ระบบบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์กว่า 20,000 ตัว เสี่ยงต่อการถูกโจมตี

Loading

Credit: ShutterStock.com การที่ดาต้าเซ็นเตอร์มีระบบที่ช่วยทำให้การปฏิบัติงานเป็นอัตโนมัติพร้อมกับจัดการได้แบบรีโมตนั้นเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ตามการคอนฟิคให้ระบบสามารถเข้าถึงได้อย่างสาธารณะนั้นเป็นเรื่องไม่สมควร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญพบว่า ระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการกว่า 20,000 ตัว กำลังเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ Cyble ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยได้พบการเปิดเผยระบบ DCIM (Data Center Infrastructure management) กว่า 20,000 ระบบอย่างสาธารณะ ที่ใช้เพื่อการดูแลสภาพแวดล้อมในดาต้าเซ็นเช่น ความชื้น ความเย็น UPS ความร้อน ระบบติดตามตู้แร็ก ไม่เพียงแค่นั้นในการหาข้อมูลผู้เชี่ยวชาญสามารถ Extract รหัสผ่านจากหน้า Dashboard ที่ถูกใช้เข้าถึงฐานข้อมูลจริงในดาต้าเซนเตอร์ได้ อย่างไรก็ดีแอปพลิเคชันส่วนใหญ่มักยังใช้ Default Password หรือล้าสมัย จึงยิ่งเสี่ยงตกเป็นเป้าได้ง่าย ผลกระทบของการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นได้ก็ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะการโจมตีระบบสามารถเป็นต้นตอของสาเหตุใหญ่อย่างไฟไหม้ ตัดไฟ หรือทำให้เกิดความเสียหายทางกายภาพได้ แม้คนร้ายไม่เคยเข้าถึงหน้างานจริง นอกจากเรื่องระบบ DCIM แล้ว ยังมีการเตือนการเผยถึงอินเทอร์เฟสที่ใช้รีโมตดูแลเซิร์ฟเวอร์ HPE (HPE iLO) อีกกว่า 20,000 ตัว ก็ถูกเข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ตเช่นกัน ดังนั้นควรหันกลับมาพิจารณาการใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์ของตัวเองกันด้วยนะครับ ที่มา : https://www.bleepingcomputer.com/news/security/over-20-000-data-center-management-systems-exposed-to-hackers/…

ระบบบริหารด้านการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

ในการเตรียมความพร้อมขององค์กร เพื่อให้สามารถปรับปรุงกระบวนการการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีการกำหนดเป็นแผนการดำเนินการขององค์กร นอกจากการกำหนดเป็นแผนการดำเนินการขององค์กรแล้ว ยังต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกคนขององค์กรที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ในภาคปฏิบัติ (implementation) “การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” จึงประกอบด้วยบริบทของ “กฎหมาย” และ “การบริหารจัดการ” เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขององค์กรให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมาย การจะนำพาองค์กรไปสู่การปฏิบัติตามกฎหมายได้จึงต้องมี “กระบวนการ” และระบบบริหารด้านการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้ APEC Privacy Framework 2015 ข้อ 32 จึงได้ให้ข้อแนะนำว่าองค์กรต่าง ๆ ควรจัดให้มี “Privacy Management Program” หรือระบบบริหารด้านการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินการ (Framework) และแสดงถึงหลักความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ของกฎหมาย (Accountability) โดยในข้อ 43 – 45 ของ APEC Privacy Framework 2015 ได้ให้หลักการเพิ่มเติมไว้ว่า 1.การนำ Privacy Management…