บริษัทในสหรัฐฯ ประกาศปิดทำการและปลดพนักงานกว่า 300 คน เหตุติดมัลแวร์เรียกค่าไถ่ จ่ายเงินไปแล้วแต่ยังกู้ข้อมูลคืนไม่ได้

Loading

บริษัท The Heritage Company ในรัฐอาคันซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศปิดทำการชั่วคราวพร้อมปลดพนักงานกว่า 300 คน สาเหตุจากระบบไอทีของบริษัทติดมัลแวร์เรียกค่าไถ่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 โดยทางบริษัทได้จ่ายเงินค่าไถ่ไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับกุญแจสำหรับใช้ปลดล็อกข้อมูลกลับคืน ทางทีมไอทีพยายามกู้คืนระบบแล้วแต่ไม่สามารถทำได้จึงจำเป็นต้องปิดบางแผนกและปลดพนักงานกว่า 300 คนออกเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ทาง CEO ของบริษัทชี้แจงว่าในตอนแรกนั้นได้ประเมินว่าการกู้คืนระบบให้กลับมาใช้งานได้น่าจะใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ แต่พอผ่านไปสองเดือนแล้วก็ยังไม่สามารถทำให้ระบบกลับมาทำงานได้ตามปกติ เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดมูลค่าความเสียหายรวมแล้วกว่าแสนดอลลาร์ ทั้งนี้ทางสำนักข่าวท้องถิ่นได้ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมพบว่าพนักงานจำนวนมากได้ลงทะเบียนว่างงานพร้อมหางานใหม่แล้วเพราะเชื่อว่าบริษัทไม่สามารถอยู่รอดได้ เหตุการณ์นี้เป็นกรณีศึกษาที่สำคัญสองอย่าง หนึ่งคือการจ่ายเงินให้กับผู้พัฒนามัลแวร์เรียกค่าไถ่นั้นไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะสามารถกู้คืนข้อมูลได้เสมอไป สองคือการลงทุนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยเฉพาะการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan หรือ BCP) นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการป้องกันเพียงอย่างเดียวนั้นอาจไม่เพียงพอกับภัยคุกคามที่พัฒนาไปทุกวัน จำเป็นต้องมีแผนรับมือในกรณีที่ระบบเกิดปัญหาเพื่อให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินต่อไปได้ การลงทุนเพื่อรับมือการโจมตีทางไซเบอร์นั้นถึงแม้จะมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูงแต่ก็อาจเทียบไม่ได้เลยกับค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาหรือกู้คืนเพื่อให้ระบบกลับมาทำงานต่อได้ ———————————————————— ที่มา : ThaiCERT / 7 มกราคม 2563 Link : https://www.thaicert.or.th/newsbite/

ประเทศในเอเชียเตรียมแผนอพยพประชาชนของตนออกจาก ‘อิรัก-อิหร่าน’

Loading

In this handout photo provided by the Malacanang Presidential Photographers Division, Philippine President Rodrigo Duterte, right, talks with security officials at the Malacanang presidential palace in Manila, Jan. 5, 2020. ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ โรดริโก ดูเตอร์เต้ จัดประชุมฉุกเฉินเพื่อสั่งการให้กองทัพเตรียมส่งเรือรบและเครื่องบินทหารไปยังตะวันออกกลางเพื่ออพยพประชาชนชาวฟิลิปปินส์หลายพันคนออกจากอิรักและอิหร่านทันทีที่ได้รับคำสั่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของรัฐบาลประเทศในแถบเอเชียที่กลัวว่าประชาชนของตนจะได้รับผลกระทบรุนแรงจากสถานการณ์ในตะวันออกกลาง ปธน.ดูเตอร์เต้ กล่าวว่าตนค่อนข้างกังวลว่าอิหร่านจะตอบโต้สหรัฐฯ และจะเกิดความรุนแรงและการนองเลือดในตะวันออกกลาง คาดว่าปัจจุบันมีชาวฟิลิปปินส์ทำงานอยู่ในอิรักและอิหร่านมากกว่า 7,000 คน รวมทั้งที่ทำงานให้กับบริษัทของสหรัฐฯ และประเทศตะวันตกที่มีฐานอยู่ในกรุงแบกแดด นอกจากนี้ ยังมีชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากที่ทำงานอยู่ในประเทศใกล้เคียง โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบีย ที่คาดว่าตัวเลขรวมอาจสูงถึงหลายแสนคน โดยส่วนใหญ่ทำงานเป็นแม่บ้าน คนงานก่อสร้าง ลูกเรือ และอาชีพทักษะฝีมือระดับสูงอื่น ๆ ขณะเดียวกัน ประเทศในเอเชียที่มีประชาชนจำนวนมากไปทำงานอยู่ในตะวันออกกลางก็กำลังเตรียมการอพยพประชาชนของตนออกจากอิรักและอิหร่านเช่นกัน ด้านรัฐบาลเกาหลีใต้กำลังหารือเรื่องการใช้มาตรการปกป้องชาวเกาหลีใต้…

