ความมั่นคงรัสเซีย

Loading

  สหพันธรัฐรัสเซียกำลังปรับยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามใหม่ จากทั้งภายในและภายนอก ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย   นายนิโคไล พาตรูชอฟ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติรัสเซีย เผยต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ รอสซีสกายา กาเซตา ของรัฐบาลมอสโก ว่า การกดดันทางการเมืองและเศรษฐกิจ กำลังถูกใช้เพื่อควบคุมรัสเซีย และมีความพยายามบ่อนทำลายสถานการณ์ทางสังคมและการเมือง มีการวางแผนสนับสนุนและยุยงให้มีการประท้วง ก่อความรุนแรงในรัสเซีย รวมทั้งทำลายจิตวิญญาณดั้งเดิม และคุณค่าทางจริยธรรมของชาวรัสเซีย   วันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย เป็นประธานการรประชุมสมาชิกถาวรของสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อหารือเกี่ยวกับร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ โดยแผนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2558 และตามกฎหมายของรัสเซีย กำหนดให้ทบทวนและร่างใหม่ทุก 6 ปี   แผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ โดยหลักจะเน้นมาตรการพิเศษทางด้านเศรษฐกิจ มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชากร เสริมความสามัคคีของชนในชาติ และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งชาติ   พาตรูชอฟ เน้นย้ำว่า การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ใหม่ ยังจะรวมถึงการใช้ วิธีการบีบบังคับแบบเข้มข้น (coercive forceful methods) เพื่อเสริมศักยภาพด้านกลาโหมของประเทศ   รัสเซียจะให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ…

“ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติหลัง COVID-19”
 ประเทศไทยควรปรับสมดุลอย่างไร-ด้านใดบ้าง จึงจะไปต่อได้อย่างแข็งแกร่ง และยั่งยืน

Loading

By :  Atthasit Mueanmart ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนาและคิดค้นวัคซีน COVID-19 กันอย่างเร่งด่วน เพื่อฝ่าวิกฤตโรคอุบัติใหม่นี้ไปให้ได้ รวมถึงงานวิจัย “วัคซีนชนิด mRNA” ที่ศูนย์วัคซีนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ได้มอบหมายให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รับผิดชอบ ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ หลังทดสอบในหนูทดลองแล้วประสบความสำเร็จดี และกำลังเตรียมจะทดสอบในลิงในประเทศไทยสัปดาห์หน้าต่อไป ขณะเดียวกัน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ก็ได้มองไปข้างหน้าถึงโลกยุคหลัง COVID-19 ผ่านการนำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงชาติหลัง COVID-19 จากหนังสือ “โลกเปลี่ยน ไทยปรับ : หลุดจากกับดัก พ้นจากโลกที่ล้มเหลว” ผลงานเขียนของ ดร.สุวิทย์ เองที่ได้เผยแพร่สู่สาธารณชนไปแล้วก่อนหน้านี้ โดย ดร.สุวิทย์ ชี้ว่าหากมองวิกฤตเป็นโอกาส การแพร่ระบาดของ COVID–19 อาจเป็นตัวแปรในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่เปลี่ยน “โลกที่ไม่พึงประสงค์” เป็น “โลกที่พึงประสงค์” ทำให้ผู้คนหันกลับมาทบทวนสมมติฐานในความสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ กลายเป็นการผนึกกำลังร่วม การคำนึงถึงประโยชน์จากธรรมชาติ ก่อให้เกิดคุณค่าอย่างไม่สิ้นสุด สถานการณ์ COVID-19 ทำให้เห็นว่าเรากำลังอยู่ในยุค “หนึ่งโลก หนึ่งชะตากรรมร่วม” (One World, One Destiny)“จากนี้ไป เวลาสุขเราก็จะสุขด้วยกัน เวลาทุกข์เราก็จะทุกข์ด้วยกัน จากโลกที่ไร้ความสมดุล ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพและความไม่มั่นคงตามมา เกิดเป็นวงจรอุบาทว์โลก (Global Vicious Circle)” ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) การสร้างรัฐ–ชาติ (Nation Building) ผ่านเสรีภาพ (Liberty) ความเสมอภาค (Equality) และภราดรภาพ (Fraternity) ในศตวรรษที่ผ่านมา จะถูกแทนที่ด้วย การสร้างความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) ผ่านการกระชับแน่นภายในกลุ่ม (Bonding) การเชื่อมโยงข้ามกลุ่ม (Bridging) และยึดโยงระหว่างสถาบัน (Linking) ในโลกหลัง COVID-19 โดยแนวทางในการการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ มี 2 แนวทางหลัก คือ การออกแบบสวัสดิการสังคมใหม่ ด้วยการใช้ Negative Income Tax (NIT) และโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (Social Safety Net) เช่น การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย การมีรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอกับการใช้ชีวิต การช่วยเหลือผู้บกพร่องทางร่างกายและผู้สูงอายุ การขจัดความยากจนอย่างตรงจุด และแผนประกันชีวิต/สุขภาพ รูปแบบใหม่ เนื่องจากเมื่อเศรษฐกิจเติบโตขึ้น ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้มักจะกลายเป็นปัญหาที่แต่ละประเทศต้องเผชิญ ที่ผ่านมามีนักวิชาการหลายคนได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหานี้…