เงินหาย ไม่ใช่เพราะ ‘สายชาร์จดูดเงิน’ ที่แท้ไปโหลดแอปพลิเคชันหาคู่เถื่อน

Loading

    เงินหาย ที่แท้ไม่ใช่เพราะ ‘สายชาร์จดูดเงิน’ แต่ไปโหลดแอปพลิเคชันหาคู่เถื่อน ยืนยันว่าสายชาร์จดูดข้อมูลมีจริง แต่ไม่สามารถดูดเงินในบัญชีได้   18 ม.ค. 2566 – จากกรณี นายเอกภพ เหลืองประเสริฐ ผู้ก่อตั้งเพจสายไหมต้องรอด นำผู้เสียหายร้องเรียนต่อสื่อมวลชน หลังถูกกลุ่มมิจฉาชีพแฮ็กข้อมูลโทรศัพท์มือถือ โอนเงินออกไปจากบัญชี ผู้เสียหายรายหนึ่ง เล่าว่า ได้ชาร์จมือถือทิ้งไว้ จู่ ๆ มีข้อความจากธนาคารแจ้งมาว่า มีการโอนเงินจากแอปพลิเคชันธนาคารตนเอง ออกไป 100,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำธุรกรรมอะไรเลย โดยโทรศัพท์ทั้งหมดที่ถูกแฮ็กนั้น เป็นโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีผู้เสียหายมากกว่า 10 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งมีหลายฝ่ายคาดว่าอาจถูกสายชาร์จมือถือ ดูดเงินออกจากแอปพลิเคชันบัญชีนั้น   ความคืบหน้าล่าสุด พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร. กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีดังกล่าวว่า ได้รับรายงานจาก พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ว่า จากการตรวจสอบเครื่องโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย…

เช็ค 8 จุด “ชาร์จมือถือ” เสี่ยง โดนแฮ็ก ดูดเงินในบัญชี พร้อมวิธีแก้

Loading

    เช็ค 8 จุด “ชาร์จมือถือ” เสี่ยง โดนแฮก ข้อมูล – ดูดเงินในบัญชี หลังเหยื่อ เงินหาย แค่ชาร์จ โทรศัพท์มือถือ วางไว้เฉย ๆ   กลโกงของมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ต่างปรับรูปแบบใหม่ในการเข้าถึงข้อมูลของเหยื่อ โดยล่าสุด มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือรายหนึ่ง ตกเป็นเหยื่อ เพราะเพียงแค่ชาร์จมือถือวางทิ้งไว้ แต่จู่ ๆ เครื่องดับ เมื่อเปิดโทรศัพท์ขึ้นมาอีกครั้ง กลับมีข้อความจากแอปธนาคารแจ้งว่า มีเงินออกไปจำนวนกว่า 1 แสนบาท ทั้งที่ไม่มีการโทรเข้า-โทรออก และ ไม่มีใครส่งลิงก์ให้ยืนยันข้อมูล   ผู้เสียหาย เล่าว่า ปกติเค้ามีโทรศัพท์ 2 เครื่อง คือ เครื่องแอนดรอยด์ ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้เล่นเกมอย่างเดียว ส่วนเครื่องหลัก คือ ไอโฟน ซึ่งเป็นเครื่องที่ชาร์จโทรศัพท์ทิ้งไว้ แล้วโดนแฮก จนดูดเงินหาย   ณัฐ พยงค์ศรี นักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ชำนาญการ…

“อั่งเปาฟรี” ไม่มีจริง! มุกใหม่มิจฉาชีพส่ง SMS หลอกคลิกลิงก์ดูดเกลี้ยงบัญชี

Loading

    เตือนภัยกลโกงใหม่มิจฉาชีพ หลอกส่งลิงก์ผ่าน SMS อ้างแจก “อั่งเปาฟรี” ช่วงเทศกาลตรุษจีน เผลอคลิกดูดเงินเกลี้ยงบัญชี   วันนี้ ( 17 ม.ค. 66 ) กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บช.สอท. แจ้งเตือนประชาชนให้ระวังมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสใช้เทศกาลต่างๆ ก่อเหตุหลอกลวงประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และล่าสุดในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่จะถึงนี้ มิจฉาชีพฉวยโอกาสส่งลิงก์ที่แนบมากับข้อความสั้น หรือ SMS อ้างว่าท่านได้รับอั่งเปาฟรี ได้รับสิทธิพิเศษ หรือได้รับเงินรางวัลต่างๆ   SMS อั่งเปาฟรี จะหลอกให้คลิกเข้าไปในเว็บไซต์ปลอม ให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลทางการเงิน เช่น ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเดบิต หรือเครดิต รหัสหลังบัตร 3 หลัก รหัส OTP เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลไปเข้าถึงบัญชีสื่อสังคมออนไลน์แล้วไปหลอกยืมเงินผู้อื่น ใช้บัตรเดบิตหรือเครดิตรูดชำระค่าสินค้า หรือถูกโอนเงินจากบัญชีธนาคาร หรือนำไปแอบอ้างทำเรื่องที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นขอเตือนว่าอย่ากดลิงก์เข้าไปเด็ดขาด…

