ความเสี่ยงด้านการโจมตีทางไซเบอร์ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพราะการระบาดของโควิด-19

Loading

ความพยายามของสหรัฐฯ ในการควบคุมการระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 ซึ่งรวมถึงการให้พนักงานบริษัทและเจ้าหน้าที่รัฐต่างๆ ทำงานจากที่บ้าน กลายมาเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับด้านโครงสร้างพื้นฐานไซเบอร์ของประเทศ ที่อาจเปิดโอกาสให้เกิดการโจมตีทางไซเบอร์มากขึ้น เจ้าหน้าที่รัฐบาลท่านหนึ่งซึ่งไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้ บอกกับผู้สื่อข่าว วีโอเอ ว่า ทุกฝ่ายควรเพิ่มการระวังภัย เพราะในช่วงเวลาที่เปราะบางเช่นนี้ เป็นโอกาสที่ผู้ไม่ประสงค์ดีมักถือโอกาสก่อความเสียหายให้กับสหรัฐฯ ได้ ทั้งหน่วยงาน เอฟบีไอ และบริษัทเอกชนผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ออกคำเตือนเกี่ยวกับความน่าจะเป็นของการโจมตีทางไซเบอร์ออกมาแล้วเช่นกัน เชอร์รอด ดีกริปโป ผู้อำนวยการอาวุโส ของบริษัท Proofpoint ซึ่งเชี่ยวชาญด้านนี้ เปิดเผยว่า ทีมงานของบริษัทสังเกตเห็นอีเมล์ที่น่าสงสัยเพิ่มขึ้นในระบบอย่างมาก และใกล้เคียงกับระดับที่เป็นการโจมตีทางไซเบอร์แล้ว ดีกริปโป บอกว่า อีเมล์ต้องสงสัยนี้จะมีลักษณะคล้ายๆ กับ อีเมล์ที่มาจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เช่น ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ หรือ องค์การอนามัยโลก โดยจะมีเนื้อหาเรื่องโคโรนาไวรัส และบอกให้ผู้รับกดลิงค์ที่จะเปิดช่องให้เกิดการโจมตีได้ ทั้งนี้ การโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นนั้นมักเป็นกรณี Phishing (ฟิชชิ่ง) เพื่อขโมย ชื่อผู้ใช้งาน (Username) หรือ ID และพาสเวิร์ด มากกว่า รวมทั้งการส่ง Malware มาเพื่อขโมยข้อมูลต่างๆ เช่น…

ความหมายของ “ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก” กับวิกฤติโควิด-19

Loading

EDITORS NOTE: Graphic content / World Health Organization (WHO) Director-General Tedros Adhanom Ghebreyesus talks during a daily press briefing on COVID-19 virus at the WHO headquaters in Geneva on March 11, 2020. – WHO Director-General Tedros… การที่องค์การอนามัยโลกตัดสินใจประกาศให้โควิด-19 เป็น ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในวันพุธ เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้แล้ว แม้สถานการณ์โดยรวมจะบ่งชี้ถึงความจำเป็นที่จะต้องทำการประกาศนี้มาสักระยะ โดยเฉพาะเมื่ออัตราการระบาดในจุดต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นิตยสาร Time รายงานว่า คำว่า “ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก” หรือ Pandemic ในความหมายขององค์การอนามัยโลก คือ การแพร่กระจายของโรคใหม่ไปยังพื้นที่ทั่วโลก แม้ว่าเกณฑ์ที่ชัดเจนในการตัดสินว่าสถานการณ์ใดควรได้รับคำนิยามนี้จะไม่ชัดเจนเสียทีเดียว…

