บล็อก SMS หลอกลวง แบนคอลเซ็นเตอร์ อีกบทบาทภารกิจร่วมสำนักงาน กสทช.

Loading

  SMS หลอกให้กู้เงิน หลอกให้โอนเงินในบัญชี หลอกว่าได้รับรางวัลและกรอกข้อมูลส่วนบุคคล หรือแม้แต่ปัญหาจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่มีการโทรมาหลอกลวงว่าเป็นหน่วยงานรัฐ เช่น ตำรวจ ศาล และข่มขู่ว่ากระทำความผิด หลอกให้ลงทุนหรือโอนเงิน หรือปลอมเป็นหน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทส่งของ เพื่อหลอกว่ามีพัสดุมาส่งต้องชำระเงิน หลอกว่าเป็นธนาคาร เพื่อหลอกว่ามียอดค้างชำระบัตรเครดิตต้องโอนมาชำระด่วน   นี่คือส่วนหนึ่งของมิจฉาชีพที่อาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสะดวกสบายในการสื่อสารหรือเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน นอกจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ปราบปรามจับกุมอย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ที่ดำเนินการด้านกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมของผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ให้บริการก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน     คุณจิตสถา ศรีประเสริฐสุข ผู้ช่วยเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ปัญหาเรื่อง SMS หลอกลวง หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นรูปแบบปัญหาที่หลายหน่วยงานจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภายใต้บทบาทและกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน ไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะแก้ไขปัญหาได้เองเพียงลำพัง ซึ่งบทบาทหลักของสำนักงาน กสทช. คือการสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และผู้ให้บริการ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของมิจฉาชีพเพื่อการจับกุม การปิดกั้นการใช้บริการโทรคมนาคมของมิจฉาชีพ เช่น…

เช็กที่นี่ “เอกสาร-อีเมลปลอม” มิจฉาชีพแอบอ้างปปง. เจอแบบนี้? อย่าเชื่อ

Loading

    สำนักงาน ปปง. แจ้งเตือนประชาชน ระวังมิจฉาชีพสร้างเอกสารและอีเมลปลอม แอบอ้างชื่อสำนักงาน ปปง. หากมีข้อสงสัย ติดต่อสายด่วน 1710     สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับแจ้งจากประชาชนเพื่อขอให้ตรวจสอบ กรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงาน ปปง. ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email : อีเมล) ส่งหนังสือแจ้งผู้เสียหายเรื่องการรับรองแหล่งที่มาของทรัพย์สินเพื่อรับเงินจากการเคลมประกัน ซึ่งในอีเมลดังกล่าว มีข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหาย เช่น ชื่อ – นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, เลขบัญชีธนาคาร, ยอดเงินที่ได้รับการเคลมประกัน เป็นต้น และแจ้งให้ผู้เสียหายต้องดำเนินการเสียภาษีอากรด้วยตนเองภายใน 7 วัน ซึ่งมิจฉาชีพได้จัดทำเอกสารปลอม เช่น หนังสือรับรอง แบบรายงานการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน เอกสารการโอนเงิน เป็นต้น และ สร้างอีเมลปลอมโดยใช้ชื่ออีเมล saraban@amlo.go.th เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงิน     สำนักงาน ปปง. ขอแจ้งว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทำของมิจฉาชีพที่แอบอ้างว่าเป็นหน่วยงานราชการ โดยสร้างอีเมลปลอมเพื่อใช้ในการส่งเอกสารปลอมหลอกลวงผู้เสียหายให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ…

“เอไอเอส”เตือนลูกค้าระวังมิจฉาชีพ แอบอ้างใช้ชื่อ “Serenade” หลอกให้กดลิงก์ลวงข้อมูล

Loading

    “เอไอเอส” ยืนยัน Serenade ไม่มีนโยบายส่ง SMS ให้ลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินเด็ดขาด เตรียมดำเนินคดีขั้นสูงสุด หลังจากประสานกับดีแทค ในฐานะต้นทาง   นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ เอไอเอส เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีลูกค้าแจ้งกรณีที่ได้รับ SMS หลอกลวงในลักษณะของการให้ทำธุรกรรมทางการเงิน จากมิจฉาชีพที่ส่ง (Sender) ในชื่อ Serenade โดยมีลิงก์เว็บไซต์ปลอมแนบท้าย เพื่อให้ลูกค้าหลงเชื่อและกดเข้าไป อันอาจนำไปสู่ความเสียหายจากการสูญเสียทรัพย์สิน หรือ ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ทาง เอไอเอส ขอเรียนยืนยันว่า กรณีนี้ไม่ได้เป็นการส่งจาก เอไอเอส และบริษัทไม่มีนโยบายในการส่ง เอสเอ็มเอส ให้ลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงิน หรือกรอกข้อมูลส่วนตัวอย่างเด็ดขาด   “เมื่อลูกค้าร้องเรียนเรื่องการได้รับ SMS ที่ส่งในชื่อ Serenade โดยมีข้อความหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางการเงินนั้น ทางเอไอเอสได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียด และพบว่า การส่ง SMS ดังกล่าว มาจากผู้ที่ซื้อบริการส่ง SMS ของ DTAC โดยแอบอ้างใช้ชื่อ Serenade เป็นชื่อผู้ส่ง…

