โลกระทึก! “อีลอน มัสก์” เตรียมเปิดเน็ตดาวเทียม “สตาร์ลิงค์” ให้เตหะรานใช้ฟรีหลังวอชิงตันไฟเขียว ตำรวจศีลธรรมอิหร่านโดนคว่ำบาตรเซ่นคดี “มาห์ซา อามินี” ตายไปแล้วกว่า 41 โดนจับ 1,200

Loading

  รอยเตอร์/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – ยอดเสียชีวิตสื่อทางการการประท้วงอิหร่านล่าสุดมีไม่ต่ำกว่า 41 คน และถูกจับอีก 1,200 คน ขณะที่อีลอน มัสก์ แถลงวันศุกร์ (23 ก.ย.) ว่า สตาร์ลิงค์จะเริ่มต้นเปิดสัญญาณให้ประชาชนอิหร่านใช้หลังถูกเตหะรานสั่งตัดสัญญาณเป็นวงกว้างหลังวอชิงตันไฟเขียว และสหรัฐฯ ยังสั่งขึ้นบัญชีดำคว่ำบาตรตำรวจศีลธรรมอิหร่านต้นตอการเสียชีวิตของหญิงอิหร่านชาวเคิร์ดวัย 22 ปี “มาห์ซา อามินี” หลังดับขณะถูกควบคุมในข้อหาสวมญิฮาบไม่ถูกตามกฎผมไม่กี่ช่อโผล่   รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้ (24 ก.ย.) ว่า ประธานาธิบดีอิหร่าน อิบราฮิม ไรซี (Ebrahim Raisi) ประกาศวันเสาร์ (24) ว่า เขาจะเดินหน้าใช้ความเฉียบขาดในการจัดการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดหลังเหตุการเสียชีวิตภายใต้เงื้อมมือของตำรวจศีลธรรมอิหร่าน ของหญิงอิหร่านชาวเคิร์ดวัย 22 ปี “มาห์ซา อามินี” (Mahsa Amini)   อ้างอิงจาก CNN โดยมารินา เนมัต (Marina Nemat) พบว่า อามานีที่มีรูปลักษณ์ชวนมองเสียชีวิตเนื่องมาจากอามินี ปล่อยช่อผมไม่กี่ช่อให้โลกได้เห็น และผิดกฎเคร่งครัดในการสวมญิฮาบของอิหร่านทันที…

เปิดไทม์ไลน์ “ม็อบอิหร่าน” กับกระแสต่อต้านตำรวจทำร้ายผู้หญิงจนเสียชีวิต

Loading

  การประท้วงของ “ม็อบอิหร่าน” เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยชนวนเหตุเกิดจาก ตำรวจศีลธรรมจับกุมหญิงวัย 22 ปี และทำร้ายจนเสียชีวิต ทำให้เกิดกระแสต่อต้านจากประชาชนอย่างหนัก   ย้อนไปเมื่อวันที่ 16 ก.ย. ท่ามกลางการชุมนุมประท้วงของ “ม็อบอิหร่าน” ที่รวมตัวกันเพื่อขับไล่ผู้นำสูงสุด ตำรวจศีลธรรมของอิหร่านได้จับกุมและทำร้ายหญิงสาวอายุ 22 ปี ชาวอิหร่านชื่อว่า “มาห์ซา อามินี” ในข้อหาแต่งกายไม่สุภาพ เนื่องจากเธอคลุมฮิญาบไม่เรียบร้อย โดยปล่อยให้มีปอยผมด้านหน้าตกลงมาบริเวณหน้าผาก ซึ่งถือว่าผิดระเบียบข้อบังคับในการสวมฮิญาบ หรือผ้าคลุมศีรษะในที่สาธารณะ ทำให้ชาวอิหร่านส่วนใหญ่มองว่าการกระทำของตำรวจในครั้งนี้เกิดกว่าเหตุ   หลังจากนั้นในวันที่ 16 ก.ย. อามินี ซึ่งอยู่ในอาการโคม่าที่โรงพยาบาลก็ได้เสียชีวิตลงจากอาการสมองตาย โดยตามร่างกายของเธอมีบาดแผลฟกช้ำที่เกิดจากการถูกทำร้าย แต่ตำรวจอ้างว่าเธอเสียชีวิตเพราะมีอาการป่วยระหว่างการจับกุมตัวร่วมกับผู้หญิงคนอื่น และไม่ได้ทุบตีเธอตามที่หลายฝ่ายอ้าง แม้ครอบครัวของเธอจะยืนยันว่าเธอไม่เคยมีปัญหาสุขภาพก็ตาม   เมื่อข่าวแพร่ออกไปทำให้ผู้ชุมนุมเกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก แม้แต่ชาวอิหร่านที่เป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมและสนับสนุนการสวมฮิญาบยังมองว่าตำรวจทำเกินกว่าเหตุ การเสียชีวิตของอามินีจึงกลายเป็นชนวนที่เพิ่มความรุนแรงให้กับการชุมนุมประท้วงของ “ม็อบอิหร่าน” เป็นเท่าทวีคูณ   เกิดอะไรขึ้นที่อิหร่าน   การประท้วงของชาวอิหร่านหรือ “ม็อบอิหร่าน” เริ่มต้นเมื่อประมาณวันที่ 10 ก.ย. ที่ผ่านมาโดยม็อบต้องการขับไล่ผู้นำสูงสุด “อายะตุลลอฮ์…