รองเลขาฯ ปปง.ให้คำแนะนำ แนวทางแก้ปัญหาซิมการ์ดไม่ตรงโมบายแบงก์กิ้ง หากมี SMS แจ้งเตือนอย่ากดดู มิจฉาชีพแน่นอน

Loading

การตรวจสอบคัดกรองเบอร์โมบายแบงก์กิ้ง(ซิมการ์ด) ที่ผูกกับบัญชีธนาคารต้องตรงกัน พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) เปิดเผยกับสถานีวิทยุจส.100 ว่าในช่วงนี้ธนาคารพาณิชย์อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาซิมผีบัญชีม้า ขอประชาชนอย่าตกใจ พร้อมแนะนำว่า หากประชาชนผู้ใช้บริการชื่อไม่ตรงกับโมบายแบงก์กิ้ง ขอให้ไปเปลี่ยนให้ตรงที่เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ หรือหากยืนยันมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เบอร์ดังกล่าว ขอให้ยืนยันกับธนาคารพาณิชย์ เช่น การเปิดโมบายแบงก์กิ้งให้กับบุตรหลานที่เป็นเด็กหรือเยาวชน หรือบิดามารดาผู้สูงวัย เบอร์องค์กรที่แสดงตัวตนได้ชัดเจน เป็นต้น ในช่วงนี้ขอแจ้งเตือนประชาชน ธนาคารอยู่ระหว่างการทำงาน พร้อมประสาน ปปง.และจะมีการแจ้งให้ประชาชนทราบผ่านทางกล่องข้อความทางโมบายแบงก์กิ้งประมาณเดือนต.ค.-พ.ย.67 หากในช่วงนี้ มีการส่งข้อความผ่านทาง SMS ขออย่ากดดู เนื่องจาก เป็นมิจฉาชีพแน่นอน

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพหลอกจิ้มลิงก์ปลอมเพจดังจำหน่ายสินค้าลดราคา

Loading

สืบเนื่องจากช่วงนี้พบมิจฉาชีพสร้างเฟซบุ๊กแฟนเพจปลอมขึ้นมาเลียนแบบเพจดังต่าง ๆ แล้วบูสต์โพสต์ด้วยการยิงโฆษณาพร้อมลงข้อความขายสินค้าแบรนด์ดังต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ของสะสมประเภท ARTTOY รวมทั้งโรงแรมที่พัก หรือ สินค้าและบริการประเภทอื่น ๆ ที่ประชาชนให้ความสนใจ พร้อมแนบลิงก์ปลอมให้กด

เตือนภัย มิจฉาชีพใช้ AI 3 รูปแบบมาหลอกเหยื่อให้หลงเชื่อโอนเงิน

Loading

  เตือนภัย ! ยุคเทคโนโลยีล้ำหน้า “มิจฉาชีพ” ใช้ AI 3 รูปแบบทั้ง ปลอมเสียง ปลอมแปลงใบหน้า หรือสร้างบทความหลอกให้มาร่วมลงทุน   ปัจจุบันมิจฉาชีพออนไลน์ มักมาทุกรูปแบบจนเหยื่อหลายรายตามไม่ทัน ซึ่งมุกมีใหม่ ๆ ที่ไม่มีใครคาดคิดทำให้มีประชาชนหลงกลตกเป็นผู้เสียหายจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานต่าง ๆ ต่างเร่งแก้ไขปราบปราม ประชาชนสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชน แต่คนร้ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ก็พัฒนาวิธีการหลอกรูปแบบใหม่ๆ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยี Ai มาเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงกระทำความผิด   รูปแบบของ AI ที่มิจฉาชีพนำมาใช้ ที่เริ่มพบเจอเยอะมากขึ้นได้แก่ •  Voice Cloning หรือ การใช้ AI ปลอมเสียง โดยจะเป็นการใช้ AI เลียนแบบเสียงของบุคคลให้มีความคล้ายคลึงกับบุคคล เพื่อใช้ในการหลอกเหยื่อให้คิดว่าได้คุยกับคน ๆ นั้นจริง ๆ ก่อนที่จะหลอกให้โอนเงินหรือทำอะไรอย่างอื่นต่อไป   •  Deepfake หรือการใช้ AI ปลอมแปลงใบหน้าให้มีความคล้ายคลึงกับบุคคลต่างๆ เพื่อหลอกเชื่อว่าคน ๆ…

เตือนภัย! พบ “Brokewell” มัลแวร์อันตราย ปลอมเป็น Chrome หลอกดูดข้อมูล

Loading

บริษัทคอมฯ เนเธอร์แลนด์ เตือนภัย พบมัลแวร์อันตราย “Brokewell” ปลอมเป็นหน้าอัปเดต Chrome บน Android หลอกดูดข้อมูล-ควบคุมเหยื่อจากระยะไกล!

เลขา สกมช. ตั้งข้อสังเกตุ หลอกลวงผ่านโซเชียล ทำไมแพลตฟอร์มไม่ช่วยป้องกัน ?

Loading

  SHORT CUT •  เลขา สกมช. ตั้งข้อสงสัย ทำไมแพลตฟอร์มโซเชียล ยอมให้โฆษณาหลอกลวงผ่านการตรวจสอบทั้งที่ในต่างประเทศแพลตฟอร์มเดียวกันกลับมีกฎเกณฑ์ที่ดีกว่า •  ออสเตรเลียเคยฟ้องร้องเป็นตัวอย่างแล้ว ทั้งจากภาครัฐและคนดังที่ถูกแอบอ้าง •  ต่างประเทศมองว่าการที่แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์อนุญาตให้โฆษณาหลอกลวงผ่านการตรวจสอบ เท่ากับว่า แพลตฟอร์มมีส่วนรู้เห็นมาหลอกประชาชน   เลขา สกมช. ตั้งข้อสังเกตุ การหลอกลวงผ่านโซเชียล ทั้งเพจปลอมและการหลอกลงทุน ทำไมแพลตฟอร์มไม่ช่วยป้องกันก่อนเกิดเหตุ ?   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ตั้งข้อสังเกตุกับผู้สื่อข่าวหลังการแถลงข่าวการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ยกระดับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ และให้ความรู้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ ระหว่าง สกมช. และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ถึงกรณีการป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์จากการหลอกลวงกันทางโซเชียลมีเดีย   พลอากาศตรี อมร ตั้งข้อสังเกตุว่า การป้องกันและปรายปรามการหลอกลวงปัจจุบันทำได้ช้า ใช้เวลาเกือบ 2 สัปดาห์ในการดำเนินการจากฝั่งแพลตฟอร์ม ซึ่งการหลอกลวงเหล่านี้ ทั้งการโฆษณาหลอกลงทุนผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยการใช้รูปคนดัง , การตั้งเพจปลอมที่มีชื่อเหมือนหน่วยงานราชการ เช่น…

กสทช.สั่ง‘ค่ายมือถือ’ลดกำลังแรงส่งคลื่น ตัดวงจรมิจฉาชีพใช้ก่ออาชญากรรม

Loading

สำนักงาน กสทช. กำหนดมาตรการตัดเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือพื้นที่บริเวณชายแดน ใกล้ชายแดน 200 เมตร สกัดการเชื่อมโยงสัญญาณของกลุ่มอาชญากรรมทางเทคโนโลยี นำร่อง 7 พื้นที่ใน 5 จังหวัด