สกัดไม่อยู่! โจรไซเบอร์ ป่วนระบบ ‘OT’ ในไทย

Loading

องค์กรในไทยกำลังรับศึกหนัก ถูกโจมตีด้านไซเบอร์ในระบบ OT เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้สูญเสียรายได้และเกิดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาจำนวนมาก

ความปลอดภัยไซเบอร์ “โรงงานอัจฉริยะ”ต้องคำนึงถึงในยุคปฏิวัติระบบดิจิทัล

Loading

ระบบรักษาความปลอดภัยควรผสานรวมอยู่ในกระบวนการตัดสินใจทางเทคนิคและสถาปัตยกรรมระบบในทุกส่วน ตั้งแต่การก่อตั้งและออกแบบโรงงานไปจนถึงการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน ภาคการผลิตจำเป็นต้องใช้แนวทางใหม่ในการปกป้องระบบโรงงานอัจฉริยะ จากเดิมที่มองข้ามความสำคัญต่อการลงทุนด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และการป้องกัน ก่อนตกเป็นเป้าของคนร้าย

เปิด ‘ความเสี่ยงไซเบอร์’ องค์กรไทย หวั่น ‘มัลแวร์-แฮ็กบัญชี’ โจมตีหนัก

Loading

  ‘พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์’ เปิดรายงานสถานการณ์ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียนปี 2566 ข้อมูลในรายงาน ระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทยพบปัญหา “การโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก” ในปริมาณน้อยที่สุดมีองค์กร 22% ขณะที่องค์กรไทยหนักใจ “มัลแวร์” มากสุด   พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์’ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดรายงานสถานการณ์ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียนปี 2566 ข้อมูลในรายงาน ระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทยพบปัญหา “การโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก” ในปริมาณน้อยที่สุดมีองค์กร 22% ที่พบจำนวนอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% เมื่อเทียบอดีต   ทั้งนี้ การปกป้องเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) โดยเฉพาะระบบที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญยังคงเป็นข้อกังวลหลัก เพราะบริการพื้นฐานสำคัญเหล่านั้นต้องเผชิญกับการโจมตีที่สร้างความเสียหายในระดับที่สูงกว่าภาคส่วนอื่น ๆ     ข้อกังวลอันดับต้น ๆ องค์กรไทย   ขณะที่ ประเภทการโจมตีที่องค์กรในไทยมีความกังวลมากที่สุด ได้แก่ มัลแวร์ 57% และการเข้าควบคุมบัญชีผู้ใช้ 57% และการโจมตีรหัสผ่าน 53% ซึ่งภายใต้สถานการณ์ที่ต้องพึ่งพาบริการและแอปพลิเคชันระบบคลาวด์มากขึ้น ธุรกิจในไทยระบุว่า…

‘ChatGPT’ ดาบสองคม เขย่าสมรภูมิไซเบอร์

Loading

    ความพยายามของมนุษย์ในการจำลองและถอดรหัสความนึกคิดของมนุษย์ทำให้วันนี้โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่ง “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ “เอไอ” สมองกลอัจฉริยะสุดล้ำที่กำลังเข้ามาพลิกโฉมการทำงานและการใช้ชีวิต…   ฌอน ดูก้า รองประธาน และหัวหน้าหน่วยระบบรักษาความปลอดภัย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และญี่ปุ่น พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ แสดงทัศนะว่า การค้นหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ควรเป็นเรื่องที่ไม่มีพิษไม่มีภัย แต่ในความเป็นจริงทุกสิ่งอาจดีหรือร้ายขึ้นอยู่กับมนุษย์ผู้นำไปใช้   ในมุมของเอไอที่เป็นที่ฮือฮาอย่างมากขณะนี้หนีไม่พ้น “ChatGPT” บอตเอไอแบบข้อความซึ่งอาศัยความสามารถของเอไอขั้นสูง ที่ทำได้ทั้งการแก้บั๊กในการเขียนโค้ด การเขียนสูตรอาหาร การสร้างแอนิเมชัน 3 มิติ ไปจนถึงการแต่งเพลงใหม่ได้ทั้งเพลง     เรียกได้ว่า ChatGPT ได้แสดงศักยภาพของเอไอที่น่าตกใจในการปลดล็อกความสามารถใหม่ ๆ ที่เหลือเชื่ออีกทางหนึ่งหลายคนก็มองว่าเอไอเป็นดาบสองคม   อันตรายยิ่งกว่าฝีมือมนุษย์   ต่อคำถามที่ว่า แชตบอตยุคใหม่สร้างปัญหาจริงหรือไม่ นับตั้งแต่การเปิดตัว ChatGPT เมื่อปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา บรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวิจารณ์ด้านเทคโนโลยีต่างกังวลถึงผลกระทบของเครื่องมือสร้างคอนเทนต์จากเอไอ   โดยเฉพาะในด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ว่าซอฟต์แวร์เอไอจะทำให้อาชญากรรมทางไซเบอร์กระจายไปทั่วหรือไม่   เหตุเพราะว่า แม้แต่แฮ็กเกอร์มือสมัครเล่นก็อาจใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อพัฒนาโปรแกรมมัลแวร์อัจฉริยะและลอบโจมตีเป้าหมายโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน  …