เอสเอ็มอีไทยน่าห่วง! สกมช.เผยกว่า 65% โดนภัยไซเบอร์ล็อคเป้าโจมตี

Loading

  สกมช.เผยผลสำรวจพบผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 65% ไทยโดนโจมตีทางไซเบอร์ มัลแวร์ตัวร้ายมาเป็นอันดับหนึ่ง กว่า 90% ตามด้วยฟิชชิง เหตุเพราะว่าโซลูชันด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะตรวจจับ ทำธุรกิจสะดุด-รายได้วูบ 47%   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เผยว่า ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ThaiCERT) ระบุว่า ข้อมูลในช่วงที่ผ่านมาพบว่า เหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์มีการโจมตีมากกว่า 1,827 เหตุการณ์ ซึ่งเป็นการโจมตีทางฝั่งภาคเอกชน 124 เหตุการณ์   โดยการโจมตีทางไซเบอร์ต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งด้านการเงินและชื่อเสียงองค์กร พบว่ากว่า 65% ของเอสเอ็มอีล้วนแต่ถูกโจมตีทางโซเบอร์ โดยผลการวิจัยในปีที่ผ่านมาจาก Cybersecurity for SMBs: Asia Pacific Businesses Prepare for Digital Defense by Cisco พบว่า ธุรกิจในไทยโดยประมาณ 56% ได้ประสบปัญหาการดำเนินงานหยุดชะงักเนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์   “เหตุผลที่ธุรกิจเอสเอ็มอีจำเป็นต้องมีโซลูชันด้านความปลอดภัยเนื่องจากตกเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ถูกโจมตีมากขึ้น” ภัยคุกคามทั้งความมั่นคง-กฎหมาย…

ภัยไซเบอร์ยังน่ากลัว!ชี้ธุรกิจไทยโดนคุกคามทางเว็บ 5,811 รายการต่อวัน

Loading

    “แคสเปอร์สกี้” ชี้ธุรกิจไทยโดนภัยคุกคามทางเว็บเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน! เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 1.4 แสนต่อวัน   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญกับภัยคุกคามทางเว็บ (web threat) หรือภัยคุกคามที่เกิดจากอินเทอร์เน็ต (internet-born threat) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นทั้งศูนย์กลางการเติบโตและเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์   โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 โซลูชันความปลอดภัยสำหรับธุรกิจของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บในภูมิภาคมากกว่า 26 ล้านรายการ โดยเฉลี่ยแล้วนับเป็นความพยายามโจมตีทางเว็บ 146,944 รายการต่อวัน ประเทศไทยพบความพยายามโจมตีทางเว็บทั้งหมด 1,057,732 รายการ คิดเป็นจำนวนเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน   ภัยคุกคามทางเว็บหรือภัยคุกคามออนไลน์เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ผ่านอินเทอร์เน็ต ภัยคุกคามทางเว็บเกิดจากช่องโหว่ของผู้ใช้ ผู้พัฒนา ผู้ดำเนินการบริการเว็บ รวมถึงตัวบริการเว็บเอง ไม่ว่าจะมีเจตนาหรือสาเหตุใด ภัยคุกคามทางเว็บอาจสร้างความเสียหายให้กับทั้งบุคคลและองค์กร     บริษัทและองค์กรธุรกิจในมาเลเซียอยู่ในอันดับสูงสุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผชิญกับภัยคุกคามทางเว็บ 19,615,255 รายการ…

อธิปไตยทางดิจิทัลกับการครอบงำทางเทคโนโลยี

Loading

แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ค้นพบแคมเปญภัยไซเบอร์รูปแบบใหม่ที่แพร่กระจายผ่านโฆษณาบนเว็บ และมุ่งเป้าโจมตีไปที่ผู้ใช้งานพีซีระบบปฏิบัติการ Windows โดยขณะที่เข้าเว็บไซต์ ผู้ใช้อาจจะคลิกโฆษณาที่โผล่ขึ้นมาปิดบังหน้าจอทั้งหมดโดยไม่รู้ตัว และไปที่หน้าเว็บ CAPTCHA ปลอม หรือข้อความแสดงข้อผิดพลาดของ Chrome ปลอม โดยหลอกให้ทำตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อดาวน์โหลดมัลแวร์สตีลเลอร์ (stealer) แคสเปอร์สกี้ตรวจพบโฆษณาอันตรายลักษณะนี้มากกว่า 140,000 รายการในเดือนกันยายนและตุลาคม 2024 และพบว่าผู้ใช้จำนวนมากกว่า 20,000 คนถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยังหน้าเว็บปลอมที่โฮสต์สคริปต์อันตราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้จากประเทศบราซิล สเปน อิตาลี และรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้ใช้เข้าเว็บด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการทำตามขั้นตอนที่น่าสงสัยเพื่อความปลอดภัย

บริการโอนเงินข้ามประเทศ MoneyGram โดนโจมตีไซเบอร์ ระบบล่มติดต่อกันหลายวัน

Loading

MoneyGram บริการโอนเงินระหว่างประเทศรายใหญ่ของโลก ประสบปัญหาระบบล่มติดต่อกันหลายวัน มีรายงานปัญหามาตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน ซึ่งกระทบลูกค้าของ MoneyGram ทั่วโลกที่ไม่สามารถโอนเงินได้ (ปัจจุบัน ณ ขณะที่เขียน หน้าเว็บของ MoneyGram ยังมีข้อความแจ้งว่าเกิดปัญหา)

แฮ็กเกอร์ใช้ ‘URL Protection’ ซ่อนลิงก์ฟิชชิง

Loading

การโจมตีของแฮ็กเกอร์นั้นนับวันก็จะยิ่งก้าวล้ำและมีความแปลกใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะหากโจมตีสำเร็จผลตอบแทนที่แฮ็กเกอร์ได้รับจะมีมูลค่าสูงซึ่งถือว่ามีความคุ่มค่าและน่าดึงดูดใจเป็นอย่างมาก

ทั่วโลกยังเสี่ยงภัยไซเบอร์ แม้ภัยคุกคามภายนอกลดลง แต่องค์กรกลับเสี่ยง ข้อมูลหลุด เพราะคนใน มากขึ้น

Loading

Bluebik Titans บริษัทย่อยของ Bluebik Group ผู้ให้บริการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แบบครบวงจร เผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการโจมตีทางไซเบอร์ต่อองค์กรต่างๆ ทั่วโลก พบว่า อัตราการภัยคุกคามส่วนใหญ่มาจากภายนอกองค์กร ซึ่งลดลงจากกปี 2023 ในขณะที่ภัยคุกคามจากภายในองค์กรกลับเพิ่มขึ้นถึง 20% จากปีก่อนหน้า ซึ่งส่วนใหญ่ 90% ทำการโจมตีองค์กรเพราะความต้องการทางการเงิน ซึ่งภัยคุกคามเหล่านี้ มีทั้งที่ตั้งใจโจมตี ขโมย ปล่อยข้อมูล และที่ไม่ตั้งใจให้เกิดการคุกคามทางไซเบอร์