เยอรมนีบุกทลายแก๊งค้ามนุษย์เวียดนาม

Loading

สำนักงานตำรวจแห่งชาติเยอรมนี ระดมกำลังเจ้าหน้าที่กว่า 700 นาย บุกตรวจค้นบ้านพักและอาคารธุรกิจ กว่า 30 แห่ง ทั่วประเทศ เมื่อวันอังคาร เพื่อกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์จากเวียดนาม สำนักข่าวเอพีรายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ว่า ปฏิบัติการจู่โจมมีเป้าหมายจับกุมผู้ต้องสงสัย 13 คน ซึ่งเป็นชาวเวียดนามทั้งหมด และถูกระบุว่าเป็นตัวการใหญ่แก๊งนำพาชาวเวียดนาม เข้าสู่เยอรมนีโดยผิดกฎหมาย อย่างน้อย 155 คน นายแอ็กเซล แบร์นาร์ด โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเยอรมนี เผยว่า เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องสงสัยได้ 6 คนในกรุงเบอร์ลิน และรัฐซัคเซิน และอีก 4 คนจากรัฐอื่นๆ เจ้าหน้าที่หน่วยสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติเยอรมนี เผยว่า กลุ่มผู้ต้องสงสัยร่วมขบวนการนี้ เก็บเงินจากชาวเวียดนามคนละ 5,000 – 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ (156,820 – 627,290 บาท)เพื่อเป็นค่าบริการลักลอบนำพาเข้าสู่เยอรมนี โดยผู้อพยพผิดกฎหมายเหล่านี้จำนวนมาก ลงเอยด้วยการทำงานในร้านเสริมสวย ภัตตาคาร และกรรมกรในโรงงาน เพื่อหาเงินจ่ายหนี้ค่าหัวเดินทาง…

“ปืน” ผิด ก.ม.หาซื้อง่าย ถูกใช้สนองเหตุแก้ปัญหา

Loading

เหตุการณ์ “คนร้าย” ใช้อาวุธปืนก่อความรุนแรง มุ่งประสงค์ต่อชีวิตบุคคลอื่น มีลักษณะแนวโน้มเกิดถี่มาก ต้นเหตุหนึ่ง ผู้ครอบครองอาวุธปืน โดยถูกกฎหมาย และ…ผู้เป็นเจ้าของครอบครองแบบไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น ทำให้บ่อยครั้ง…มีเหตุใช้ “ปืนแก้ปัญหา”…ก่อเหตุอาชญากรรม “ฆ่ากันตายรายวัน” และยังใช้เป็นเครื่องมือระบายอารมณ์ความเครียด แม้แต่ปัญหาเล็กน้อย…ข้อพิพาทขับรถปาดหน้ากัน ก็ใช้ปืนออกมาข่มขู่ง่ายขึ้น โดยเฉพาะนับแต่เหตุบุกกราดยิง ร้านทอง จ.ลพบุรี หรือเหตุทหารคลั่งสังหารยิงผู้บริสุทธิ์ ใน อ.เมืองนครราชสีมา จนมีหนุ่มเครียดระบายอารมณ์ยิงปืน 40 นัด ซอยจุฬา 10 กทม. กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่น่าวิตกกังวลมากขึ้น สาเหตุลักษณะการนำปืนก่อเหตุนี้ “ทีมข่าวสกู๊ปหน้า 1” ได้พูดคุยกับ ครูสอนยิงปืน สนามยิงปืนสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เล่าว่า การขออนุญาตมีปืนมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง…ข้าราชการทหาร ตำรวจ ได้รับรองโดย ผู้บังคับบัญชา ในตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ เหตุผลจำเป็นที่ขออนุญาตออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ในการใช้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทำให้ทหาร ตำรวจ ขอได้ง่ายกว่าพลเรือน แต่ไม่ใช่ว่า…ทุกคนจะสมหวังเสมอไป เพราะผู้ออกใบอนุญาตอาจมองถึงหลักความจำเป็นสำคัญ เช่น ขอมีปืนขนาด…

ตัวตนข้าราชการสองหน้า แฉข้อมูลลับให้สื่อจนริชาร์ด นิกสัน ทิ้งเก้าอี้ปธน. คดีวอเตอร์เกต

Loading

(ซ้าย) ริชาร์ด นิกสัน (ขวา) มาร์ก เฟลต์ ฉากหลังเป็นภาพการจัดแสดงหลักฐานจากวาระครบ 30 ปี การงัดสำนักงานพรรคเดโมแครต ที่วอเตอร์เกต (ภาพจาก PAUL J. RICHARDS / AFP) คดีวอเตอร์เกต (Watergate) อันลือลั่นซึ่งว่าด้วยการแฉข้อมูลทางการเมือง แม้จะล่วงเลยมาหลายสิบปีแล้ว จนถึงปัจจุบัน คดีนี้ยังอยู่ในความทรงจำในฐานะเรื่องอื้อฉาวที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา หรืออาจเป็นประวัติศาสตร์โลก คดีวอเตอร์เกต การแฉข้อมูลเบื้องลึกว่าด้วยการดำเนินการของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน และผู้ใกล้ชิดซึ่งกระทำการโดยผิดกฎหมายเพื่อให้มีชัยเหนือคู่แข่งทางการเมือง และชนะการเลือกตั้ง แต่จุดที่ทำให้ถูกเปิดโปง คือกรณีที่ทีมงานเข้าไปติดตั้งเครื่องดักฟังในศูนย์รณรงค์หาเสียงของพรรคเดโมแครต และถูกตำรวจจับได้ ขณะที่สื่อสารมวลชนที่รายงานเบื้องหลังของการงัดแงะครั้งนั้นอย่างต่อเนื่อง จนข้อมูลเบื้องลึกถูกเปิดโปงใหญ่โต จากคดีงัดแงะเล็กน้อยกลายเป็นคดีอื้อฉาวระดับประเทศอันเป็นผลทำให้ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ประกาศลาออกจากตำแหน่ง และน้ำตาตกต่อหน้าการแถลงข่าว สื่อมวลชนกลุ่มที่ปฏิบัติการนี้เองมีแหล่งข่าวปริศนารายสำคัญซึ่งสาธารณชนรู้จักในนามแฝงว่า “ดีพโธรต” (Deep Throat) แล้วเขาคือใคร? หากเอ่ยถึงในข้อเท็จจริงโดยรวมแล้ว คดีวอเตอร์เกทในช่วงต้นยุค 70s มีตัวละครสำคัญที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อคดีคือบทบาทสื่อมวลชนทั้งของวอชิงตัน โพสต์ (The Washington Post) และนิวยอร์ก ไทม์ส (The New York Times) โดยเฉพาะบทบาทการทำข่าวสืบสวนสอบสวนโดยบ๊อบ…

รัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มสู้คดีในอังกฤษเพื่อขอส่งตัวผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์กลับมาดำเนินคดี

Loading

Julian Assange รัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มสู้คดีในศาลอังกฤษ เพื่อขอให้ส่งตัวนายจูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ (WikiLeaks) กลับมาดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนรัฐบัญญัติการจารกรรม จากการเผยแพร่เอกสารลับของราชการและกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งอ้างว่าส่งผลให้ชีวิตของคนหลายคนต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย เจมส์ ลูอิส ทนายตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯ ขึ้นเบิกความในศาลกรุงลอนดอน ในวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น เพื่ออธิบายต่อศาลถึงเหตุผลที่ควรส่งตัวนายอัสซานจ์กลับสหรัฐฯ โดยระบุว่า การที่วิกิลีกส์เผยแพร่เอกสารของกองทัพและการทูต เป็นการก่อความเสียหายครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ให้กับการเก็บข้อมูลลับของทางการ รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้สนับสนุนวิกิลีกส์จำนวนหนึ่งรวมตัวกันมาประท้วงหน้าศาลที่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคุ้มกันอย่างแน่นหนา ขณะที่การเบิกความดำเนินอยู่ รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งฟ้องนายอัสซานจ์ใน 18 ข้อหา ต้องการตัวเขากลับมาเพื่อลงโทษด้วยการจำคุกสูงสุดเป็นเวลา 175 ปี สำหรับการเปิดเผยข้อมูลลับหลายแสนชิ้นต่อสาธารณะในปี ค.ศ. 2010 ซึ่งนายอัสซานจ์แก้ต่างว่า เป็นการทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าว ด้วยการทำให้ประชาชนได้รับรู้ถึงการทำความผิดโดยกองทัพสหรัฐฯ และการกระทำดังกล่าวก็ได้รับการปกป้องตามบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 แห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ แต่ นายลูอิสยืนยันว่า สิ่งที่ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ทำไม่ใช่เรื่องของเสรีภาพในการพูด แต่เป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และทางการสหรัฐฯ ต้องการลงโทษนายอัสซานจ์สำหรับการทำให้ชีวิตของคนหลายคนในสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรต้องตกอยู่ในอันตราย เพราะการเปิดเผยข้อมูลลับของเขา เขากล่าวด้วยว่า การกระทำของนายอัสซานจ์ ทำให้สหรัฐฯ ต้องดำเนินการย้ายถิ่นฐานชาวอเมริกันที่ทำให้หน้าที่ป้อนข้อมูลต่างๆ ให้รัฐบาลไปอยู่ที่ๆ ปลอดภัย ขณะที่มีคนหลายคนหายสาบสูญไปแล้ว…