงผู้สั่งการที่เป็นคนในรัฐบาลใดๆ ได้เลย ——————————————————————- ที่มา : VOA Thai / 16 เมษายน 2563 Link…

วิกฤตไทย 2563 ! ข้อสังเกต 10 ประการ โดย สุรชาติ บำรุงสุข

Loading

โดย สุรชาติ บำรุงสุข ประเทศไทยไม่แตกต่างจากหลายประเทศทั่วโลกที่วันนี้ตกอยู่ภายใต้วิกฤตการณ์ชุดใหญ่ อันเป็นผลจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมโลกครั้งใหญ่เช่นไร สังคมไทยก็กำลังถูกความเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้นไม่แตกต่างกันด้วย หรือดังที่นักสังเกตการณ์ทั้งหลายมีความเห็นในระดับโลกร่วมกันก็คือ โลกหลังยุคก่อนโควิดจะไม่หวนกลับมาหาเราอีก เช่นที่โลกยุคหลังโควิดก็จะแตกต่างออกไปจากยุคก่อนอย่างมาก และจะเป็นความเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ครั้งใหญ่อย่างคาดไม่ถึงด้วย ดังนั้นหากทดลองคาดการณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงของไทยในอนาคตแล้ว เราอาจจะเห็นประเด็นต่างๆ ที่จะมีความสำคัญต่อทิศทางการพลิกฟื้นประเทศหลังจากการสิ้นสุดของโรคระบาดชุดนี้ ได้แก่ 1) วิกฤตซ้อนวิกฤต: การเมืองไทยจะยังคงตกอยู่ในภาวะวิกฤต ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นก่อนการระบาดนั้น ไม่ได้หายไปไหน เป็นแต่เพียงจะถูกทับซ้อนจากสถานการณ์ใหม่ อันเป็นผลจากความอ่อนแอของรัฐบาลในการบริหารจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น อันอาจจะส่งผลให้วิกฤตที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว กลายเป็นวิกฤตที่มีความรุนแรงมากขึ้น และจะส่งผลต่อสถานะทางการเมืองของรัฐบาล โดยเฉพาะต่อตัวผู้นำรัฐบาลโดยตรง และจะเป็นวิกฤตที่มีนัยต่อความอยู่รอดของรัฐบาลอีกด้วย หรืออาจคาดได้ว่า การเมืองหลังจากการระบาดสิ้นสุดลงจะมีความเข้มข้นมากขึ้นอย่างแน่นอน และจะมีผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองด้วย 2) เศรษฐกิจพังทลาย: วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2563 จะมีความรุนแรงและหนักหน่วงมากกว่าวิกฤตในปี 2540 อย่างแน่นอน และความคาดหวังว่าวิกฤตเศรษฐกิจ 2563 จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเช่นในปี 2540 อาจจะเป็นการคาดคะเนที่ง่ายเกินไป การพังทลายของเศรษฐกิจไทยกำลังเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วน จนวันนี้กล่าวได้ชัดเจนว่า ไม่มีภาคส่วนใดที่ไม่ได้รับผลกระทบ และผลที่เกิดขึ้นกำลังพาเศรษฐกิจไทยสู่ “การ ถดถอย” ครั้งใหญ่ (economic recession) และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะอยู่ในภาวะ “ติดลบ” อย่างแน่นอน…

แก้ไขปัญหา “ข่าวปลอม” ต้องทำให้ถูกวิธี

Loading

Written by Kim บริษัทผู้ประกอบธุรกิจสื่อสังคม (social media) ของสหรัฐฯถูกกดดันอย่างหนักให้ดำเนินการบางอย่างเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิด (misinformation)[1] บนแพลตฟอร์มของพวกเขา ตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2016  บริษัท Facebook และ YouTube ตอบสนองด้วยการใช้กลยุทธ์ “ต่อต้านข่าวปลอม” ซึ่งดูเหมือนจะมีประสิทธิภาพพร้อมกับการเคลื่อนไหวประชาสัมพันธ์อย่างชาญฉลาด: ทั้งสองบริษัทแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเต็มใจที่จะดำเนินการและนโยบายดังกล่าวมีความสมเหตุสมผลต่อสาธารณะ[2]           กลยุทธ์ที่ฟังดูสมเหตุสมผลมิได้หมายความว่าจะใช้การได้ แม้แพลตฟอร์มต่าง ๆ กำลังมีความก้าวหน้าในการต่อสู้กับข้อมูลที่ผิด แต่การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้โดยผู้เขียนทั้งสองและนักวิชาการคนอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่า กลยุทธ์หลายอย่างของพวกเขาอาจไม่มีประสิทธิภาพ – และทำให้เรื่องราวเลวร้ายลง นำไปสู่ความสับสน ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความจริง (truth) บริษัทสื่อสังคมจำเป็นต้องตรวจสอบให้เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า ข้อกังวลที่เกิดขึ้นในการทดลองเหล่านี้ตรงประเด็นกับวิธีการที่ผู้ใช้ประมวลข่าวสารบนแพลตฟอร์มของพวกเขาหรือไม่           แพลตฟอร์มต่าง ๆ ใช้กลยุทธ์ให้ข้อมูลข่าวสาร (information) เพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งที่มาของข่าว (news’s source) โดย YouTube มีกล่องข้อความ (information panel) ปรากฎขึ้นเพื่อแจ้งผู้ใช้เมื่อมีการสืบค้นเนื้อหาที่ผลิตโดยองค์กรที่ได้รับทุนจากรัฐบาลหรือหัวข้อซึ่งก่อให้เกิดการโต้แย้ง ส่วน Facebook มีตัวเลือกบริบท (context) ที่ให้ข้อมูลภูมิหลังเกี่ยวกับแหล่งที่มาของบทความในแหล่งป้อนข่าว (news feed)[3] กลยุทธ์หรือชั้นเชิงประเภทนี้เข้าใจได้ง่ายเพราะเป็นแหล่งข่าวจากสำนักพิมพ์กระแสหลัก ซึ่งได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี แม้ยังไม่สมบูรณ์มากนัก แต่ก็มีมาตรฐานการบรรณาธิการ (แก้ไข) และการรายงานที่ดีกว่าเว็บไซต์ที่คลุมเครือ ซึ่งถักทอ (ผลิต) เนื้อหาโดยไม่เปิดเผยคุณลัษณะของผู้เขียน           การวิจัยล่าสุดของผู้เขียนทั้งสองทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของวิธีการประเภทนี้ ผู้เขียนทั้งสองได้ทำการทดลองกับชาวอเมริกันเกือบ 7,000…