เงินหาย ไม่ใช่เพราะ ‘สายชาร์จดูดเงิน’ ที่แท้ไปโหลดแอปพลิเคชันหาคู่เถื่อน

Loading

    เงินหาย ที่แท้ไม่ใช่เพราะ ‘สายชาร์จดูดเงิน’ แต่ไปโหลดแอปพลิเคชันหาคู่เถื่อน ยืนยันว่าสายชาร์จดูดข้อมูลมีจริง แต่ไม่สามารถดูดเงินในบัญชีได้   18 ม.ค. 2566 – จากกรณี นายเอกภพ เหลืองประเสริฐ ผู้ก่อตั้งเพจสายไหมต้องรอด นำผู้เสียหายร้องเรียนต่อสื่อมวลชน หลังถูกกลุ่มมิจฉาชีพแฮ็กข้อมูลโทรศัพท์มือถือ โอนเงินออกไปจากบัญชี ผู้เสียหายรายหนึ่ง เล่าว่า ได้ชาร์จมือถือทิ้งไว้ จู่ ๆ มีข้อความจากธนาคารแจ้งมาว่า มีการโอนเงินจากแอปพลิเคชันธนาคารตนเอง ออกไป 100,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำธุรกรรมอะไรเลย โดยโทรศัพท์ทั้งหมดที่ถูกแฮ็กนั้น เป็นโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีผู้เสียหายมากกว่า 10 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งมีหลายฝ่ายคาดว่าอาจถูกสายชาร์จมือถือ ดูดเงินออกจากแอปพลิเคชันบัญชีนั้น   ความคืบหน้าล่าสุด พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร. กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีดังกล่าวว่า ได้รับรายงานจาก พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ว่า จากการตรวจสอบเครื่องโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย…

เช็ค 8 จุด “ชาร์จมือถือ” เสี่ยง โดนแฮ็ก ดูดเงินในบัญชี พร้อมวิธีแก้

Loading

    เช็ค 8 จุด “ชาร์จมือถือ” เสี่ยง โดนแฮก ข้อมูล – ดูดเงินในบัญชี หลังเหยื่อ เงินหาย แค่ชาร์จ โทรศัพท์มือถือ วางไว้เฉย ๆ   กลโกงของมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ต่างปรับรูปแบบใหม่ในการเข้าถึงข้อมูลของเหยื่อ โดยล่าสุด มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือรายหนึ่ง ตกเป็นเหยื่อ เพราะเพียงแค่ชาร์จมือถือวางทิ้งไว้ แต่จู่ ๆ เครื่องดับ เมื่อเปิดโทรศัพท์ขึ้นมาอีกครั้ง กลับมีข้อความจากแอปธนาคารแจ้งว่า มีเงินออกไปจำนวนกว่า 1 แสนบาท ทั้งที่ไม่มีการโทรเข้า-โทรออก และ ไม่มีใครส่งลิงก์ให้ยืนยันข้อมูล   ผู้เสียหาย เล่าว่า ปกติเค้ามีโทรศัพท์ 2 เครื่อง คือ เครื่องแอนดรอยด์ ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้เล่นเกมอย่างเดียว ส่วนเครื่องหลัก คือ ไอโฟน ซึ่งเป็นเครื่องที่ชาร์จโทรศัพท์ทิ้งไว้ แล้วโดนแฮก จนดูดเงินหาย   ณัฐ พยงค์ศรี นักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ชำนาญการ…

“อั่งเปาฟรี” ไม่มีจริง! มุกใหม่มิจฉาชีพส่ง SMS หลอกคลิกลิงก์ดูดเกลี้ยงบัญชี

Loading

    เตือนภัยกลโกงใหม่มิจฉาชีพ หลอกส่งลิงก์ผ่าน SMS อ้างแจก “อั่งเปาฟรี” ช่วงเทศกาลตรุษจีน เผลอคลิกดูดเงินเกลี้ยงบัญชี   วันนี้ ( 17 ม.ค. 66 ) กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บช.สอท. แจ้งเตือนประชาชนให้ระวังมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสใช้เทศกาลต่างๆ ก่อเหตุหลอกลวงประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และล่าสุดในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่จะถึงนี้ มิจฉาชีพฉวยโอกาสส่งลิงก์ที่แนบมากับข้อความสั้น หรือ SMS อ้างว่าท่านได้รับอั่งเปาฟรี ได้รับสิทธิพิเศษ หรือได้รับเงินรางวัลต่างๆ   SMS อั่งเปาฟรี จะหลอกให้คลิกเข้าไปในเว็บไซต์ปลอม ให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลทางการเงิน เช่น ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเดบิต หรือเครดิต รหัสหลังบัตร 3 หลัก รหัส OTP เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลไปเข้าถึงบัญชีสื่อสังคมออนไลน์แล้วไปหลอกยืมเงินผู้อื่น ใช้บัตรเดบิตหรือเครดิตรูดชำระค่าสินค้า หรือถูกโอนเงินจากบัญชีธนาคาร หรือนำไปแอบอ้างทำเรื่องที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นขอเตือนว่าอย่ากดลิงก์เข้าไปเด็ดขาด…