ญี่ปุ่นพบข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลสูงเป็นประวัติการณ์ในปีงบฯ 66

Loading

ญี่ปุ่นพบข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 13,279 กรณีในปีงบประมาณ 2566 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา โดยพุ่งขึ้นถึง 70% จากปีก่อนหน้า ซึ่งตอกย้ำถึงการจัดการข้อมูลที่ย่ำแย่ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

‘การ์ทเนอร์’ เปิด 10 ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ เขย่าลงทุนไอที ‘ภาครัฐ’

Loading

    การ์ทเนอร์ เผย 10 ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ ที่มีความสำคัญต่อกิจการภาครัฐปี 2566 แนวทางที่ผู้นำองค์กรควรให้ความสำคัญเพื่อผลักดันกระบวนการเปลี่ยนผ่านและเตรียมพร้อมไปสู่รัฐบาลหลังยุคดิจิทัล (Post-Digital Government)   อาร์เธอร์ มิคโคลีท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ เปิดมุมมองถึง ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ ว่า ความวุ่นวายทั่วโลกและการหยุดชะงักทางเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่เพียงแต่กำลังกดดันรัฐบาลให้ต้องหาทางออกเพื่อปรับสมดุลระหว่างโอกาสและความเสี่ยงทางดิจิทัลเท่านั้น   แต่ยังให้โอกาสสำคัญสำหรับเปลี่ยนแปลงรัฐบาลดิจิทัลไปสู่ยุคถัดไป ซึ่งผู้บริหารไอทีต้องแสดงให้เห็นว่าการลงทุนดิจิทัลของพวกเขานั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่กลยุทธ์ทั่ว ๆ ไป   พิทักษ์ ‘ซิเคียวริตี้’ องค์กร   สำหรับเทคโนโลยีที่ ซีไอโอ ภาครัฐควรพิจารณาและนำมาปรับใช้ เพื่อปรับปรุงความสามารถทางธุรกิจ บรรลุภารกิจสำคัญของผู้นำ และสร้างองค์กรรัฐที่พร้อมสำหรับอนาคตยิ่งขึ้น ประกอบด้วย     Adaptive Security : การ์ทเนอร์คาดว่า ปี 2568 ราว 75% ของซีไอโอในองค์กรภาครัฐจะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการรักษาความปลอดภัย โดยจะมีทั้งเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของการปฏิบัติงานต่างๆ เทคโนโลยีที่แวดล้อมภารกิจสำคัญขององค์กร   รวมไปถึงการผสานรวมข้อมูลองค์กร ความเป็นส่วนตัว ซัพพลายเชน ระบบไซเบอร์และกายภาพ…

อย่าละเลย “บิ๊กดาต้า” ปรับระบบบริหารประเทศ

Loading

  รัฐบาลไทยมีความพยายามที่จะนำบิ๊กดาต้ามาใช้ประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ดูเหมือนว่ายังไม่เทียบเท่าในต่างประเทศ ที่ใช้การประมวลผลบิ๊กดาต้าช่วยวิเคราะห์นโยบายสาธารณะต่าง ๆ ได้ผลมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถวัดผลได้ดี   โลกปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยบิ๊กดาต้าไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจหรือภาครัฐ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจมีความชัดเจนและให้ความสำคัญมานานแล้วในการกำหนดแผนธุรกิจที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลด้วยเครื่องมือต่าง เช่น ปัญญาประดิษฐ์ และในปัจจุบันที่ธุรกรรมต่าง ๆ ถูกดำเนินการผ่านออนไลน์ยิ่งทำให้ข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจมีเพิ่มขึ้นมาก จึงไม่แปลกใจที่บรรดาบิ๊กคอร์ปต่างลงทุนอย่างเต็มที่กับระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้น   สถานการณ์ดังกล่าวได้นำมาสู่โอกาสทางธุรกิจมหาศาลทั้งผู้ใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้า รวมถึงผู้ที่ลงทุนระบบจัดเก็บข้อมูลตลอดทั้งซัพพลายเชนไปจนถึงการให้บริการในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการลงทุนดังกล่าว จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าบิ๊กดาต้าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ และเกิดการแบ่งชิงบิ๊กดาต้าผ่านกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดในหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้บริโภคยอมเปิดเผยข้อมูลหรือจัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้มีการนิยามว่าบิ๊กดาต้า เป็นอีก 1 เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก   การบริหารราชการแผ่นดินยุคใหม่ในหลายประเทศล้วนใช้บิ๊กดาต้าในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นนโยายเกี่ยวกับสาธารณสุข การศึกษา การคมนาคม การบริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการพลังงาน การบริหารด้านการคลัง การจัดเก็บภาษี รวมไปถึงการจัดการข้อมูลด้านความมั่งคงของประเทศหรือการทหาร เพราะช่วยให้รัฐบาลคาดการณ์และวิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำมากขึ้น และนำไปสู่การบริหารจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด   รัฐบาลไทยมีความพยายามที่จะนำบิ๊กดาต้ามาใช้ประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งถือว่าเป็นทิศทางที่ดีที่การดำเนินการหลายส่วนนำบิ๊กดาต้ามาใช้ แต่ดูเหมือนว่ายังไม่เทียบเท่าเหมือนในต่างประเทศ ในขณะที่การจะก้าวไปสู่จุดดังกล่าวจะต้องมีการปฏิรูปข้อมูลภาครัฐเข้าสู่ดิจิทัล โดยเฉพาะการสร้างคลาวด์ของภาครัฐที่ใช้งานร่วมกันที่นอกจากจะเป็นการรวมข้อมูลไว้ด้วยกันแล้วยังช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างระบบจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน เพื่อใช้เครือข่ายการประมวลผลร่วมกันได้   หากการประมวลผลบิ๊กดาต้าของภาครัฐมีความสมบูรณ์ก็จะทำให้วิเคราะห์ได้ว่านโยบายสาธารณะแต่ละนโยบายได้ผลมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถวัดผลได้ดี ยกตัวอย่างการที่รัฐบาลกำลังผลักดันนโยบายประกันรายได้ข้าวปี 2565 ซึ่งเป็นปีที่ 4 ใช้วงเงินประกันราคาข้าวรวมกับโครงการที่เกี่ยวข้อง 150,000…