สแกมเมอร์จีนใช้ AI ปลอมเป็นเพื่อน หลอกเงินนับล้าน

Loading

  สแกมเมอร์ในจีนใช้เทคโนโลยี AI ปลอมตัวเป็นเพื่อนนักธุรกิจของชายคนหนึ่งและหลอกยืมเงิน สูญหลายล้านหยวน   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2566 กล่าวว่า สแกมเมอร์ หรือมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ ในประเทศจีน ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (AI) ในการหลอกลวงเหยื่อ จนสูญเงินนับล้านหยวน   สื่อของรัฐในเมืองฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน เผยแพร่ข้อมูลว่า เหยื่อผู้เสียหายรายนี้ ใช้นามว่านายกั๋ว ได้รับวิดีโอคอลเมื่อเดือนที่แล้วจากบุคคลที่ปรากฏภาพและเสียงของเพื่อนสนิท แต่แท้จริงแล้วผู้โทรมาเป็นมิจฉาชีพ ซึ่งใช้เทคโนโลยี AI อัจฉริยะเพื่อเปลี่ยนหน้าและเสียงให้เหมือนกับบุคคลที่เหยื่อรู้จัก เพื่อหลอกล่อขอยืมเงิน   จากนั้นนายกั๋ว ซึ่งหลงเชื่อตามภาพและเสียงในวีดีโอคอล ได้โอนเงินให้เพื่อนตัวปลอมเป็นจำนวน 4.3 ล้านหยวน (ประมาณ 21 ล้านบาท) หลังจากที่มิจฉาชีพอ้างว่าเพื่อนอีกคนต้องการเงินจากบัญชีธนาคารของบริษัทเพื่อจ่ายค้ำประกันการประมูล   มิจฉาชีพทำทีขอหมายเลขบัญชีธนาคารส่วนบุคคลของนายกั๋ว เพื่อหลอกว่าจะโอนเงินคืนให้ จากนั้นก็อ้างว่าได้โอนเงินคืนให้ทั้งหมดแล้ว พร้อมโชว์หลักฐานการโอนผ่านหน้าจอเพื่อยืนยัน   เมื่อมีการแจ้งเตือนจากธนาคารว่ามีเงินเข้าออกจากบัญชีตนเอง นายกั๋วจึงไม่ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดและเชื่อใจการกระทำของเพื่อนปลอม   “ในตอนนั้น ผมได้เห็นหน้าและได้ยินเสียงของบุคคลที่วิดีโอคอลหาผมว่าเป็นเพื่อนที่ทำธุรกิจด้วยกันจริง ดังนั้นผมจึงไว้ใจและไม่ได้ตรวจสอบ” สื่ออ้างคำให้การของนายกั๋ว…

ธปท. แนะวิธีสแกน QR code – โอนเงินอย่างไร? ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

Loading

    ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะวิธี สแกน QR code – โอนเงินผ่านแอป Mobile Banking อย่างไร? ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ซึ่งหากเราเผลอกรอกข้อมูลสำคัญหรือกด download จะโดนดูดเงินในบัญชีออกไป   ในปัจจุบัน “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” หรือมิจฉาชีพได้พัฒนารูปแบบการหลอกลวง ให้ผู้เสียหายสแกน QR code – โอนเงินผ่านแอป Mobile Banking เพื่อเข้าถึงข้อมูลและควบคุมโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ซึ่งหากคนร้ายสามารถรู้รหัสผ่านในการใช้งานแอปพลิเคชันธนาคาร คนร้ายก็จะสามารถทำการถอนเงินออกจากบัญชีธนาคารของเหยื่อจนหมด   ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้โพสต์แนะนำวิธีสแกน QR code อย่างไรให้ปลอดภัยจาก #มิจฉาชีพ โดยระบุว่า   การสแกนจ่ายหรือโอนเงินผ่านแอป Mobile Banking ต้องตรวจสอบชื่อผู้รับโอนและยอดเงินทุกครั้ง ถ้าจะจ่ายหรือโอนเงินให้หน่วยงาน เช่น มูลนิธิ ราชการ ชื่อผู้รับควรเป็นชื่อหน่วยงานนั้นโดยตรง หากสแกนแล้วเป็นชื่อบุคคล ควรตรวจสอบหรือโทรถามให้แน่ใจก่อนกดโอน     หากสแกนเพื่อจุดประสงค์อื่น เช่น…