รวมข้อมูลประเด็นความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของโปรแกรม Zoom

Loading

Zoom เป็นโปรแกรมประเภท video conference ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ไวรัสโคโรน่าหรือ COVID-19 แพร่ระบาด ทำให้หลายองค์กรต้องปรับรูปแบบการทำงานให้รองรับการประชุมจากนอกสถานที่ หรือสถาบันการศึกษาหลายแห่งต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนมาเป็นจากระยะไกลแทน อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายได้มีความกังวลต่อประเด็นความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของการใช้งานโปรแกรม Zoom เนื่องจากมีการรายงานช่องโหว่และพฤติกรรมการทำงานในบางจุดที่อาจก่อให้เกิดข้อกังวลดังกล่าว ไทยเซิร์ตได้รวบรวมข้อมูลประเด็นที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัย ตัวติดตั้งของโปรแกรม Zoom เวอร์ชัน Mac มีการเรียกใช้สคริปต์บางอย่างในสิทธิ์ระดับสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายกับระบบได้ ทาง Zoom รับทราบและแก้ไขแล้ว (อ้างอิง) โปรแกรม Zoom เวอร์ชัน Windows มีช่องโหว่ที่อาจถูกขโมยรหัสผ่านบัญชีได้ด้วยการหลอกให้คลิกลิงก์ ส่วนเวอร์ชัน Mac มีช่องโหว่ที่อาจถูกดักฟังได้ด้วยการหลอกให้เข้าเว็บไซต์อันตราย ทาง Zoom รับทราบและแก้ไขแล้ว (อ้างอิง) รูปแบบการรับส่งข้อมูลภาพและเสียงในระหว่างที่มีการทำ video conference นั้นไม่ได้ใช้วิธีเข้ารหัสลับข้อมูลในรูปแบบ end-to-end (ต้นทางจนถึงปลายทาง) ซึ่งอาจถูกผู้ไม่หวังดีดักฟังการประชุมได้ ทาง Zoom ยอมรับว่ามีประเด็นนี้จริง ยังไม่มีรายละเอียดว่าจะปรับปรุงในเรื่องนี้หรือไม่ แต่ก็ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าข้อมูลที่รับส่งระหว่างเครื่องของผู้ใช้กับเซิร์ฟเวอร์ของ Zoom นั้นมีการเข้ารหัสลับข้อมูลแล้ว (อ้างอิง) รูปแบบของอัลกอริทึมที่ใช้เข้ารหัสลับข้อมูลนั้นมีความเสี่ยงที่อาจถูกโจมตีได้ง่าย (ECB mode)…

อังกฤษเรียกข่าวโควิด-19 ระบาดมากับ 5G “ข่าวปลอมไร้สาระแต่อันตราย!”

Loading

ทางการอังกฤษระบุว่า ข่าวลือในลักษณะทฤษฎีสมคบคิด ที่ระบุว่าเครือข่ายโทรคมนาคมความเร็วสูง 5G มีความเกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 นั้น เป็นข่าวปลอม และเป็นอันตรายอย่างยิ่ง รัฐมนตรีประจำคณะรัฐบาลอังกฤษ ไมเคิล โกว์ฟ กล่าวว่า ข่าวดังกล่าวไร้สาระ แต่ก็มีอันตรายแฝงมาด้วย หลังจากที่มีเสาส่งสัญญาณ 5G บางแห่งถูกเผาและทำลาย ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา และพนักงานของบริษัทโทรคมนาคมบางแห่งถูกข่มขู่คุกคาม ในแถบตอนกลางและตอนเหนือของอังกฤษ ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ เสาส่งสัญญาณแห่งหนึ่งที่เมืองเบอร์มิงแฮม ของบริษัท BT ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของอังกฤษ ถูกเผาเสียหายเมื่อไม่กี่วันก่อน หลังจากมีข่าวลือแพร่สะพัดว่า เชื้อโควิด-19 อาจเกี่ยวข้องกับสัญญาณอินเทอร์เน็ต 5G แม้ว่าเสาดังกล่าวที่ถูกเผาจะส่งสัญญาณเฉพาะ 2G 3G 4G แต่ไม่ใช่ 5G ก็ตาม ผอ.สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ กล่าวว่า ข่าวปลอมที่ว่านี้ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ มารองรับ แต่กลับมีคนเชื่อจริงจัง และสร้างปัญหาต่อระบบสื่อสารในยามที่ต้องการใช้เพื่อติดต่อกรณีเร่งด่วน ซึ่งรวมถึง เครือข่ายโทรศัพท์ที่บรรดาเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินและบุคลากรทางการแพทย์ต้องใช้ในช่วงที่กำลังเิกดการระบาดของโคโรนาไวรัสในขณะนี้ด้วย ————————————————- ที่มา : VOA Thai / 6 เมษายน 2563…