รู้ทัน Scammer นักต้มตุ๋น ใช้กลโกงเก่า Pig Butchering แต่ได้ผล

Loading

  ปัจจุบันมีวิธีการมากมายที่นักต้มตุ๋นหรือ Scammer จะหลอกลวงจากเรา ใครเผลอหน่อย เงินอาจหมดบัญชีโดยไม่รู้ตัว   โดยทั่วไปแล้ว เป้าหมายหลักของ Scammer มีเพียงอย่างเดียวคือเงินหรืออะไรที่เกี่ยวข้องกับเงิน พวกเขาจะทำให้ทุกอย่างเพื่อหลอกเอาเงินคุณ และวันนี้ ก็มีอีกหนึ่งวิธี ที่ได้รับความนิมมากและได้ผลเสมอนั่นคือ การเชือดหมู หรือ Pig Butchering Scam   การหลอกลวงนี้เริ่มครั้งแรกในจีน รู้จักกันในวลีชื่อ shāzhūpán (ชาจูปัน) เป็นการลวงให้เหยื่อเชื่อมั่นแล้วร่วมลงทุน ที่เราเห็นชัดกันจริง ๆ จะเป็นเรื่องของ Crytocerrency เมื่อได้จำนวนเงินที่เพียงพอ Scammer จะปิดบัญชีตัวเองแล้วหายไปตัวอย่างไร้ร่องรอย   Scammer จะเริ่มติดต่อไปยังเหยื่อด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น การส่งข้อความทางโทรศัพท์ สุ่มโทรหา แล้วแกล้งบอกว่า ตัวเองเป็นคนรู้จักหรือเป็นเพื่อนในสมัยเด็ก หากปลายสายยอมคุยด้วย พวกเขาจะเริ่มสร้างสัมพันธ์ต่อและเริ่มชวนคุยเกี่ยวกับการลงทุนและพูดวิธีที่พวกเขาสามารถทำเงินได้อย่างมากจากการลงทุนในอะไรก็ตามที่พวกเขาแต่งเรื่องขึ้น   หลังจากนั้น Scammer จะชวนให้โหลดแอปหรือหลอกให้เหยื่อเข้าในเว็บที่เป็นอันตราย ซึ่งในนั้นจะมีข้อมูลน่าเชื่อถือหรือมีภาพความสำเร็จของคนอื่น ๆ พร้อมทั้ง อาจมีข้อมูลที่ลิงค์ไปยังสถาบันการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะทำให้เหยื่อเห็นข้อมูลตลาดตามเวลาจริง และทำให้เหยื่อเชื่อในศักยภาพของการลงทุน ว่าสิ่งนี้มันน่าลงทุนมาก…

ตำรวจเตือนพ่อแม่ยุคใหม่ “Sharenting” โพสต์ข้อมูลส่วนตัวลูก เสี่ยงตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์

Loading

  MGROnline – ตำรวจไซเบอร์ ฝากเตือนภัยพฤติกรรม “Sharenting” ของผู้ปกครองโพสต์ข้อมูลส่วนตัวบุตรหลานในความปกครองเสี่ยงเปิดโอกาสผู้ไม่หวังดี   วันนี้ (7 ม.ค.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยพฤติกรรม Sharenting พ่อแม่โพสต์ข้อมูลส่วนตัวเด็กเสี่ยงเปิดโอกาสผู้ไม่หวังดี ดังนี้   Sharenting เกิดจากการผสมคำว่า share + parenting ใช้เรียกพฤติกรรมของพ่อแม่ที่แชร์ภาพ วิดีโอ รวมถึงข้อมูลส่วนตัวของลูกมากเกินไป   จริงอยู่ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองไม่ได้มีเจตนาร้าย ส่วนใหญ่เป็นการโพสต์รูปลูกด้วยความรักใคร่ เอ็นดู และอยากจะส่งต่อความน่ารักนี้ให้คนอื่นได้เห็น แต่ในอีกด้านหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตัวบุตรหลานในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน   เปิดโอกาสให้มิจฉาชีพ หรือผู้ไม่หวังดีเข้าถึงตัวบุตรหลานได้ง่าย จากกิจกรรมที่ผู้ปกครองโพสต์ไว้ในสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น การขโมยตัวตน (Identity Theft) สวมรอยเหยื่อนำข้อมูลส่วนตัวไปกระทำผิดกฎหมาย หรือนำภาพเด็กไปสร้างเรื่องราวขอรับเงินบริจาคต่าง ๆ ปัญหาเรื่องล่วงละเมิดทางเพศเด็ก การนำภาพเด็กไปขายในเว็บมืด (Dark web) หรือนำไปเพื่อใช้ตอบสนองทางเพศของกลุ่มคนที่มีอาการใคร่เด็ก (Pedophile)…

ข่าวปลอม! กรมการจัดหางาน รับสมัครงานผ่านเพจ GRS Global Services

Loading

  ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ตรวจสอบกรณีที่มีการระบุว่า กรมการจัดหางานสนับสนุนคนว่างงานให้มีงานทำ รับสมัครงานผ่านเพจ GRS Global Services เป็นข้อมูลเท็จ   เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2566 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย Anti-Fake News Center Thailand ระบุว่า ตามที่มีข้อมูลปรากฏเกี่ยวกับประเด็นเรื่องกรมการจัดหางานสนับสนุนคนว่างงานให้มีงานทำ รับสมัครงานผ่านเพจ GRS Global Services ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ   จากกรณีที่มีผู้โพสต์ข้อมูลโดยระบุว่า กรมการจัดหางานสนับสนุนคนว่างงานให้มีงานทำ รับสมัครงานผ่านเพจ GRS Global Services ทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าภาพและข้อความที่มีการเผยแพร่ทางเพจ Facebook ดังกล่าว เป็นการใช้ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงแรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อความดังกล่าวไม่ได้มาจากส่วนราชการของกระทรวงแรงงาน หากพบเห็นข้อความดังกล่าวโปรดอย่าหลงเชื่อ เพราะมิจฉาชีพอาจมีการขอข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้ในทางมิชอบ   ทั้งนี้ สามารถติดตามข่าวสารของกรมการจัดหางานได้ที่เว็บไซต์กรมการจัด doe.go.th และผู้ที่ต้องการมีงานทำ สามารถใช้บริการผ่านเว็บไชต์ ไทยมีงานทำ.doe.go.th หรือทาง…