อย่ากดลิงก์!เตือนภัยอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ขนส่ง ขอตรวจสถานะเป็นเจ้าของรถ

Loading

    18 พฤษภาคม 2566 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอแจ้งเตือนประชาชนระวังมิจฉาชีพในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าของรัฐ โทรศัพท์สอบถามข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ยืนยันหน่วยราชการไม่มีนโยบายโทรศัพท์สอบถามข้อมูลจากประชาชน ถึงแม้จะมีการประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนจากส่วนราชการให้ระมัดระวังมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีประชาชนตกเป็นเหยื่อกลโกงมิจฉาชีพ   นางสาวรัชดา กล่าวว่า ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อและอย่าสนทนาหากมีผู้แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกหรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานขนส่งจังหวัด โทรสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ นามสกุล ทะเบียนรถ เพื่อเป็นการตรวจสถานะความเป็นเจ้าของทะเบียนรถ แล้วให้โหลดแอปพลิเคชันหรือให้เข้าไปกดลิงก์ยืนยัน หากไม่เข้าไปยืนยันข้อมูล จะทำให้ข้อมูลของเจ้าของรถถูกลบและไม่สามารถเรียกคืนได้ ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบกได้ยืนยันว่า ไม่มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่โทรตรวจสอบความเป็นเจ้าของทะเบียนรถและให้โหลดแอปพลิเคชันหรือให้เข้าลิงก์เพื่อเข้าไปยืนยันข้อมูลส่วนบุคคลแต่อย่างใด ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด   สำหรับการแอบอ้างของมิจฉาชีพที่นำข้อมูลส่วนบุคคลไปทำให้เกิดความเสียหายและสูญเสียทรัพย์สิน มีดังนี้   1.การแจ้งชื่อ นามสกุล ทะเบียนรถ   2.การแจ้งให้โหลดแอปพลิเคชันเพื่อตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถของตัวเอง   3.การให้เข้าลิงก์ที่ทางผู้แอบอ้างส่งมาให้ เพื่อยืนยันข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความดูแลของกรมการขนส่งทางบก เช่น เจ้าของรถมีรถกี่คัน , เลขทะเบียน   4.การอ้างว่าหากไม่เข้าไปยืนยันข้อมูลดังกล่าว จะทำให้ข้อมูลของเจ้าของรถถูกลบและไม่สามารถเรียกคืนได้  …

รู้ทันภัย Phishing ปลอดภัยได้แค่ไม่ด่วนเชื่อและกด link ซี้ซั้ว

Loading

    แม้ว่าจะมีข่าวที่ประกาศเตือนภัยมิจฉาชีพในรูปแบบต่าง ๆ อยู่ทุกวัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีข่าวของคนที่ตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพอยู่ทุกวันเช่นเดียวกัน มูลค่าความเสียหายก็มีตั้งแต่ไม่กี่บาท (มักไม่เป็นข่าว แต่เริ่มมีการเตือนกันเองในหมู่คนรู้จัก) ไปจนถึงหลักล้านบาท ส่วนความเคลื่อนไหวของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบก็เริ่มออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมากขึ้น มาตรการแบบวัวหายแล้วล้อมคอก เพราะขยับตัวออกเดินตามหลังมิจฉาชีพอยู่หลายก้าว เรียกได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางการเงินของภาครัฐที่ทำงานไม่ทันโจรเท่าไรนัก   อย่างไรก็ตาม มาตรการการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่งจะมีการออกมาตรการที่ชัดเจนเมื่อไม่นานที่ผ่านมาก็ค่อนข้างที่จะมีช่องโหว่อยู่พอสมควร อย่างเช่นมาตรการการให้ผู้ใช้บริการยืนยันตัวตนด้วย biometrics ในกรณีที่ลูกค้าทำธุรกรรมผ่าน mobile banking ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อย่างการโอนเงินมากกว่า 50,000 บาท หรือปรับเพิ่มวงเงินทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไป ตรงจุดนี้ สำหรับคนหาเช้ากินค่ำที่ตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพ จำนวนเงินที่ถูกโอนออกไปจากบัญชีอาจไม่มากถึง 50,000 บาท แต่มันก็เป็นเงินที่พวกเขาหามาอย่างยากลำบากและต้องเก็บไว้ใช้ดำรงชีพเหมือนกัน และมันอาจเป็นเงินสุทธิทั้งหมดที่พวกเขามีด้วย   นั่นหมายความว่าหากเหยื่อมีเงินในบัญชีไม่ถึง 50,000 บาท แล้วถูกมิจฉาชีพในกลโกงต่าง ๆ โอนเงินจำนวนนั้นออกไปทั้งหมด พวกเขาก็อาจจะไม่สามารถเข้าถึงมาตรการการยืนยันตัวตนก่อนที่เงินจะถูกโอนออกไป เพราะจำนวนเงินมันไม่ได้มากถึง 50,000 บาท ซึ่งเงินไม่ถึง 50,000 บาทที่โดนโกงไปนั้น มันก็ทำให้พวกเขาหมดตัวได้เช่นกัน…

