สุดช้ำ! อ้างจนท.ประกัน หลอกกดลิงก์ ดูดเกลี้ยง 3 ล้าน อายัดบัญชีไม่ได้ แบงก์โยนกันไปมา

Loading

    ลุงวัย 60 ร้องตร.ไซเบอร์ ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นจนท.ประกันชีวิต หลอกกดลิงก์รับเงินปันผล ดูดเงิน     นายพูนศักดิ์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 เม.ย. มีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ บริษัทประกันชีวิต ให้กดลิงก์เพื่อรับเงินปันผล 2,000 บาท เมื่อกดลิงก์ ที่ถูกส่งในแอพพลิเคชัน ไลน์แล้วมือถือก็หน้าจอค้างและไม่สามารถใช้งานได้เลยประมาณ 1.30 ชั่วโมง ก่อนจะกลับมาใช้งานได้ตามปกติ     เมื่อโทรศัพท์กลับมาใช้งานได้ ตนจึงเข้าไปเช็กใน แอพพลิเคชั่น ธนาคารกรุงไทย และไทยพาณิชย์ ที่มีอยู่ในโทรศัพท์ของตน พบว่ายอดเงินในแอพพลิเคชั่นของแอพธนาคารทั้ง 2 แอพถูกโอนออกไปยังบัญชีอื่นทั้งหมด   จนยอดเงินในบัญชีติดลบ โดยที่ตนไม่ได้ทํานิติกรรมเองใน แอพพลิเคชั่นของธนาคารนั้นเลยและยังพบอีกว่า ใน Inbox SMS ของโทรศัพท์มือถือของตนมีข้อความ OTP หลายข้อความ จึงรีบไปที่ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อรีบดําเนินการแจ้งอายัดบัญชี และในเวลากลางคืนมีข้อความผิดปกติของ OTP ที่มา จาก SMS…

ตำรวจยุโรปเตือน! มิจฉาชีพอาจเริ่มใช้ AI หลอกเอาเงิน สมจริงยิ่งกว่าเดิม

Loading

  มิติใหม่ภัยโลกไซเบอร์ ตำรวจยุโรปเตือน มิจฉาชีพอาจเริ่มใช้ AI เขียนข้อความ หลอกเอาเงิน แบบสมจริงกว่าที่เป็นมาแล้ว   เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเคยมีประสบการณ์ได้รับข้อความหรือเมลจากมิจฉาชีพ เพียงแต่รอดจากการถูกหลอกมาได้ เพราะรู้ทันคนพวกนั้น จากลักษณะการใช้คำหรือความไม่สมเหตุสมผลของข้อความสักครั้งสองครั้ง   ดังนั้น นี่จึงอาจจะเป็นข่าวที่น่ากังวลพอสมควรเลย เพราะเมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจสากลยุโรป (Europol) ก็เพิ่งจะออกมาประกาศเตือนประชาชนเลยว่า มันกำลังมีความเป็นไปได้สูงเลยที่มิจฉาชีพจะเริ่มนำ AI อย่าง ChatGPT มาช่วยในการต้มตุ๋น     นั่นหมายความว่า อีกหน่อยเราอาจจะยิ่งตรวจจับข้อความหรืออีเมลหลอกลวงได้ยากขึ้น เนื่องจากไม่สามารถพึ่งพาการใช้คำผิด หรือข้อความที่ดูไม่เป็นธรรมชาติอีกต่อไป “ความสามารถในการร่างข้อความที่เหมือนจริงสูงของ ChatGPT ทำให้มันถือเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากที่จะนำไปใช้โดยมิจฉาชีพเลย” ChatGPT ระบุ   และแม้ว่าในปัจจุบันภาษาที่ AI เชี่ยวชาญมากพอที่จะเป็นปัญหาเช่นนี้ได้ จะยังมีแค่ภาษาอังกฤษ จนทำให้ประเทศที่เสี่ยงส่วนใหญ่จะอยู่แค่ในฝั่งตะวันตกอยู่ก็ตาม แต่หากดูจากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ AI หลายๆ ตัว มันก็ไม่แน่เหมือนกันว่าอีกไม่นานเราก็อาจจะได้เห็นข้อความหรืออีเมลต้มตุ๋นในภาษาอื่นๆ รวมถึงภาษาไทย ถูกเขียนขึ้นโดย AI ภาษาระดับสูงเลยก็เป็นได้     เรื่องของ…

เตือนภัย ปชช.อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพหลอกขายแผงโซลาร์เซลล์

Loading

  กรุงเทพฯ 25 เม.ย. – ตำรวจไซเบอร์เตือนภัยประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพหลอกขายแผงโซลาร์เซลล์ ฉวยโอกาสช่วงค่าไฟฟ้าแพง   พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวเตือนภัยประชาชน กรณีมิจฉาชีพเข้ามาแฝงตัวในสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อหลอกลวงขายแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ดังนี้   ได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) พบว่าเริ่มมีผู้เสียหายหลายรายทยอยแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ หลังจากถูกมิจฉาชีพหลอกลวงขายแผงโซลาร์เซลล์ หรืออุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ให้กับเหยื่อผู้ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายการอุปโภคและบริโภคจากการใช้ไฟฟ้าในรูปแบบของที่พักอาศัย โดยมิจฉาชีพฉวยโอกาสในช่วงโซลาร์เซลล์กำลังเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจในสถานการณ์ปัจจุบัน ใช้บัญชีเฟซบุ๊กปลอมแฝงตัวเข้ามาในกลุ่มต่าง ๆ ที่มีการซื้อขายโซลาร์เซลล์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โพสต์ประกาศขายสินค้าดังกล่าวในราคาถูกกว่าราคาท้องตลาด ใช้รูปภาพที่คัดลอกมาจากช่องทางที่มีการซื้อจริง โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณต่าง ๆ และมีการเร่งรัดให้รีบตัดสินใจว่าสินค้าใกล้จะหมด นอกจากนี้แล้วมิจฉาชีพยังใช้วิธีการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมาทั้งหมด เพื่อหลอกลวงขายสินค้าประเภทดังกล่าวอีกด้วย   ที่ผ่านมานับตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.65 – 16 เม.ย.66 พบว่าการหลอกลวงซื้อสินค้าหรือบริการ ยังคงมีประชาชนตกเป็นเหยื่อ โดยได้แจ้งความร้องทุกข์ผ่านระบบการรับแจ้งความออนไลน์สูงที่สุดเป็นลำดับที่ 1 จำนวนกว่า 85,395 เรื่อง หรือคิดเป็น 35.61% ของเรื่องที่มีการรับแจ้งความออนไลน์ทั้งหมด…

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย ระวังมิจฉาชีพรับสมัครผู้ทดสอบการนอนโรงแรม

Loading

    ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย ระวังมิจฉาชีพรับสมัครผู้ทดสอบการนอนโรงแรม อ้างแค่นอนหลับก็มีรายได้   โดย พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ฝากเตือนภัยมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนให้ทำภารกิจออนไลน์ หรือหลอกให้โอนเงินเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรม ดังนี้   ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย ระวังมิจฉาชีพรับสมัครผู้ทดสอบการนอนโรงแรม   ตำรวจได้รับรายงานว่าจากการตรวจสอบในระบบการรับแจ้งความออนไลน์ พบว่ามีผู้เสียหายหลายรายถูกมิจฉาชีพชักชวนหลอกลวงให้ทำงานหารายได้เสริม ผ่านการโฆษณาตามช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชักชวนรับสมัครผู้ทดสอบการนอนโรงแรม ผ่านการโฆษณาเป็นคลิปวิดีโอสั้นใน Facebook, TikTok, Instagram อ้างเป็นงานสบาย ได้ผลตอบแทนสูงกว่า 30,000 บาทต่อเดือน หรืออ้างว่าจะได้ค่าจ้างจากการนอนหลับจริงกว่า 2,000 บาทต่อคืน รวมถึงจะได้รับสวัสดิการ ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ฟรี     เมื่อผู้เสียหายสนใจมิจฉาชีพจะให้ทดสอบแสดงความเห็น หรือรีวิวโรงแรมต่างๆ ก่อนที่จะได้รับงานทดสอบการนอนที่โรงแรมจริง เพื่อประเมินว่าผู้เสียหายมีความสามารถเพียงพอหรือไม่ หากผู้เสียหายแสดงความเห็นเสร็จแล้วจะได้รับเงินจริง 50 บาทต่องาน จากนั้นจะให้เข้ากลุ่มในแอปพลิเคชัน Telegram แจ้งว่ามีงานภารกิจเสริมให้ทำ หลอกลวงให้ลงทุนเทรดหุ้น อ้างว่าจะได้รับกำไรมากกว่านี้ กระทั่งผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินไปร่วมลงทุน โดยในครั้งแรกที่ลงทุนด้วยจำนวนที่ไม่มากจะได้รับกำไรจากการลงทุนกลับคืนมาจริง จากนั้นมิจฉาชีพก็จะหลอกให้โอนเงินมาลงทุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย จนไม่สามารถถอนเงินออกมาได้อ้างเหตุผลต่างๆ…

รักษาความปลอดภัยอย่าวางใจ แฮ็กเกอร์ก็ชอบวันหยุด

Loading

  เมื่อถึงวันหยุดยาวต่อเนื่องหลายวัน มักเป็นช่วงเวลาที่สร้างรอยยิ้มให้กับคนทำงาน เพราะจะได้พักผ่อนและวางภาระหน้าที่จากการงานลง มีเวลาให้กับตัวเองและครอบครัวมากขึ้น หรือไปเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ   แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจาก “พวกเรา” ที่ตั้งตารอวันหยุดอยางมีความสุขกันแล้ว “มิจฉาชีพ” ก็ชอบวันหยุดเช่นกัน เห็นได้จากข่าวอยู่บ่อย ๆ ว่า ในช่วงวันหยุดยาวที่เราหลายคนพักผ่อน มิจฉาชีพจะออกทำงาน เช่น โจรกรรมทรัพย์สิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมีโครงการ “ฝากบ้านไว้กับตำรวจ” เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดเหตุ และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน   ในช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ก็เป็นเวลาทองของ “แฮ็กเกอร์” เช่นเดียวกัน จากข้อมูลของ Cybersecurity and Infrastructure Security Agency (CISA) และ Federal Bureau of Investigation (FBI) ระบุตรงกันว่า ในอดีตแฮ็กเกอร์มักจะโจมตีในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ คือ วันศุกร์และวันเสาร์ แต่ในปัจจุบันแฮกเกอร์จะเลือกโจมตีในช่วงวันหยุดยาวของเหยื่อในแต่ละประเทศ เช่น โจมตีเหยื่อในประเทศจีน ช่วงเทศกาลตรุษจีน โจมตีเหยื่อในประเทศญี่ปุ่น ช่วงเทศกาลโอบง เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบเช่นกัน…

เบอร์มือถือไทยรั่ว 13 ล้านเบอร์! คนไทยโดนมิจฉาชีพโทรเข้าสูงขึ้น ระวังอย่าคลิกลิงก์บน SMS

Loading

    เบอร์มือถือไทยรั่ว 13 ล้านเบอร์ คนไทยโดนมิจฉาชีพโทรเข้าสูงขึ้น โดย Whoscall ผู้นำด้านแอปบล็อกเบอร์โทรที่ไม่รู้จัก และป้องกันสแปม สำหรับสมาร์ทโฟน ชี้ถึงปัญหาที่เพิ่มขึ้นของการหลอกลวงทางโทรศัพท์และข้อความ SMS จากรายงานประจำปีพบว่า มีการหลอกลวงทั้งจากสายโทรเข้าและข้อความ SMS รวม 405.4 ล้านครั้ง คนไทยยังต้องรับสายจากมิจฉาชีพเพิ่มขึ้น 165% หรือ 17 ล้านครั้งในปี 2565 และพบการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทยกว่า 45% หรือ 13.5 ล้านเบอร์ และพบ SMS 7 ใน 10 ครั้งที่คนไทยได้รับเป็นข้อความสแปมและข้อความหลอกลวง หรือคิดเป็น 73% ของข้อความที่ได้รับทั้งหมด   รวมภัย SMS Spam หลอกลวงคนไทยเพิ่มขึ้น   มิจฉาชีพนิยมส่งข้อความหลอกลวงเนื่องจากสามารถเข้าถึงเหยื่อจำนวนมากด้วยต้นทุนต่ำ ข้อความ SMS โดยหลอกให้เหยื่อกดลิงก์ฟิชชิงเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว เพิ่มบัญชีไลน์เพื่อหลอกให้ส่งข้อมูลหรือโอนเงินให้     กลอุบายที่พบบ่อยได้แก่ การเสนอเงินกู้โดยมักอ้างรัฐบาลหรือธนาคาร และการให้สิทธิ์เข้าตรงเว็บพนันออนไลน์…