หลังจากการสังหารพลเอกกาเซ็ม สุไลมานี สหรัฐฯจะหลีกเลี่ยงสงครามกับอิหร่านอย่างไร

Loading

พลเอกกาเซ็ม สุไลมานี (Qasem Suleimani) ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ “คุดส์”ของอิหร่าน ที่มาภาพ : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/ รายงานโดย ปรีดี บุญซื่อ จากการอนุมัติของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ให้กับการโจมตีด้วยเครื่องโดรนเพื่อสังหารพลเอกกาเซ็ม สุไลมานี (Qasem Suleimani) ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ “คุดส์” ของอิหร่าน ที่สนามบินแบกแดด อิรัก เมื่อวันศุกร์ที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา กล่าวกันว่า เป็นปฏิบัติการที่อุกอาจที่สุดของสหรัฐฯ นับจากปฏิวัติของอิหร่านเมื่อปี 1979 พลเอกสุไลมานีถือเป็นบุคคลที่มีอำนาจอิทธิพลมากสุดอันดับสองของอิหร่าน และเป็นผู้บัญชาการกองกำลังคุดส์ ที่เป็นกองกำลังพิเศษในต่างประเทศของกองกำลังพิทักษ์อิสลามของอิหร่าน สุไลมานีมีบทบาทสำคัญที่กำหนดความเป็นไปต่างๆที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง เช่น สงครามการเมืองในซีเรีย และสร้างกองกำลังอาสาสมัครกลุ่มชีอะห์ในอิรัก เพื่อต่อสู้กับกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอซิส พลเอกเดวิด เพทราอุส อดีตผู้อำนวยการ CIA และผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯในอิรักปี 2007-2008 กล่าวว่า “หากจะเปรียบกับตำแหน่งในสหรัฐฯ กาเซ็ม สุไลมานีคือคนที่ดำรงตำแหน่ง ทั้งผู้อำนวยการ CIA ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ และทูตพิเศษของประธานาธิบดีต่อภูมิภาค” รัฐบาลสหรัฐฯในสมัยจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช และบารัค…

ประเทศใดบ้างอาจตกเป็นเป้าการโจมตีของอิหร่าน

Loading

Pro-Iranian militiamen and their supporters set a fire during a sit-in in front of the U.S. embassy in Baghdad, Iraq, Wednesday, Jan. 1, 2020. สถานการณ์การเมืองโลกกำลังร้อนระอุ หลังอิหร่านประกาศว่าจะแก้แค้นสหรัฐฯ ที่ใช้โดรนสังหารนายพลคนสำคัญ พลตรี กาส์เซม สุไลมานีของกองทัพอิหร่านในกรุงแบกแดดประเทศอิรัก ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯกล่าวว่าหากเกิดการโจมตีโดยอิหร่าน อเมริกาจะโต้กลับอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ผู้นำสหรัฐฯกล่าวด้วยว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุสถานที่ในอิหร่าน 52 แห่งที่อเมริกาตั้งเป้าไว้ เขากล่าวด้วยว่าบางแห่งเป็นสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม นอกจากนี้อเมริกาส่งกำลังไปยังตะวันออกกลางเพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติในภูมิภาคดังกล่าวแล้ว นักวิเคราะห์รวมถึงเจ้าหน้าข่าวกรองและเจ้าหน้าที่การทูตต่างพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ พันธมิตรของสหรัฐฯประเทศต่างๆ อาจจะถูกโจมตีโดยอิหร่านได้ด้วยเช่นกัน President Donald Trump holds up a sign given to him by a supporter…

จับตา 13 ประเด็นร้อนในเวทีโลกปี 2020 กับ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข

Loading

ปี 2019 เป็นปีที่มีเหตุการณ์สำคัญมากมายในเวทีโลกให้ติดตาม ไม่ว่าจะเป็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนที่ปะทุขึ้นเป็นระยะๆ กระแสเรียกร้องให้พลเมืองโลกตระหนักถึงวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างจริงจัง ความล้มเหลวของประชุมสุดยอดผู้นำระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีเหนือที่ยังไม่มีข้อสรุปที่เป็นรูปธรรม รวมถึงความยืดเยื้อของ Brexit และการยื่นถอดถอนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกจากตำแหน่ง THE STANDARD มีโอกาสพูดคุยกับ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงความเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องของประเด็นสำคัญในเวทีโลก โดยเฉพาะในมิติของการเมืองและความมั่นคง นี่คือ 13 ประเด็นสำคัญในเวทีโลกที่น่าจับตามองในปี 2020 Photo: Posteriori / Shutterstock 1. ยุคใหม่ของการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ของรัฐมหาอำนาจที่อาจนำไปสู่สงครามเย็นในศตวรรษที่ 21 ปี 2019 ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างการครบรอบ 30 ปีของการสิ้นสุดสงครามเย็น สิ่งนี้บอกเราว่าการเมืองโลกมีการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ที่สุดคือการสิ้นสุดของสงครามเย็นหรือสงครามคอมมิวนิสต์ หลังจากนั้นเราก็ได้เห็นโลกที่มีระเบียบอีกชุดหนึ่งที่ทำเนียบขาวเรียกว่า ‘ระเบียบโลกใหม่’ (New World Order) แต่หลังจากปี 1989 ที่สงครามเย็นสิ้นสุดลง สิ่งที่เห็นคือความปั่นป่วนในเวทีโลกที่มีสหรัฐฯ เป็นมหาอำนาจเดียว สหภาพโซเวียตล่มสลาย จีนเองก็ยังไม่ได้เข้มแข็งมากนัก จนนักวิชาการจำนวนไม่น้อยต่างมองว่าโลกหลังสงครามเย็นยังเป็น ‘โลกไร้ระเบียบ’ (New World Disorder)…

รุนแรงรับปีใหม่! ผู้ประท้วงชาวอิรักบุกโจมตีสถานทูตอเมริกันในกรุงแบกแดด

Loading

ผู้ประท้วงชาวอิรักนิกายชีอะห์หลายร้อยคนบุกโจมตีอาคารสถานทูตสหรัฐฯ ที่อยู่ในเขตปลอดภัยของกรุงแบกแดด เพื่อแสดงความไม่พอใจที่สหรัฐฯ โจมตีทางอากาศใส่ฐานบัญชาการและแหล่งเก็บอาวุธของกลุ่มติดอาวุธ คาตาเอ็บ เฮซโบลาห์ บริเวณพรมแดนอิรักติดกับภาคตะวันออกของซีเรีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 25 คน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ประชาชนชาวอิรักหลายร้อยคนพากันโจมตีใส่อาคารสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงแบกแดด โดยใช้อุปกรณ์หลายอย่าง เช่น ชะแลง ท่อนไม้ และป้ายจราจร ทุบประตูเหล็กด้านหน้าทางเข้าสถานทูต รวมทั้งจุดไฟเผาป้อมรักษาความปลอดภัยหน้าสถานทูตด้วย ผู้ประท้วงชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ต่างตะโกนคำว่า “อัลลาฮู อัคบาร์” และ “สหรัฐฯ คือปีศาจร้าย” ขณะที่โบกธงสัญลักษณ์ของกลุ่มติดอาวุธเฮซโบลาห์ และขว้างปาก้อนหินใส่อาคารสถานทูตอเมริกัน หนึ่งในผู้นำของกลุ่มผู้ประท้วงของนิกายชีอะห์ซึ่งสนับสนุนรัฐบาลอิหร่าน คาอีส อัล-โคซาลี กล่าวว่าสหรัฐฯ ต้องรับผิดชอบต่อสงครามและความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในอิรัก คาอีส อัล-โคซาลี แห่งกลุ่ม Asaib Ahl al-Haq ระบุว่า สถานทูตแห่งนี้คือสถานที่ที่ใช้ในการวางแผน การจารกรรม การขโมยข้อมูลข่าวกรอง และกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีเป้าหมายบ่อนทำลายอิรัก ถือเป็นศูนย์กลางของการกระทำที่ไม่เป็นมิตร สื่อมวลชนในอิรักรายงานว่า กองกำลังของรัฐบาลอิรักมิได้พยายามยับยั้งการโจมตีของผู้ประท้วงดังกล่าวที่พยายามบุกเข้าไปในเขตปลอดภัยกรีนโซน หรือแม้กระทั่งหยุดยั้งการโจมตีอาคารสถานทูตอเมริกัน แต่มีรายงานในวันอังคารว่า กองกำลังรักษาความปลอดภัยอิรักได้ยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ประท้วงบางส่วนเพื่อสลายการชุมนุม รัฐมนตรีต่างประเทศอิรัก โมฮัมเหม็ด อาลี อัล-ฮาคิม…