เตือนภัยผู้ประกันตน ระวัง SMS ปลอม ห้ามกดลิงก์อัปเดตข้อมูลโดยเด็ดขาด

Loading

    นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส) กล่าวว่า แก็งมิจฉาชีพระบาดหนัก ส่งข้อความสั้น หรือ SMS อ้างว่าส่งมาจากสำนักงานประกันสังคม หลอกกดลิงก์เพื่ออัปเดตข้อมูลประกันสังคม พร้อมทั้งดาวน์โหลดแอปพลิเคชันสำนักงานประกันสังคม ซึ่งหากผู้ประกันตนกดลิงก์ดังกล่าวแล้ว เข้าไปกรอกข้อมูลส่วนตัว หรือทำการใด ๆ จะทำให้ต้องเสียเงิน หรือถูกนำข้อมูลไปใช้ก่อให้เกิดความเสียหายได้   ขอย้ำ ว่า “สำนักงานประกันสังคม ไม่มีนโยบายส่ง SMS แนบลิงก์ให้ผู้ประกันตนทุกกรณี โดยขอให้ผู้ประกันตนระมัดระวัง เมื่อได้รับ SMS ที่มีลิงก์ขอให้ตั้งสติ อย่าตกใจ หรือเชื่อในข้อความที่ได้รับ ห้ามกดลิงก์ที่ส่งมากับ SMS ทันที แต่ให้ตรวจสอบแหล่งที่มาของ SMS ก่อน สังเกตลิงก์ หรือ url ให้มั่นใจก่อนกด หรือโทรสอบถาม Call Center ของหน่วยงานหรือรีบติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมโดยตรง อย่าหลงกรอกข้อมูลส่วนตัว Username Password หรือ OTP ผ่านลิงก์ที่ได้รับเด็ดขาด เพราะมิจฉาชีพได้พัฒนากลอุบายต่าง ๆ…

ตำรวจเตือน กลโกงใหม่มิจฉาชีพ งานนี้ค่ายมือถือ ก็ช่วยอะไรไม่ได้

Loading

  สืบนครบาล IDMB เตือนประชาชน เผยกลโกงใหม่ ที่กำลังระบาดหนัก ปลอม SMS ไม่ผ่านเครือข่ายมือถือ มีเหยื่อโดนแล้วมากมาย   เพจเฟซบุ๊ก สืบนครบาล IDMB  ได้ออกมาโพสต์ข้อความ ระบุเตือนประชาชน เผยว่า กลโกงใหม่ ระบาดหนัก! ปลอม SMS ไม่ผ่านเครือข่ายมือถือ เหยื่อโดนแล้วกว่า 50 ราย หลายคนอาจจะได้รับข้อความแบบภาพข้างล่างนี้แล้ว และถึงกับงงว่าเกิดอะไรขึ้น? ทำไมข้อความของมิจฉาชีพ ถึงมาโผล่ใน SMS ที่ใช้ชื่อธนาคาร วันนี้แอดมินจะมาอธิบายง่ายๆให้ฟัง เพื่อจะได้ระวังตัวกัน  – ข้อความในภาพด้านบนเป็นข้อความ SMS จริง ส่งมาจากธนาคารจริงแท้และแน่นอน ส่วนข้อความในกรอบสีแดง เป็นข้อความ SMS ที่ส่งมาจากมิจฉาชีพ  – โดยมิจฉาชีพใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า False Base Station หรือ FBS ที่สามารถส่ง SMS ไปหาเหยื่อ โดยสามารถปลอมชื่อให้เหมือนกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ –…