ปักกิ่งประณามเหตุระเบิดสถานกงสุลจีนในมัณฑะเลย์
รัฐบาลกรุงปักกิ่งประณามการโจมตีสถานกงสุลจีนในเมืองมัณฑะเลย์ของเมียนมา พร้อมกระตุ้นให้รัฐบาลทหารเมียนมาพยายามจับกุมผู้ก่อเหตุ จากการแถลงของโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนในวันจันทร์
รัฐบาลกรุงปักกิ่งประณามการโจมตีสถานกงสุลจีนในเมืองมัณฑะเลย์ของเมียนมา พร้อมกระตุ้นให้รัฐบาลทหารเมียนมาพยายามจับกุมผู้ก่อเหตุ จากการแถลงของโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนในวันจันทร์
เป็นที่จับตามองเป็นอย่างมาก เมื่อรัฐบาลทหารเมียนมาประกาศย้าย นางอองซาน ซูจี อดีตผู้นำพลเรือน รวมทั้ง อดีตประธานาธิบดี อู วินมิ้น ออกจากเรือนจำไปกักบริเวณในสถานที่ปลอดภัยอื่นแทน โดยให้เหตุผลเรื่องความเป็นห่วงสุขภาพของทั้งสองคน เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดในช่วงเวลานี้ แต่หลายฝ่ายก็มองว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้อาจจะเป็นเพียงการเดินเกมบางอย่างของรัฐบาลทหารของเมียนมาหรือไม่
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า รัฐบาลทหารเมียนมาสั่งปลดนายพล 6 นาย ที่ยอมจำนนต่อกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) หรือกลุ่มโกก้าง ทำให้เสียเมืองเล่าก์ก่าย ทางตอนเหนือของรัฐฉาน วันที่ 24 ม.ค. มีแหล่งข่าวใกล้ชิดรัฐบาลทหารเมียนมาเปิดเผยว่า รัฐบาลได้ตัดสินประหารชีวิตนายพล 3 นายแล้ว
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมียนมาและผู้นำรัฐบาลเมียนมา กล่าววิพากษ์วิจารณ์ว่า ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในเมียนมา ย่อมมองได้ว่าเป็นผลกระทบจากนโยบาย “แบ่งแยกและปกครอง” ของอังกฤษในสมัยที่เป็นเจ้าอาณานิคม เข้ามาจัดการสนับสนุนกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ
เมื่อวันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2566 กล่าวว่า พลเรือเอกนิโคไล เยฟเมนอฟ ผู้บัญชาการทหารเรือรัสเซียเข้าพบมิน อ่อง หล่าย หัวหน้ารัฐบาลเผด็จการทหารของเมียนมา บนเรือพิฆาตแอดมิรัล ทริบุตส์ ของรัสเซีย และบรรยายสรุปให้เขาทราบเกี่ยวกับขีดความสามารถของเรือ ก่อนการซ้อมรบร่วมทางเรือที่มีกำหนดจะเริ่มในวันนี้
รัฐบาลใหม่ของประเทศไทยจะต้องเจอกับประเด็นเรื่องพม่าที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลประยุทธ์ที่ผ่านมา จึงจำเป็นจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้แม่นว่าเราจะทำหน้าที่ประสานระหว่างอาเซียนกับผู้นำกองทัพพม่าและฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าอย่างไรจึงจะสามารถช่วยให้เกิดสันติภาพและความสงบสุขให้กับเพื่อนบ้านทางตะวันตกแห่งนี้ได้ คำประกาศของกองทัพพม่าเมื่อสัปดาห์ก่อนที่จะผ่อนผันโทษของอองซาน ซูจีลงจาก 19 ข้อหาเหลือ 14 ข้อหา และลดโทษจากจำคุก 33 ปีเหลือ 27 ปีนั้นเป็นท่าทีที่จริงจังของพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่ายที่จะริเริ่มกระบวนการเจรจากับ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย” ในพม่าจริงหรือไม่ อาเซียนจะประชุมสุดยอดในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ เชื่อกันว่าจะมีการ “ทบทวน” เนื้อหาของฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียนว่าด้วยวิกฤตพม่าเพื่อให้สอดคล้องกับ “ความเป็นจริงบนภาคพื้นดิน” อาจจะหมายความว่าอาเซียนพร้อมจะลดความเข้มข้นของมาตรการที่จะไม่ร่วมสังฆกรรมกับระดับนำของพม่าจนกว่าจะมีความคืบหน้าในการทำตามฉันทามติ 5 ข้อนี้ หรืออาจจะนำไปสู่การเผชิญหน้าที่หนักขึ้นหรือไม่ อาเซียนเองก็มีท่าทีที่แตกต่างกันในกรณีนี้ อินโดนีเซียซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนอาเซียนปีนี้มีความแน่วแน่ในการที่จะกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าต้องแสดงความคืบหน้าในการทำตาม 5 ข้อที่มิน อ่อง หล่ายไปร่วมประชุมและรับที่จะทำตาม แต่ถึงวันนี้ก็ยังห่างไกลจากการนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อินโดฯ, มาเลซีย, สิงคโปร์กับฟิลิปปินส์โอนเอียงไปในทางเข้มเข้นกับทหารพม่า ขณะที่เวียดนาม, กัมพูชา, ลาวและไทยมีท่าทีที่ผ่อนปรนมากกว่า …
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว