กรมการปกครองแนะนำคนไทยใช้ ‘ThaID’ ช่วยยืนยันตัวตน

Loading

  กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พร้อมนำแอปพลิเคชัน ThaID (ไทยดี) ยกระดับการให้บริการประชาชนภายใต้รัฐบาลดิจิทัล ด้วยระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านทางแอป ThaID ลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน ลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง ลดความเสี่ยงปลอมแปลงเอกสาร สามารถใช้แทนบัตรประชาชนได้ในการรับบริการต่าง ๆ จากภาครัฐ   ปลื้มหลังจากเปิดตัวไตรมาสแรกปี 66 มียอดดาวน์โหลดกว่า 5.8 ล้านครั้ง ปัจจุบันพร้อมใช้ยืนยันตัวตนกับภาครัฐได้ถึง 11 ระบบ เผยขณะนี้มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ขออนุญาตใช้งานการยืนยันตัวตนถึงกว่า 70 หน่วยงาน พร้อมสร้างความเชื่อมั่นด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล ชวนคนไทยดาวน์โหลดและใช้งานได้ฟรี ทั้งระบบ Android และ iOS   นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กรมการปกครอง พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ตามแผนพัฒนาภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย โดยได้ดำเนินการจัดทำและพัฒนาแอปพลิเคชัน ThaID เพื่อเป็นระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล รองรับการใช้งานของประชาชนทั้งประเทศ ติดต่อกับราชการโดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงาน ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดการใช้ทรัพยากรกระดาษที่สิ้นเปลือง ลดความเสี่ยงในการใช้เอกสารราชการปลอมในกระบวนการยืนยันตัวตนของระบบเดิม สร้างมิติใหม่ของการทำธุรกรรมภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย สามารถบริการพี่น้องประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ…

สแกมเมอร์ขอเครื่องหมายยืนยันตัวตนกับ Gmail สำเร็จ เริ่มหลอกลวงผู้อื่นแล้ว

Loading

  ก่อนหน้านี้ Gmail ได้ออกเครื่องหมายถูกสีฟ้าหลังชื่อผู้ส่งอีเมล เพื่อใช้ในการยืนยันองค์กร ซึ่งเครื่องหมายถูกเป็นสิ่งที่ทำเพื่อใช้ในการตรวจสอบตัวตนออนไลน์เบื้องต้นได้ทันทีที่เห็น ล่าสุด Chris Plummer วิศวกรด้านความมั่นคงทางไซเบอร์สังเกตว่า มิจฉาชีพเจอวิธีใช้ประโยชน์จากเครื่องหมายของถูก Google เพื่อหลอกลวงผู้อื่นให้เชื่อว่าเป็นข้อความมาจากบริษัทที่น่าเชื่อถือ   Plummer แสดงหน้าจอที่คนร้ายปลอมตัวเป็นบริษัท UPS โดยอาศัยการยืนยันตัวตนจาก sub-domain ของ UPS ที่ชื่อว่า kelerymjrlnra.ups.com อีกทีหนึ่ง ไม่แน่ชัดว่าคนร้ายสามารถยึดโดเมนนี้อย่างไร แต่ผลสุดท้ายคือคนร้ายสามารถส่งอีเมลโดยได้รับเครื่องหมายสีน้ำเงินจากกูเกิลได้   ต่อมา Plummer ทวีตเล่าถึงความไม่พอใจจากการที่ติดต่อกับทาง Google เพื่อแจ้งให้ทราบถึงข้อผิดพลาด แต่ถูกปฏิเสธและตอบกลับว่าเป็น “พฤติกรรมโดยเจตนา” แต่เกิดเป็นกระแสวิจารณ์ใน Twitter จำนวนมากทำให้ Google เริ่มกลับมาพิจารณาปัญหาดังกล่าวอีกครั้ง   Gmail มีการให้บริษัทและองค์กรต่า งๆ สามารถยืนยันตัวตนได้ด้วยระบบต่าง ๆ เช่น BIMI (ตัวบ่งชี้แบรนด์สำหรับการระบุข้อความ), VMC (เครื่องหมายรับรองที่ได้รับการยืนยัน) และ DMARC (การตรวจสอบข้อความตามโดเมน, การรายงาน และการยอมรับ)…

รัฐบาลชวนผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งเร่งไปติดต่อสแกนใบหน้าเพื่อสกัดภัยออนไลน์

Loading

  ธปท.ประสานธนาคารรัฐ-เอกชนดึงผู้ใช้ Mobile Banking ที่โอนเงินตั้งแต่ 5 หมื่นบาทต่อครั้ง 2 แสนบาทต่อวัน ติดต่อสาขาธนาคารเพื่อสแกนใบหน้าตัดวงจรภัยออนไลน์ ชี้แอปพลิเคชัน 7 แบงก์พร้อมบริการแล้ว   31 พ.ค.2566 – น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างผลักดันมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือภัยออนไลน์ ซึ่งในส่วนของภาคการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประสานสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารพาณิชย์เอกชน เพื่อยกระดับมาตรการเพื่อความปลอดภัย โดยมีหลายมาตรการที่ดำเนินการไปแล้ว อาทิ การยกเลิกการแนบลิงค์เพื่อส่งข้อความสั้น (SMS) หรืออีเมลไปยังลูกค้า   สำหรับอีกมาตรการที่จะเข้ามาช่วยให้ตัดวงจรภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขณะนี้ธนาคารต่างๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ การปรับปรุงระบบความปลอดภัยในบริการผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือหรือ Mobile Banking ซึ่งตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. เป็นต้นมาธนาคารแต่ละแห่งได้ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าที่ใช้บริการ Mobile Banking ที่จะมีการโอนเงินต่อครั้งตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป และโอนยอดรวมต่อวันตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป และกรณีการเปลี่ยนวงเงินการทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป จะต้องไปทำการสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน…

‘เวียดนาม’ จ่อบังคับ ‘ยืนยันตัวตน’ คนใช้โซเชียลมีเดีย หวังปราบโกงออนไลน์

Loading

    “เวียดนาม” เตรียมกำหนดให้ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ของแพลตฟอร์มทั้งในและต่างประเทศ ต้องยืนยันตัวตน ในความพยายามที่จะควบคุมการโกงออนไลน์   สำนักข่าววอยซ์ ออฟ เวียดนาม (วีโอวี) ของทางการเวียดนาม รายงานว่า มาตรการดังกล่าวของรัฐบาลเวียดนาม เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายโทรคมนาคมฉบับปรับปรุงใหม่ ที่มีกำหนดประกาศใช้ภายในสิ้นเดือนนี้ จะช่วยให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย สามารถติดตามผู้กระทำความผิดด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือฝ่าฝืนกฎหมาย   นายเหวียน ถั่น หลำ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสื่อสารเวียดนาม ระบุว่า มีหลายครั้งที่เจ้าหน้าที่สามารถระบุเจ้าของบัญชีโซเชียลมีเดียที่ละเมิดกฎหมาย แต่ไม่สามารถติดตามพวกเขาได้ เนื่องจากอาชญากรเหล่านั้นใช้แอปพลิเคชันข้ามพรมแดน   “บัญชีที่ไม่ได้รับการยืนยัน ไม่ว่าจะอยู่ในแพลตฟอร์มในประเทศ หรือต่างประเทศ เช่น เฟซบุ๊ก ติ๊กต๊อก และยูทูบ จะถูกรวมไว้ในมาตรการใหม่ด้วย”   รายงานข่าวระบุด้วยว่า ผู้ใช้ทั้งรายบุคคล และองค์กรจะอยู่ภายใต้มาตรการนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการบางรายไม่ได้เสนอการยืนยันตัวตนในเวียดนามในปัจจุบัน   ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว ยังต่อรอการอนุมัติจากสภานิติบัญญัติของเวียดนาม และจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใด ๆ ออกมา   การเคลื่อนไหวข้างต้น ยังมีขึ้นหลังเมื่อปี 2565…

