เตือนภัย ‘ออนไลน์’ ทริกโจรไซเบอร์ดูดเงิน

Loading

    ปัจจุบัน ‘ภัยออนไลน์’ ยังเป็นเรื่องอันตรายที่อยู่ใกล้ประชาชนมากที่สุด เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิต กลับกันเทคโนโลยีก็นำมาสู่ภัยร้าย หากมีคนกลุ่มที่ไม่ประสงค์ดี หรือเรียกว่า ‘มิจฉาชีพ’ นำมาใช้เป็นเครื่องมือแสวงหากำไรในทางมิชอบ   ซึ่งความเสียหายขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว สะท้อนจากประชาชนแจ้งเรื่องร้องเรียนผ่านออนไลน์ www.ThaiPoliceOnline.com ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม-31 ธันวาคม 2565 มีคดีความออนไลน์กว่า 181,466 เรื่อง เฉลี่ย 800 คดีต่อวัน รวมมูลค่าความเสียหาย 27,305 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะเปอร์เซ็นต์สำเร็จยังสูง   เรื่องนี้ ‘กิตติ โฆษะวิสุทธิ์’ ผู้จัดการบริหารความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและความปลอดภัยไซเบอร์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร หรือทีบี-เซิร์ต เปิดเผยว่า จากแนวโน้มภัยไซเบอร์ที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีรูปแบบหลากหลายเพื่อล่อลวงเอาข้อมูลสำคัญจากผู้ใช้บริการโมบายแบงกิ้งและอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง หวังโจรกรรมเงินจนนำมาสู่ความเสียหายทางทรัพย์สิน   สำหรับรูปแบบการล่อลวงเอาข้อมูลที่พบมากขึ้นในระยะหลัง คือ การหลอกให้ผู้ใช้งานติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์ (Malware) ลงในโทรศัพท์มือถือ เพื่อเข้าไปแฝงตัวอยู่ในแอปพลิเคชัน มีบริการที่เรียกว่า Accessibility…

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยอย่าหลงกลมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่

Loading

  โฆษก บช.สอท. เตือนภัยอย่าหลงกลมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ประชาชน หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ ดูดเงินออกจากบัญชีได้อย่างง่ายดาย   วันนี้ (4 ก.พ.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ประชาชน หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ ดังนี้   ที่ผ่านมา บช.สอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการประชาสัมพันธ์ ออกมาแจ้งเตือนประชาชนอยู่บ่อยครั้ง กรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่งข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ไปยังประชาชน หลอกลวงให้เพิ่มเพื่อนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ แล้วส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของกรมสรรพากรปลอม ซึ่งแฝงมากับมัลแวร์ (Malware) หรือโปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ เช่น ทำให้โทรศัพท์ของเหยื่อทำงานผิดปกติ ขโมยหรือทำลายข้อมูล หรือเปิดช่องทางให้มิจฉาชีพเข้ามาควบคุมโทรศัพท์ของเหยื่อได้ รวมไปถึงหลอกลวงให้กรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ตั้งรหัส PIN จำนวน 6 หลัก โดยประชาชนส่วนใหญ่มักจะใช้ชุดเลขรหัสเดียวกันกับรหัสแอปพลิเคชันของธนาคาร ทำให้มิจฉาชีพนำรหัสดังกล่าวไปใช้โอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อได้อย่างง่ายดาย   ทั้งนี้มิจฉาชีพมักจะอ้างว่าเพื่อเป็นการตรวจสอบรายได้ของท่าน หรือเป็นการแจ้งเตือนให้ชำระภาษี หรือให้ทำการยกเลิกเสียภาษีจากโครงการของรัฐบาล หรืออ้างว่าเป็นการขอใช้โครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ หรืออ้างว่าสามารถช่วยเหลือไม่ให้เสียภาษีย้อนหลังได้…

ตร.ไซเบอร์ เตือนภัย ขรก.เกษียณ ยื่นรับบำเหน็จระวัง เว็บไซต์-แอปฯ ปลอม

Loading

    ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยข้าราชการเกษียณยื่นรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเอง ระวังเว็บไซต์และแอปพลิเคชันปลอม ที่ทำให้หลงเชื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคล จนตกเป็นเหยื่อ จึงแนะวิธีหลีกเลี่ยง 9 ข้อ   เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 1 ก.พ. พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอเตือนภัยข้าราชการเกษียณยื่นรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเองให้ถูกช่องทาง ระมัดระวังเว็บไชต์ปลอม แอปพลิเคชันปลอมของมิจฉาชีพที่สร้างขึ้นมาเพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลทางการเงิน ในกรณีที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้อำนวยความสะดวกให้กับข้าราชการ และลูกจ้างประจำที่พ้นราชการ เนื่องจากเกษียณอายุในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 โดยสามารถยื่นคำขอรับบำเหน็จบำนาญล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์ก่อนวันครบเกษียณอายุได้ 8 เดือน เริ่มตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป โดยสามารถยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด   โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Pension’ Electronic Filing) หรือ ระบบ e-Filing ผ่านเว็บไชต์กรมบัญชีกลาง www.ced.go.th หรือผ่านแอปพลิเคชัน…

บล็อก SMS หลอกลวง แบนคอลเซ็นเตอร์ อีกบทบาทภารกิจร่วมสำนักงาน กสทช.

Loading

  SMS หลอกให้กู้เงิน หลอกให้โอนเงินในบัญชี หลอกว่าได้รับรางวัลและกรอกข้อมูลส่วนบุคคล หรือแม้แต่ปัญหาจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่มีการโทรมาหลอกลวงว่าเป็นหน่วยงานรัฐ เช่น ตำรวจ ศาล และข่มขู่ว่ากระทำความผิด หลอกให้ลงทุนหรือโอนเงิน หรือปลอมเป็นหน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทส่งของ เพื่อหลอกว่ามีพัสดุมาส่งต้องชำระเงิน หลอกว่าเป็นธนาคาร เพื่อหลอกว่ามียอดค้างชำระบัตรเครดิตต้องโอนมาชำระด่วน   นี่คือส่วนหนึ่งของมิจฉาชีพที่อาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสะดวกสบายในการสื่อสารหรือเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน นอกจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ปราบปรามจับกุมอย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ที่ดำเนินการด้านกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมของผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ให้บริการก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน     คุณจิตสถา ศรีประเสริฐสุข ผู้ช่วยเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ปัญหาเรื่อง SMS หลอกลวง หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นรูปแบบปัญหาที่หลายหน่วยงานจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภายใต้บทบาทและกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน ไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะแก้ไขปัญหาได้เองเพียงลำพัง ซึ่งบทบาทหลักของสำนักงาน กสทช. คือการสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และผู้ให้บริการ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของมิจฉาชีพเพื่อการจับกุม การปิดกั้นการใช้บริการโทรคมนาคมของมิจฉาชีพ เช่น…

เช็กที่นี่ “เอกสาร-อีเมลปลอม” มิจฉาชีพแอบอ้างปปง. เจอแบบนี้? อย่าเชื่อ

Loading

    สำนักงาน ปปง. แจ้งเตือนประชาชน ระวังมิจฉาชีพสร้างเอกสารและอีเมลปลอม แอบอ้างชื่อสำนักงาน ปปง. หากมีข้อสงสัย ติดต่อสายด่วน 1710     สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับแจ้งจากประชาชนเพื่อขอให้ตรวจสอบ กรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงาน ปปง. ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email : อีเมล) ส่งหนังสือแจ้งผู้เสียหายเรื่องการรับรองแหล่งที่มาของทรัพย์สินเพื่อรับเงินจากการเคลมประกัน ซึ่งในอีเมลดังกล่าว มีข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหาย เช่น ชื่อ – นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, เลขบัญชีธนาคาร, ยอดเงินที่ได้รับการเคลมประกัน เป็นต้น และแจ้งให้ผู้เสียหายต้องดำเนินการเสียภาษีอากรด้วยตนเองภายใน 7 วัน ซึ่งมิจฉาชีพได้จัดทำเอกสารปลอม เช่น หนังสือรับรอง แบบรายงานการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน เอกสารการโอนเงิน เป็นต้น และ สร้างอีเมลปลอมโดยใช้ชื่ออีเมล saraban@amlo.go.th เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงิน     สำนักงาน ปปง. ขอแจ้งว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทำของมิจฉาชีพที่แอบอ้างว่าเป็นหน่วยงานราชการ โดยสร้างอีเมลปลอมเพื่อใช้ในการส่งเอกสารปลอมหลอกลวงผู้เสียหายให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ…

“เอไอเอส”เตือนลูกค้าระวังมิจฉาชีพ แอบอ้างใช้ชื่อ “Serenade” หลอกให้กดลิงก์ลวงข้อมูล

Loading

    “เอไอเอส” ยืนยัน Serenade ไม่มีนโยบายส่ง SMS ให้ลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินเด็ดขาด เตรียมดำเนินคดีขั้นสูงสุด หลังจากประสานกับดีแทค ในฐานะต้นทาง   นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ เอไอเอส เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีลูกค้าแจ้งกรณีที่ได้รับ SMS หลอกลวงในลักษณะของการให้ทำธุรกรรมทางการเงิน จากมิจฉาชีพที่ส่ง (Sender) ในชื่อ Serenade โดยมีลิงก์เว็บไซต์ปลอมแนบท้าย เพื่อให้ลูกค้าหลงเชื่อและกดเข้าไป อันอาจนำไปสู่ความเสียหายจากการสูญเสียทรัพย์สิน หรือ ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ทาง เอไอเอส ขอเรียนยืนยันว่า กรณีนี้ไม่ได้เป็นการส่งจาก เอไอเอส และบริษัทไม่มีนโยบายในการส่ง เอสเอ็มเอส ให้ลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงิน หรือกรอกข้อมูลส่วนตัวอย่างเด็ดขาด   “เมื่อลูกค้าร้องเรียนเรื่องการได้รับ SMS ที่ส่งในชื่อ Serenade โดยมีข้อความหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางการเงินนั้น ทางเอไอเอสได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียด และพบว่า การส่ง SMS ดังกล่าว มาจากผู้ที่ซื้อบริการส่ง SMS ของ DTAC โดยแอบอ้างใช้ชื่อ Serenade เป็นชื่อผู้ส่ง…