วิธีป้องกัน-รับมือภัยใกล้ตัว ก่อน “ถังก๊าซรั่ว” จนไหม้หรือระเบิด

Loading

  ปภ.แนะนำวิธีการป้องกันและข้อปฏิบัติเพื่อใช้ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซ LPG อย่างถูกวิธี ป้องกันภัยใกล้ตัวก๊าซรั่วจนเกิดไฟไหม้หรือระเบิด ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิงที่บ้านและร้านอาหารนิยมใช้ประกอบอาหาร เนื่องจากใช้งานง่ายและสะดวกสบาย แต่มีคุณสมบัติไวไฟจะติดไฟอย่างรวดเร็ว หากอุปกรณ์ถังก๊าซอยู่ในสภาชำรุด ผู้ใช้งานประมาทและขาดความระมัดระวัง จะเสี่ยงต่อการระเบิดและเพลิงไหม้ได้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้แนะนำวิธีการป้องกันและข้อปฏิบัติเพื่อใช้ก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธีและปลอดภัยไว้ ดังนี้ การเลือกใช้ถังก๊าซ ถังก๊าซ มีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรับรองคุณภาพมีซีลปิดผนึกที่หัวถังในสภาพสมบูรณ์ พร้อมหมายเลขถังกำกับ และมีข้อความระบุชื่อบริษัท เดือน ปี ที่ตรวจสอบถังครั้งสุดท้าย น้ำหนักถัง และน้ำหนักบรรจุอย่างชัดเจน รวมถึงตัวถังไม่มีรอยบุบ บวม หรือเป็นสนิท สายนำก๊าซ ต้องเป็นชนิดที่ใช้กับก๊าซหุงต้ม ไม่ทำจากยางหรือพลาสติก เพราะเมื่อถูกก๊าซหุงต้มจะละลาย ทำให้เกิดการรั่วไหลได้ ที่สำคัญ ต้องไม่หักงอง่ายทนต่อแรงดันและการขูดขีด สามารถต่อกับลิ้นเปิด – ปิดได้สนิทและแน่นหนา เหล็กรัดสายยางส่งก๊าซ ต้องเลือกใช้ชนิดที่ไม่เป็นสนิม มีความแข็งแรงทนทาน และควรเปลี่ยนใหม่ทุก ๆ 2 ปี วิธีป้องกันเหตุรั่วไหล -หมั่นตรวจสอบเตาแก๊สและถังก๊าซให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ห้ามเปลี่ยนอุปกรณ์หรือแก้ไขด้วยตนเอง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ -ใช้งานก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธี ไม่เปิดเตาแก๊สติดต่อกันหลายครั้ง…

การก่อการร้าย ภัยใกล้ตัวคนเมือง รู้ทัน รู้ระวัง เพื่อสังคมปลอดภัย

Loading

อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ แนะสังคมตระหนักภัย “การก่อการร้ายในสังคมเมือง” สร้างองค์ความรู้รับมือเมื่อเกิดเหตุ เสนอรัฐลงทุนด้านความมั่นคง แม้ปัจจุบันสถานการณ์โรคระบาด สภาวะสงคราม และราคาน้ำมันที่พุ่งทะยานรายวัน จะเป็นปัญหาที่ตรึงความสนใจของผู้คนจำนวนมากเนื่องจากเป็นปัญหาที่กระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างหนัก แต่ก็อย่าได้ละเลย “การก่อการร้าย” ที่ยังเป็นภัยใกล้ตัวผู้คนในสังคมเมือง โดยเฉพาะท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่มีความขัดแย้ง ทั้งนี้ จากดัชนีการก่อการร้ายทั่วโลก ปี 2565 (2022 Global Terrorism Index) ประเทศไทยได้คะแนนอยู่ในอันดับที่ 22 จาก 163 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้วถึง 3 อันดับ นั่นหมายความว่าประเทศไทยยังคงได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายในระดับที่ค่อนข้างสูงทีเดียว (ที่มา: https://www.visionofhumanity.org/maps/global-terrorism-index/#/) “ในฐานะประชาชนที่อาศัยอยู่ในสังคมเมือง เราควรตระหนักถึงอันตรายจากการก่อการร้าย และมีความรู้เพียงพอที่จะระแวดระวังตัวให้รอดจากเหตุร้าย และช่วยให้สังคมเมืองของเราปลอดภัยมากขึ้น” ศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในรายการ “รอบตัวเรา” ทางสถานีวิทยุจุฬาฯ เมื่อเร็วๆ นี้   ศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข การก่อการร้ายต่างจากอาชญากรรมอย่างไร ศ.ดร.สุรชาติ กล่าวว่า…