เตือนผู้ใช้ไอโฟน อย่ากดปุ่ม ‘ลบไวรัส’ เป็นโฆษณาหลอกลวง เปิดขั้นตอนบล็อกที่นี่

Loading

  เตือนผู้ใช้ไอโฟน อย่ากดปุ่ม ‘ลบไวรัส’ เป็นโฆษณาหลอกลวง เปิดขั้นตอนบล็อกที่นี่ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม เฟซบุ๊ก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. – CCIB ได้ออกมาเตือนประชาชน ผู้ใช้สมาร์ทโฟน หวั่นถูกหลอกให้กดปุ่มโฆษณาป๊อปอัพในไอโฟน โดยว่า ตำรวจไซเบอร์แจ้งเตือนภัยโฆษณา แบบ Pop up หลอกว่าตรวจพบไวรัสในโทรศัพทมือถือ iPhone ห้ามกดป่มลบไวรัสโดยเด็ดขาด ให้ปิดโฆษณาหลอกลวง โดยใช้นิ้ว เลื่อนจากบริเวณด้านล่างหน้าจอขึ้นมาประมาณ 1 ใน 3 ของหน้าจอแล้วกดค้างไว้สักครู่ จะปรากฎหน้าจอโปรแกรมต่าง ๆ ที่เปิดค้ำงไว้ ่ ให้ใช้นิ้วกด ที่โปรแกรมที่ ต้องต้องการปิด โดยปัดเลื่อนขึ้นไปด้านบน จากนั้นควรเข้าไปตั้งค่าใน iPhone เพื่อป้องกัน การโฆษณาจากเว็บไซตหลอกลวง ดังนี้ 1. กดเลือก “Settings” แล้วเลื่อนไปกดที่โปรแกรม “Safari” 2. เช็คการตั้งค่า “Block Pop-ups” (ปิดกั้นหน้าต่างที่แสดงขึ้น)…

ระวังPhishing รูปแบบใหม่ผ่านจดหมาย Voucher ขโมยรหัสผ่าน e-banking

Loading

ระวัง Phishing รูปแบบใหม่ผ่านจดหมาย Voucher ส่งทางทางไปรษณีย์ แต่แปลก ขอรหัสธนาคารออนไลน์ ลงเว็บไซต์ url แปลก หากหลงกลอาจเสียเงินทั้งหมดในบัญชี จากที่ผ่านมา Phishing มาในรูปแบบลิงก์บนอีเมล แจ้งเตือนธุรกรรมผิดปกติ ให้เปลี่ยนรหัสผ่านตามลิงก์ที่กำหนดให้ หวังผู้ที่เป็นเหยื่อคลิกแล้วกรอกรหัสบนเว็บไซต์ธนาคารปลอม แต่รอบนี้มาในรูปแบบเอกสารสำคัญส่งทางไปรษณีย์ถึงบ้าน เป็นจดหมาย EMS และออกแบบเอกสารได้เหมือนเรื่องจริงเลยทีเดียว     ระวัง Phishing รูปแบบใหม่ผ่านจดหมาย ของจริง ทำซะน่าเชื่อถือ แต่ความจริงคือหลอก     โดยข้างในซองจดหมาย EMS เป็นใบ gift voucher มูลค่า 10,000 บาท พร้อมกับข้อมูลขั้นตอนการใช้ Gift Voucher คงน่าตื่นเต้นไม่น้อยที่เราจะได้ซื้อของแล้วได้ส่วนลด 1 หมื่นบาท แต่ทว่า มีข้อสังเกตคือ ทำไมต้องใส่ password แถมใน gift card ข้อ 2 บอกว่าต้องใส่…

แอป รู้ทัน แอปแจ้งเบาะแสภัยไซเบอร์ ส่งตรงถึง DSI

Loading

แอป รู้ทัน แอปแจ้งเบาะแสภัยไซเบอร์ โดย DSI ย้ำเตือนประชาชนระมัดระวัง หลีกเลี่ยงกดเข้าลิงก์เว็บไซต์ที่ส่งมาพร้อมข้อความ SMS ที่อ้างตนเป็นธนาคารโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับเงินในบัญชีออนไลน์ของท่าน หากมีข้อสงสัยให้ตรวจสอบกับธนาคารเจ้าของบัญชีโดยตรง ทั้งนี้ในบางกรณี มีกลุ่มมิจฉาชีพส่ง SMS หลอกเป็นธนาคารให้ประชาชนหลงเชื่อ ส่งข้อมูลส่วนตัว และนำไปสมัครใช้บริการแอปพลิเคชั่น mobile banking โดยมิจฉาชีพจะโอนเงินออกจากบัญชีนั้นทันที โดยในปัจจุบันนี้ ธนาคารแต่ละแห่ง ได้มีการปรับปรุงระบบความปลอดภัยของแอปธนาคารมากขึ้น กลุ่มมิจฉาชีพจึงปรับเปลี่ยนวิธีการหลอกเป็นการส่งข้อความ SMS อ้างว่าเป็นธนาคาร พร้อมลิงค์เว็บไซต์ที่สร้างขึ้น เป็นเว็บไซต์ธนาคารปลอม เพื่อหลอกประชาชนกรอก username password และรหัส OTP เพื่อให้มิจฉาชีพได้ข้อมูลไปสวมรอย โอนเงินออกจากบัญชีทันที ดังนั้นหลีกเลี่ยงการกดเข้าลิงค์เว็บไซต์บนข้อความ SMS ที่อ้างว่าเป็นธนาคารโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับเงินในบัญชีของคุณ และทุกธนาคารในประเทศไทย ไม่เคยส่ง sms พร้อมลิงก์ให้เข้าเว็บไซต์ธนาคารผ่านทาง SMS หากมีข้อสงสัยให้ตรวจสอบกับธนาคารเจ้าของบัญชีโดยตรง       ทั้งนี้ หากท่านพบเห็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับทางเทคโนโลยี สามารถแจ้งเบาะแสได้ผ่านทางแอปพลิเคชั่น Rootan ของศูนย์สืบสวนไซเบอร์ กองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ…