ถอดบทเรียนแผ่นดินไหวญี่ปุ่น สู่ ‘ไทย’ ที่ยังมีโอกาสเกิดสึนามิ

Loading

  นักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เตือนไทยประมาทไม่ได้ พื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอันดามัน ยังเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิซ้ำรอยปี 2547 แนะซักซ้อมเหตุการณ์เป็นระยะ ตรวจสอบระบบเตือนภัยให้อยู่ในสภาพให้ใช้งานได้ดีตลอดเวลา   ศ.อมร พิมานมาศ นักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ   ศ.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย และนักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เปิดเผยว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.6 ที่จังหวัดอิชิกาวะ บนเกาะฮอนชู ทางตอนกลางของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2567 ที่ผ่านมา ถือเป็นธรณีพิบัติที่รุนแรงมากและอยู่ในระดับตื้นมาก เพียง 10 กิโลเมตร ทำให้เกิดความเสียหายกับอาคารบ้านเรือน โครงสร้างพื้นฐาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนเป็นจำนวนมาก ทั้งยังทำให้เกิดคลื่นสึนามิความสูง 1.2 เมตร ซัดเข้าหาชายฝั่งเมืองวาจิมะ จังหวัดอิชิกาวะ ซึ่งผลของแผ่นดินไหวดังกล่าวจะยังคงเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายวัน อย่างไรก็ตาม ด้วยระยะห่างจากประเทศไทย 4,000-5,000 กิโลเมตร จึงไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย   “ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคม 2554 ได้เคยเกิดแผ่นดินไหวโตโฮคุขนาด 9.0-9.1 นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของคาบสมุทรโอชิกะในเขตโตโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดคลื่นสึนามิมีความสูงถึง 40 เมตร พัดเข้าชายฝั่งจังหวัดเซ็นได…

โซนี่ทดสอบระบบเตือนภัยสึนามิผ่านดาวเทียมที่ภูเก็ต

Loading

  สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ร่วมกับบริษัทเอกชนชั้นนำ และ GISTDA ทดสอบระบบการแจ้งเตือนภัยสึนามิ (Tsunami Alert System) โดยข้อมูลจะถูกส่งตรงจากอุปกรณ์ของบริษัท SONY ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ถือเป็นการแจ้งเตือนภัยผ่านระบบดาวเทียมโดยตรง   ดร.ดำรงค์ฤทธิ์ เนียมหมวด รองผู้อำนวยการด้านกิจการอวกาศของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กล่าวว่า การดำเนินการทดสอบร่วมกับ SONY ในครั้งนี้ ระบบจะถูกทดลองบนพื้นที่ทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต ที่เป็นจุดเกิดเหตุของสึนามิ เมื่อปี 2547   SONY มั่นใจว่าระบบนี้ซึ่งพัฒนาโดยทีมวิจัยของบริษัทเองจะเป็นการปฏิวัติวงการอวกาศในอนาคต และ SONY เป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่กำลังรุกคืบในอุตสาหกรรมอวกาศ ที่มุ่งพัฒนาไม่ใช่เพียงการสร้างดาวเทียมหรือจรวดอย่างที่เราคุ้นเคยเท่านั้น แต่ยังดึงจุดแข็งของตัวเองด้านการทำชิปอิเล็กทรอนิกส์มาสร้างเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับดาวเทียมระบุตำแหน่ง หรือสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ได้โดยตรง โดยไม่ต้องพึ่งพาเครือข่ายโทรศัพท์   ความร่วมมือกับ SONY ครั้งนี้จะนำไปสู่การลงทุนธุรกิจอวกาศในประเทศไทยต่อไป นอกจากนี้ยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ชื่อว่า SoftBank ที่พัฒนาเทคโนโลยีจากดาวเทียมระบุตำแหน่ง ก็เป็นอีกหนึ่งรายที่พร้อมลงทุนในประเทศไทย   ปัจจุบันเริ่มมีการหารือกับพาร์ทเนอร์ในไทยเพื่อเตรียมรุกตลาดอย่างเต็มตัว ทั้งบริษัทไทยผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบโทรคมนาคม รวมถึงผู้ให้บริการสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สายในไทย…