ธนาคารเร่งสแกนใบหน้า ยืนยันตัวตนเมื่อโอนเงินเกิน 50,000 เริ่มพ.ค.-มิ.ย นี้

Loading

    แบงก์ชาติ เร่งธนาคารเอกชน อัปเกรดระบบสแกนใบหน้า รวมทั้งเร่งอัปเดตระบบแอปพลิเคชั่น ให้สามารถตรวจสอบตัวตนภายในเดือนพ.ค.-มิ.ย.นี้ หากมีการโอนเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เพื่อป้องกันมิจฉาชีพออนไลน์   จากกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ มีนโยบายให้ธนาคารทุกแห่งที่ให้บริการโมบายแบงก์กิ้งแอปพลิเคชัน ยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมบนแอปธนาคาร   เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับมิจฉาชีพ ได้ใช้ช่องทางดังกล่าว หลอกให้ประชาชนโอนเงิน โดยแบงก์ชาติกำหนดให้ผู้ใช้บริการต้องยืนยันตัวตนเมื่อทำธุรกรรมตามกำหนด ถือว่าเป็นนโยบายการบริหารจัดการปัญหาการทุจริตและหลอกลวง ผ่านการใช้บัญชีเงินฝากหรือบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนทุกครั้ง   สำหรับธุรกรรมที่ต้องยืนยันตัวตนสแกนใบหน้า เมื่อใช้บริการผ่านแอปธนาคาร โมบายแบงก์กิ้ง ดังนี้   1.โอนเงินเกิน 50,000 บาทต่อครั้ง   2.โอนเงินเกิน 200,000 บาทต่อวัน   3.ปรับเปลี่ยนวงเงินโอน   โดยแบงก์ชาติกำหนดให้ทุกธนาคารเริ่มดำเนินการได้ภายในเดือนมิถุนายน 2566 แต่หากทำธุรกรรมโอนเงินไม่ถึงวงเงินดังกล่าว ก็ยังสามารถโอนเงินใช้บริการได้ตามปกติเช่นเดิม     โดยทางธนาคารเอกชนต่างก็อัปเกรดระบบแอปพลิเคชั่นทางการเงินและทยอยให้ผู้ใช้งานอัปเดตการสแกนใบหน้าบ้างแล้ว   ธนาคารไทยพาณิชย์   ไทยพาณิชย์ แจ้งลูกค้าเตรียมความพร้อมสำหรับการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า เมื่อทำธุรกรรม ผ่านแอปพลิเคชัน…

ดีมากกว่าเสีย? ‘เฟซบุ๊ก’ เก็บเงินยืนยันตัวตน ช่วยแยกเพจปลอมคนดังที่ถูกแอบอ้างได้

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ ชี้ เฟซบุ๊กเก็บเงินค่ายืนยันตัวตน ช่วยให้รู้ว่าเพจไหนปลอมเพจไหนจริง แต่หวั่นเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ต้องใช้บัตรประชาชนสมัคร ระบุต้องอยู่ภายใต้ ก.ม.พีดีพีเอ   ดร.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า การที่เฟซบุ๊กจะเก็บค่าบริการ ใช้สัญลักษณ์รับรองบัญชีอย่างเป็นทางการ (Meta Verified) ประมาณ 400-500 บาทต่อเดือน นั้น จะช่วยให้ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก รู้ว่าเพจไหนเป็นเพจจริงหรือปลอม หลังจากปัจจุบันจะพบปัญหาเพจปลอมจำนวนมาก โดยเฉพาะคนที่มีชื่อเสียงถูกปลอมหรือแอบอ้างทำเพจปลอมจำนวนมาก ผู้มีชื่อเสียงบางคนถูกนำรูปและข้อมูลไปปลอมเพจมีเป็นสิบเป็นร้อยเพจ ถ้ามีการยืนยันมีเครื่องหมายถูก ก็จะช่วยให้คนที่ใช้งาน รู้ว่าเพจไหนปลอมหรือจริง ช่วยให้ไม่ถูกหลอก   “สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ การสมัครบริการ จะต้องใช้บัตรประชาชน หรือเอกสารราชการนั้น ทางเฟซบุ๊ก ก็ต้องดำเนินการ ตามกฎหมาย หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของประเทศไทย ต้องดูแลข้อมูล ไม่ให้เกิดการรั่วไหล และหากเกิดรั่วไหลก็ต้องมีความรับผิดชอบตามกฎหมายประเเทศไทย แต่ที่ผ่านมาผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม จากต่างประเทศเหล่านี้มักอ้างว่า ไม่มีออฟฟิศ หรือสำนักงานในไทย ซึ่งจะทำให้การเอาผิดตามกฎหมายทำได้อยาก ส่งผลให้ไทยไม่มีอธิปไตยไซเบอร์ ที่ไม่สามารถเอาผิดแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ตามกฎหมาย”   ดร.ปริญญา กล่าวต่อว่า การให้บริการนี้ทางเฟซบุ๊ก บอกว่าจะให้บริการในการติดต่อเจ้าหน้าที่ที่รวดเร็วขึ้นหากเกิดปัญหา ถือเป็นพรีเมียมเซอร์วิส แต่ที่จริงควรจะดำเนินการให้กับทุกคนไม่เฉพาะที่ต้องจ่ายเงิน และต้องดูว่า เมื่อมีการจ่ายเงินไปแล้ว จะได้รับบริการเร็วตามที่อ้างหรือไม่ หากมีคนยอมจ่ายเป็นล้านคนจะได้บริการที่รวดเร็วหรือไม่ ต้องดูว่าประสบการณ์ หลังการจ่ายเงินแล้วจะเป็นตามที่โฆษณาหรือไม่ โดยมองว่าบริการนี้จะมีคนจ่ายเฉพาะคนดัง…