เช็ก 6 สถานที่ปลอดภัยที่สุด หากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 : สงครามนิวเคลียร์

Loading

    เปิดรายงานการศึกษาครั้งใหม่จากมหาวิทยาลัยนิโคเซีย ในไซปรัส ซึ่งมุ่งไปที่ผลลัพธ์เลวร้าย หากเกิดความขัดแย้งจนเป็น “สงครามนิวเคลียร์” โดยหลายประเทศอาจเผชิญภาวะอดอยากครั้งใหญ่ แล้วประเทศไหนปลอดภัยที่สุด   ขณะที่บางประเทศ เช่น อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และไอซ์แลนด์ จะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ ท่ามกลางความตึงเครียดทั่วโลกยังคงทวีความรุนแรงขึ้น ส่วนสถานที่หลบภัย ได้รับการพิจารณาว่า มีความปลอดภัยที่สุด เช่น นิวซีแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์   ถึงอย่างไรการทำความเข้าใจกับความเสี่ยงเหล่านี้ และการเตรียมพร้อม เพื่อความอยู่รอดจากสงครามนิวเคลียร์ จึงมีความสำคัญมากกว่าที่เป็นอยู่   ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มสูงขึ้น และความเสี่ยงให้เกิดความขัดแย้งนิวเคลียร์ กลายเป็นปัญหาที่น่าวิตกมากขึ้นเรื่อยๆ ในรายงานการศึกษาล่าสุด ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสาร Nature Food ได้เน้นย้ำถึงผลที่ตามมาอันเลวร้ายจากสงครามนิวเคลียร์ อาจมีผลต่อแหล่งอาหารของโลก นอกเหนือจากการทำลายล้างที่เป็นผลทันทีจากนิวเคลียร์ ซึ่งมาจากรังสี ความร้อน และผลกระทบแรงระเบิด   รายงานนี้สร้างขึ้นจากการจำลองสงครามนิวเคลียร์สร้างผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและพื้นที่เกษตรกรรม เผยให้เห็นผลคาดการณ์ชัดเจนว่า แหล่งผลิตอาหารทั่วโลกต้องหยุดชะงัก ส่งผลให้ผู้คนกว่า 6.7 พันล้านคนทั่วโลกต้องอดอยาก   นิวเคลียร์ทำลายแหล่งผลิตอาหารโลก   หากสงครามนิวเคลียร์ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดในโลกต้องเผชิญความเลวร้าย การศึกษาฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า ประเทศต่างๆ…

ความพินาศจากสงครามโลกครั้งที่ 3 นั้นขึ้นอยู่ที่หัวรบของขีปนาวุธโดยแท้

Loading

    ความพินาศจากสงครามโลกครั้งที่ 3 นั้นขึ้นอยู่ที่หัวรบของขีปนาวุธโดยแท้   เมื่อวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้อนุญาตให้ยูเครนสามารถใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลของสหรัฐอเมริกาที่มอบให้ยูเครนทำการโจมตีในพื้นที่ลึกเข้าไปในรัสเซียได้ โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลสหรัฐได้ปฏิเสธคำขอของทางการยูเครน และไม่อนุญาตให้ยูเครนโจมตีเข้าไปดินแดนรัสเซียด้วยการใช้ขีปนาวุธ ATACMS ของสหรัฐ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้สงครามลุกลามบานปลาย ซึ่งถือว่าเป็นการทิ้งทวนของโจ ไบเดน ที่พลิกนโยบายของสหรัฐต่อสงครามรัสเซีย-ยูเครน เพราะนายโดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคมปีหน้านี้ และอาจทำให้อนาคตการสนับสนุนยูเครนของสหรัฐสะดุดหยุดลงก็ได้   ครับ ! ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายนนี้เอง ยูเครนยิงขีปนาวุธเชิงยุทธวิธีกองทัพบก ATACMS (Army Tactical Missile System) ของสหรัฐอเมริกา 6 ลูก เข้าใส่แคว้นบรีแยนสก์ของรัสเซีย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่กองทัพยูเครนใช้ขีปนาวุธโจมตีระยะไกลเข้าไปในรัสเซีย นับตั้งแต่สงครามเริ่มขึ้น และในวันเดียวกันนี้ยูเครนยังใช้ขีปนาวุธร่อนพิสัยไกล Storm Shadows ของอังกฤษโจมตีเข้าไปในดินแดนรัสเซียอีกด้วย   ทันทีทันใดเช่นกัน ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ว่า รัสเซียได้ใช้ขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยกลางรุ่นใหม่ชื่อโอเรชนิค โจมตีเมืองดนิโปรในภาคตะวันออกของยูเครนเพื่อตอบโต้แบบทันควัน…

ผู้นำเกาหลีเหนือกำลังเตรียมทำสงครามกับเกาหลีใต้จริงหรือ

Loading

REUTERS   ผู้เชี่ยวชาญด้านเกาหลีเหนือ ปกติแล้ว จะเป็นกลุ่มคนที่ระมัดระวัง ไม่สร้างความแตกตื่นใด ๆ ระหว่างสองเกาหลี แต่ตอนนี้ พวกเขากำลังตื่นตัวจากความเคลื่อนไหวของผู้เชี่ยวชาญ 2 คน   ย้อนไปสัปดาห์ก่อน นักวิเคราะห์สถานการณ์เกาหลีเหนือที่ทรงอิทธิพล 2 คน ได้ทำสิ่งที่เรียกว่าเหมือน “ทิ้งระเบิด” ด้วยการแสดงความเห็นว่า ผู้นำเกาหลีเหนือกำลังเตรียมทำสงคราม   ต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ คิม จอง-อึน ได้ยกเลิกเป้าหมายแห่งการปรองดองและรวมชาติกับเกาหลีใต้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เขาประกาศว่า เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เป็นประเทศที่แยกกัน และกำลังทำสงครามกัน   “เราเชื่อว่า คิม จอง-อึน ได้ตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์แล้วว่าจะทำสงคราม เหมือนสมัยปู่ของเขาเมื่อปี 1950” โรเบิร์ต แอล คาร์ลิน อดีตนักวิเคราะห์สำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ หรือ ซีไอเอ พร้อมกับ ซีกไพรด์ เอส เฮกเกอร์ นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ที่เดินทางไปเกาหลีเหนือมาหลายครั้ง ได้กล่าวในบทความบนเว็บไซต์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเกาหลีเหนือ ชื่อ “38 North”   การประกาศเช่นนี้…

ผู้เชี่ยวชาญห่วง 6 เมืองเป้าหมายระเบิดนิวเคลียร์ในสหรัฐไร้การเตรียมการ

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ที่ 6 เมืองทั่วสหรัฐ จะกลายเป็นเป้าหมายในการโจมตีด้วยระเบิดนิวเคลียร์ ซึ่งทุกเมืองไม่มีการเตรียมการล่วงหน้าเลยแม้แต่น้อย   การโดนโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ในเมืองใหญ่ระดับมหานคร เป็นหนึ่งการจำลองสถานการณ์หายนะภัย 15 เหตุการณ์ ตามแผนยุทธการเตรียมรับมือเหตุฉุกเฉินที่หน่วยงานบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FEMA) ได้ประเมินไว้ โดยในแผนการเหล่านี้ ทางหน่วยงานจะต้องจัดให้มีการเตรียมหน่วยงานรับมือ จัดหาที่หลบภัยให้ประชาชนและผู้บาดเจ็บที่ได้รับกัมมันตภาพรังสี   สำหรับประชาชนทั่วไป คำแนะนำของ FEMA ณ เวลานี้ คือให้หลบอยู่ในเคหะสถาน อย่าออกมาและรอฟังข่าวจากทางการ   แต่จากความเห็นของ เออร์วิน เรดเลเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบียซึ่งชำนาญการเรื่องการเตรียมการ เพื่อหายนะภัยเป็นพิเศษ คำแนะนำดังกล่าว ยังไม่เพียงพอสำหรับเมืองที่มีโอกาสเป็นเป้าหมายในการโจมตีของอาวุธนิวเคลียร์ นอกจากนี้ เขายังระบุอีกว่า ไม่มีเมืองไหนเลยในสหรัฐ ที่มีแผนการรับมือหายนะภัยจากโดนทิ้งระเบิดนิวเคลียร์   เรดเลเนอร์ มองว่ามีเมืองใหญ่ราว 6 เมือง ที่มีโอกาสสูงที่จะตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งได้แก่ นิวยอร์ก, ชิคาโก, ฮูสตัน, ลอสแอนเจลิส, ซานฟรานซิสโก และวอชิงตัน ดีซี ซึ่งล้วนแต่เป็นเมืองใหญ่ที่สุดอันดับต้น ๆ ของประเทศ มีประชากรหนาแน่น…